บุคคลสำคัญแห่งอารยธรรมอียิปต์
สมาชิกเลขที่110332 | 27 พ.ค. 55
24.2K views

1. ฟาโรห์รามเสสที่2 มหาราช (Ramses II)

                                

ฟาโรห์รามเสสที่2เป็นโอรสของ ฟาโรห์เซติที่1 มีมเหสี ชื่อ พระราชินีเนเฟอร์ตารี

ประวัติ หลังจากฟาโรห์โฮเรมเฮปสวรรคต ขุนทหารของพระองค์คนหนึ่งได้ทำการยึดอำนาจและขึ้นเป็นฟาโรห์รามเสสที่1 และเป็นฟาโรห์องค์แรกของราชวงศ์ที่19 ซึ่งเป็นราชวงศ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดและฟาโรห์ที่โด่งดังที่สุดของราชวงศ์นี้ก็คือฟาโรห์รามเสสที่2 ผู้เป็นโอรสของฟาโรห์เซติที่1  • ฟาโรห์รามเสสที่2 ครองราชย์ในปีที่1278 - 1212 ปี ก่อน ค.ศ. พระองค์ทรงเป็นนักปกครองที่ทรงความสามารถและนักรบที่เก่งกาจ ในสมัยของพระองค์อียิปต์ เจริญรุ่งเรืองและมั่งคั่งจากการค้า ทำให้มีการก่อสร้างเทววิหารและอนุสาวรีย์มากมายเพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของพระองค์โดยที่โด่งดัง มากที่สุดคือมหาวิหารอาบูซิมเบลซึ่งแกะสลักเป็นรูปของพระองค์และพระราชินีเนเฟอร์ตารีมเหสีของพระองค์  • นอกจากนี้ฟาโรห์รามเสสที่2 ยังได้ปราบปรามชาวนูเบียทางตอนใต้จนยอมสวามิภักดิ์และได้ขยายอำนาจเข้าไปในเอเชียโดยปราบปรามชนเผ่าต่างๆจนราบคาบ จากการ ขยายอำนาจครั้งนี้เองทำให้จักรวรรดิอียิปต์ต้องปะทะกับจักรวรรดิฮิตไตท์ซึ่งเป็น มหาอำนาจแห่งตะวันออกกลางในเวลานั้น ชาวฮิตไตท์(Hittite) ตั้งถิ่นฐานบนคาบสมุทรอนาโตเลีย ปัจจุบันคือประเทศตุรกี มีความสามารถในการหลอมโลหะและเป็น พวกแรกที่นำเหล็กมาใช้ อันที่จริงแล้วนับแต่ยุคของอัคเคนาตัน ทางอียิปต์กับฮิตไตท์ก็มีการกระทบกระทั่งมาตลอดเนื่องจากฝ่ายฮิตไตท์ได้ กำราบไมตานนีพันธมิตรของอียิปต์และต่อมาหลังจากตุตันคาเมนสวรรคตลง พระนางแองคลีเซนปาเตนหรืออนัคซูนามุน ได้ส่งสาส์นไปขอโอรสกษัตริย์ฮิตไตท์มาอภิเษกด้วยแต่กลายเป็นว่าเจ้าชายฮิตไตท์กลับถูกลอบสังหารในอียิปต์สร้างความตึงเครียดให้สูงขึ้น  • ในสมัยของรามเสสที่2 ทั้งสองฝ่ายพยายามเข้ามามีอิทธิพลในปาเลสไตน์และซีเรีย ทำให้กองทหารของฮิตไตท์และอียิปต์มีการกระทบกระทั่งกันบ่อยขึ้น ในที่สุดเพื่อคงความยิ่งใหญ่ของอียิปต์ไว้ ฟาโรห์รามเสสที่2 จึงตัดสินใจทำสงครามยึดครองเมืองคาเดซและขับไล่กองทหารฮิตไตท์ออกจาก ซีเรียและปาเลสไตน์ ทางฝ่ายฮิตไตท์ กษัตริย์มุลวาตาลลิส (Mulwatallis) ซึ่งทราบดีว่าสักวันหนึ่งสงครามต้องเกิดขึ้น จึงเคลื่อนกองทัพมารออยู่แล้ว  • ในปีที่1286 ก่อน ค.ศ. ฟาโรห์รามเสสที่2 ก็ทรงนำกองทัพซึ่งประกอบด้วยทหารราบ 20,000 คน และรถศึก 2,500 คัน เข้าโจมตีกองทัพของมุลวาตัลลิสซึ่งมีรี้พลใกล้เคียงกัน ในการรบอันดุเดือด ท้ายที่สุดไม่มีฝ่ายใดได้รับชัยชนะอันเด็ดขาดทั้งสองฝ่ายต่างสูญเสียรี้พลและอาวุธ เป็นจำนวนมาก และหลังจากที่มุลวาตัลลิสสวรรคตลง ทั้งสองฝ่ายจึงทำสัญญาสันติภาพระหว่างกัน โดยสนธิสัญญาฉบับนี้ถือว่า เป็นสนธิสัญญาสันติภาพฉบับแรกของโลก หลังจากนั้น กษัตริย์ฮิตไตท์ยังได้ส่งพระธิดามาอภิเษกกับฟาโรห์รามเสสที่2 เพื่อยืนยันในสันติภาพด้วย

