อารยธรรมมนุษย์
สมาชิกเลขที่110332 | 27 พ.ค. 55
19K views

แนวคิดเกี่ยวกับอารยธรรม

                                                         ความหมายของวัฒนธรรม

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช : กระบวนการปลูกฝังความรู้และประสบการณ์ของมนุษย์ยุคหนึ่งสู่อีกยุค จนเกิดเป็นความเจริญทางด้านวัตถุ และความเจริญทางจิตใจหรือปัญญา สรุป : วัฒนธรรม หมายถึง อุปกรณ์ วิถีชีวิต หรือแบบอย่างของการดำรงชีวิตที่สังคมหนึ่งกำหนดขึ้นและยึดถือร่วมกัน ซึ่งจะเกิดขึ้นได้นั้นต้องผ่านการเรียนรู้ ประสบการณ์ และการปลูกฝังทางสังคม
 ประเภทของวัฒนธรรม

  1. วัฒนธรรมทางวัตถุ ได้แก่ สิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้นขึ้น โดยจะแบ่งเป็นทั้งมีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง แบบมีรูปร่าง  เครื่องมือ เครื่องใช้ โบสถ์ วิหาร โรงงาน ภาพเขียน แบบไม่มีรูปร่าง  ภาษาพูด สัญลักษณ์ต่างๆในการสื่อความหมาย แบบแผนการดำรงชีวิต
  2. วัฒนธรรมทางจิตใจ (ไม่ใช่วัตถุ) : เป็นความคิดหรือเป็นนามธรรม  อุดมการณ์ ค่านิยม ประเพณี ความคิด

ความหมายของอารยธรรม

Edward Mc. Cudberns : เป็นวัฒนธรรมขั้นสูง คือ วัฒนธรรมที่จะเรียกว่าเป็นอารยธรรมได้ก็ต่อเมื่อวัฒนธรรมนั้นได้มีการพัฒนาให้เจริญถึงขั้นสูงสุดแล้ว ต้องมีการบันทึกเรื่องราวต่างๆ วัฒนธรรมด้านอื่นต้องได้รับการปรับปรุง
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช : ความเจริญทางวัตถุและทางจิตใจของมนุษย์ สองอย่างนี้รวมกันอยู่ในรัฐหรือประเทศ มีสถาบันการปกครอง สถาบันศาสนา และสถาบันอื่น มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ไม่มีสถาบันเหล่านี้ จึงไม่มีอารยธรรม
สรุป : อารยธรรม หมายถึง ความเจริญทางด้านต่างๆที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆและเป็นความเจริญที่สูงกว่าวัฒนธรรมพื้นฐาน
 ความสำคัญของอารยธรรม

มนุษย์ให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์อารยธรรมขึ้นมาก็เพื่อต้องการสร้างสิ่งต่างๆขึ้นมาเพื่อสนองความต้องการและปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองและเพื่อความเจริญของสังคมโดยรวม โดยอาศัยปัจจัย ดังนี้

  1. อาหาร เครื่องนุ่มห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค
  2. ระบบการปกครอง : ต้องมีกฏหมาย และผู้บริหารประเทศ
  3. การจัดระบบสังคม ชนชั้นสูง(ผู้ดี), ชนชั้นกลาง(พ่อค้า), ชนชั้นล่าง (กรรมกร ทาส คนฆ่าสัตว์ สัปเหร่อ)
  4. การแสวงหาความรู้
  5. ความรู้สึกและการแสดงความคิดเห็น
  6. ศาสนาและความเชื่อ : มนุษย์ต้องการความมั่นคงทางด้านจิตใจ

