รัชกาลที่4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมาชิกเลขที่79400 | 27 พ.ค. 55
3.6K views

รัชกาลที่4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 4 ครองราชย์ 16 ปี (พ.ศ. 2394-2411) พระชนมายุ 66 พรรษา เสด็จพระราชสมภพ วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347พระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามหามาลา  เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย และสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามหามาลา เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ มีพระราชอนุชาร่วมพระราชมารดา คือ เจ้าฟ้าจุฬามณี ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อพระชนมายุได้ 21 พรรษา ได้ออกผนวชตามประเพณี และอยู่ในเพศบรรพชิต ตลอดรัชสมัยรัชกาลที่ 3 เมื่อรัชกาลที่ 3 สวรรคตจึงได้ลาสิกขามาขึ้นครองราชสมบัติ ระหว่างที่ทรงผนวช ประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุ แล้วทรงย้ายไปอยู่วัดราชาธิวาส (วัดสมอราย) พระองค์ได้ทรงตั้ง คณะสงฆ์ ชื่อ " คณะธรรมยุตินิกาย " ขึ้น ต่อมาทรงย้ายไปอยู่ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับแต่งตั้งเป็น พระราชาคณะ และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศองค์แรก ทรงรอบรู้ ภาษาบาลี และแตกฉานในพระไตรปิฎก นอกจากนั้น ยังศึกษาภาษาลาติน และภาษาอังกฤษจนสามารถใช้งานได้ดี ในรัชสมัยของพระองค์ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส ต่างก็ส่งทูตมา ขอทำสนธิสัญญาในเรื่อง สิทธิสภาพนอกอาณาเขต ให้แก่คนในบังคับของตน และสิทธิการค้าขายเสรี ต่อมาไทยได้ทำสัญญาไมตรีกับประเทศนอร์เวย์ เบลเยี่ยมและอิตาลี และได้ทรงส่ง คณะทูตออกไป เจริญพระราชไมตรีกับต่างประเทศ นับเป็นครั้งที่สองของไทย นับต่อจากสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยไปยัง ประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส ทรงจ้าง ชาวยุโรปมารับราชการในไทย ในหน้าที่ล่ามแปลเอกสารตำรา ครูฝึกวิชา ทางทหารและตำรวจ และงานด้าน การช่าง ทรงตั้งโรงพิมพ์ของรัฐบาล ตั้งโรงกษาปณ์เพื่อผลิตเงินเหรียญ แทนเงินพดด้วง และเบี้ยหอยที่ใช้อยู่เดิม มีโรงสีไฟ โรงเลื่อยจักร เปิดที่ทำการศุลกากร ตัดถนนสายหลัก ๆ ได้แก่ ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร ถนนเจริญกรุง และถนนสีลม มีรถม้าขึ้นใช้ครั้งแรก ขุดคลองผดุงกรุงเกษม คลองมหาสวัสดิ์ คลองภาษีเจริญ คลองดำเนินสะดวก และคลองหัวลำโพง ในปี พ.ศ.๒๓๙๔ (พระชนมายุได้ ๔๗ พรรษา ทรงผนวชมาได้ ๒๗ พรรษา) พระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดี และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ได้เข้ากราบถวายบังคมทูลอัญเชิญเสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ สืบพระราช สันติวงศ์ รัชกาลที่ ๔ โดยมี พระราชปรมาภิไธย โดยย่อว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรามหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" นับตั้งแต่เสด็จขึ้นครองราชย์ พระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเริ่มสร้าง ความสัมพันธ์ อันใกล้ชิดระหว่าง พระมหากษัตริย์กับ อาณาประชาราษฎร ให้เข้ากับกาลสมัยในรูปใหม่ อย่างที่ไม่เคย ปรากฏมาก่อน การเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ พระองค์ ทรงอยู่ในสมณเพศนานถึง ๒๗ พรรษา ได้เสด็จ ธุดงค์ไปยังหัวเมืองต่างๆ เป็นโอกาสให้ ทรงได้รับรู้สภาพ ความเป็นอยู่ โดยแท้จริงของ ราษฎรส่วนใหญ่ด้วยพระองค์เอง นับเป็นประสบการณ์ที่มีค่ายิ่ง และเป็นการเตรียมพระองค์ เพื่อปกครองบ้านเมืองในอนาคต เป็นอย่างดี ประกอบกับ ลัทธิจักรวรรดินิยม ที่แผ่ขยายมายังประเทศใกล้เคียงในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และในทวีปเอเซีย ทำให้พระองค์ทรง ตระหนักว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศสยาม จะต้องยอมรับอิทธิพลวัฒนธรรมตะวันตก และเร่งปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย โดยทรงปฏิบัติ พระราชกรณียกิจในหลายๆ ด้านไปพร้อมๆ กันด้วยพระบรมราโชบายที่มีทรรศนะไกล และด้วยความสุขุมคัมภีรภาพ คือ
๑. ด้านการต่างประเทศ
๒. ด้านการเสริมสร้างความมั่นคง และการป้องกันพระราชอาณาจักร
๓. ด้านการปฏิรูปการปกครอง
๔. ด้านการทำนุบำรุงอาชีพของราษฎร และการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ และการคลัง
๕. ด้านบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎร
๖. ด้านบำรุงศึกษาศาสตร์
๗. ด้านพระราชพิธี ประเพณี ธรรมเนียม
๘. ด้านพระศาสนา
๙. ด้านการก่อสร้าง
ด้านการปกครอง ได้จัดตั้งตำรวจนครบาล ศาล แก้ไขกฎหมายให้ทันสมัย ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา ด้านศาสนา ได้สร้างวัดราชประดิษฐ์ วัดมงกุฎกษัตริยารามและวัดปทุมวนาราม เป็นต้น ทรงเชี่ยวชาญทางโหราศาสตร์ สามารถคำนวณการเกิดจันทรุปราคา และสุริยุปราคาได้อย่างแม่นยำ ทรงคำนวณ การเกิดสุริยุปราคา หมดดวงในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปี พ.ศ. 2411 ณ ตำบลหว้ากอ(คลองวาฬ) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้อย่างถูกต้อง พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๔ เป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ ในกรอบรูปกลมรี เป็นพระราช สัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธย ว่า "มงกุฎ" มีฉัตรตั้งขนาบพระ มหาพิชัยมงกุฎทั้งสองข้าง มีพาน ทองสองชั้นวางแว่นสุริยกาลหรือ เพชรข้างหนึ่ง วางสมุดตำราข้างหนึ่ง พระแว่นสุริยกาลหรือเพชร มาจาก ฉายาเมื่อทรงผนวชว่า "วชิรญาณ" ส่วนสมุดตำรามาจากการที่ได้ทรง ศึกษาและมีความเชี่ยวชาญในด้าน อักษรศาสตร์และดาราศาสตร์

Share this