ปัจจัยช่วยเสริมสร้างอารยธรรม

สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ : ในอดีตสังคมเป็นแบบเกษตรกรรม จึงมักเลือกตั้งสังคมในสภาวะที่เหมาะสม  อารยธรรมเมโสโปเตเมีย อารยธรรมอียิปต์ อารยธรรมสินธุ อารยธรรมจีน (Dr. Ellsworth Huntinton บอกว่าทุกชาติบนโลกจะไม่สามารถสร้างอารยธรรมได้ถ้าปราศจากสิ่งแวดล้อมที่ดี) ความเจริญทางเทคโนโลยี : แต่ละสมัยจะมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เท่ากับเปลี่ยนอารยธรรมแต่ละยุคด้วยเช่นกัน  พัฒนาเทคโนโลยีด้านการก่อสร้าง อาวุธ เครื่องมือเครื่องใช้ สาธารณสุข การเจริญเติบโตของสังคมและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม  มนุษย์รู้จักใช้ไฟ ทำให้สามารถทำงานได้มากขึ้น การขยายตัวทางเศรษฐกิจ : มีการแบ่งแยกแรงงานชัดเจนมากขึ้น มีการแลกเปลี่ยนอาการ มีการจัดการบริการ และเกิด “ตลาด” ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนสิ่งของ ความเชื่อและศาสนา : มนุษย์คิดหาวิธีหลุดพ้นจากความกลัว ทำให้เกิดประเพณีต่างๆขึ้น

ขั้นตอนพัฒนาการสู่สังคมที่มีอารยธรรม

การเปลี่ยนแปลงทางเกษตรกรรม จากเก็บของป่าพัฒนามาเริ่มรู้จักเพาะปลูก การดำรงชีพ จากสังคมเล็กๆกลายเป็นเผ่าและกลายเป็นชุมชนบ้านเมือง การจัดลำดับฐานะทางสังคม ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางชนชั้น  อารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ (ยังไม่มีภาษาเขียน ครอบคลุมตั้งแต่มนุษย์เกิด-เริ่มมีการจดบันทึก)
อารยธรรมตะวันตก

  • ยุคหินเก่า : เครื่องใช้และอาวุธทำจากหินแบบหยาบๆ รู้จักใช้ไฟ แรกๆอาศัยอยู่ตามถ้ำต่อมารู้จักใช้หินเอามาทำผนังบ้าน ศิลปะที่มีชื่อเสียงคือ ศิลปแบบแมกกาเลเนี่ยน คือ ภาพตามผนัง
  • ยุคหินกลาง : อาวุธทำจากหินแต่ปราณีตมากขึ้นกว่าเดิม รู้จักการเกษตรแบบง่ายๆ เลี้ยงสัตว์
  • ยุคหินใหม่ : ทำเกษตรกรรม ปลูกข้าว ปลูกผัก มีเครื่องปั้นดินเผา และพบอนุสาวรีย์สโตนเฮนจ์ ที่อังกฤษ
  • ยุคโลหะ : รู้จักนำทองแดงมาใช้ประโยชน์โดยนำมาใช้แทนหิน ต่อมามีการนำ ทองแดงผสมดีบุก กลายเป็นสำริด โดยนำสำริดมาผลิดสร้อยคอ กฤช เข็ม และเครื่องประดับ *กรีกเป็นชาติแรกที่มีการเหล็กมาถลุงใช้งาน มีการประดิษฐ์ตัวอักษร

อารยธรรมตะวันออก

  • ยุคหินเก่า : พบมนุษย์ปักกิ่ง บรรพบุรุษของชาวจีน มนุษย์ชวา มนุษย์โซโล (ที่เหลือคล้ายตะวันตก)
  • ยุคหินกลาง : พบธนูที่ทำด้วยหอน และยังแบ่งเป็นวัฒนธรรมฮัวบินห์และวัฒนธรรมบัคซอน
  • ยุคหินใหม่ : รู้จักการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ มนุษย์เริ่มปักหลักอยู่กับที่ ผลิดเครื่องปั้นดินเผาแบบง่าย
  • ยุคโลหะ : ใช้ทองแดง สำริด และเหล็ก ตามลำดับ

อารธรรมสมัยประวัติศาสตร์  

(เริ่มคิดค้นตัวอักษรใช้) แบ่งย่อยได้ดังนี้

  • อารยธรรมสมัยโบราณ : มักเกิดตามลุ่มแม่น้ำ  แม่น้ำไนล์ ไทกริสยูแฟติส สินธุ ฮวงโห  
  • อารยธรรมสมัยกลาง : โรมันสมัยโบราณถูกเยอรมันบุก ยุโรปเริ่มใช้การปกครองแบบฟิวดัล ศาสนจักรมีอำนาจ
  • อารยธรรมสมัยใหม่ : ฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ ยุโรปมีความเจริญทางด้านศิลปกรรม ปฏิรูปศาสนา ปฎิวัติต่างๆ
  • อารยธรรมสมัยปัจจุบัน : เริ่มตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงปัจจุบัน เรียกว่า ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ
Share this