2.สมเด็จพระจักรพรรดินีฟาโรห์หญิงฮัตเชปซุต

                              

ประวัติ    ฮัตเชปซุต” เป็นที่รู้จักกันดีในนาม “ราชินีมีเครา” เพราะตลอดเวลาที่ปรากฏตัวต่อสาธารณะ พระนางทรงเครื่องทรงของบุรุษ และมีเคราปลอมสวม เพื่อความสะดวกในการขึ้นเป็นฟาโรห์ปกครองอาณาจักรอียิปต์ในช่วงปีที่ 1479-1458 ก่อนคริสต์ศักราช (ประมาณ 3,500 ปีก่อน) หลังฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 2 (Tuthmosis II) ซึ่งเป็นทั้งน้องชายต่างมารดาและพระสวามีสิ้นพระชนม์ลง        “ฮัตเชปซุต” สถาปนาตัวเองเป็นฟาโรห์หญิงองค์แรกและองค์เดียวของอียิปต์ นับเป็นสตรีผู้ทรงอำนาจคนแรกแห่งโลกโบราณ มีอิทธิพลมากกว่าราชินีเนเฟอร์ติตี (Nefertiti) เสียอีก

                ฟาโรห์หญิงฮัตเชปซุต เป็นพระราชธิดาองค์เดียวของฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 1 (Tuthmosis I) กับพระราชินีอาโมซิส ด้วยความเป็นหญิงสิทธิในราชบัลลังก์จึงตกอยู่กับโอรสของพระชายารอง เมื่อน้องต่างมารดาครองราชย์เป็นฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 2 ก็อภิเษกกับเจ้าหญิงฮัตเชปซุตตามประเพณีของอียิปต์เพื่อรักษาสายเลือดอันบริสุทธิ์ของพระราชวงศ์        ทุตโมซิสที่ 2 เป็นกษัตริย์ที่อ่อนแอ อำนาจบริหารจึงตกอยู่ในมือราชินีที่ฝึกฝนการบริหารราชการกับฟาโรห์องค์ก่อน อีกทั้งตัวราชินีฮัตเชปซุตเองก็มีพระธิดาเพียงองค์เดียว แต่ชายารองกลับมีพระโอรส ดังนั้นจึงเสียสิทธิการครองราชย์ไปอีกครั้ง        ทว่า ทุตโมซิสที่ 2 สิ้นพระชนม์ขณะที่รัชทายาทยังเยาว์นัก ดังนั้น พระนางฮัตเชปซุต (ผู้เป็นแม่เลี้ยง) จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแทน และหลังจากกุมอำนาจได้หลายปีด้วยความทะเยอทะยานพระนางจึงตัดสินพระทัยขึ้นเป็นฟาโรห์ปกครองอียิปต์ในที่สุด        “ฮัตเชปซุต” ประกาศองค์เป็นธิดาผู้เป็นที่รักของสุริยเทพอามอน (รา) เพื่อสร้างความชอบธรรมในการครองบัลลังก์ นอกจากนี้ พระนางยังทรงสร้างเสาโอบีลิกซึ่งเป็นแท่งหินสูงมียอดหุ้มด้วย เงินผสมทองคำและสลักเรื่องราวของพระนางลงไป        ฟาโรห์หญิงมีเสนาบดีคู่พระทัยชื่อว่า เซเนมุต (Senemut) และเชื่อกันว่าเป็นชู้รักของพระนาง ซึ่งเซเนมุทก็หายตัวไปพร้อมกับพระนางอย่างลึกลับ และเมื่อทุตโมสที่  3  ซึ่งถูกอา(ฮัตเซบซุต)ของตนจำกัดบทบาทเอาไว้เฝ้ามองด้วยความเคียดแค้น  และทรงใช้เวลาไปกับการล่าสัตว์และฝึกอบรมเพื่อระบายโทสะ  นักประวัติศาสตร์บางท่านยังสงสัยว่าทุตโมสที่  3  อาจเป็นผู้วางแผนสังหารฮัตเชปซุตเสียด้วยซ้ำ  ทว่าเราก็ยังไม่พบหลักฐานที่หนักแน่นสำหรับเรื่องนี้    พอทุตโมสที่  3  ได้นั่งบัลลังก์เป็นฟาโรห์เรียบร้อยแล้วก็ทรงจัดแจงขูดทำลายพระนามและรูปสลักที่ฮัตเชปซุตอุตส่าห์สร้างเอาไว้ทั่วแผ่นดิน  แม้แต่แท่งหินโอเบลิสก์ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของสุริเทพและศักดิ์สิทธิ์เกินกว่าฟาโรห์จะไปทุบทำลายได้นั้นก็ทรงสู้อุตสาห์ให้ช่างก่อหินหุ้มส่วนฐานที่มีพระนามฮัตเชปซุตให้มิดชิด       แม้แต่วิหารที่เดียร์เอลบาห์รีก็ไม่รอดพ้นการกวาดล้างนี้  ทั้งพระนามและรูปสลักของฮัตเชปซุตถูกทำลายราบแทบไม่เหลือหรอ  นี่ล่ะคือวิธีที่ฟาโรห์หนุ่มผู้คึกคะนองใช้ระบายความแค้นกับผู้ที่มาแย่งสิทธิการปกครองอันเป็นชอบธรรมของพระองค์ ด้วยเหตุนี้เองหลักฐานและบันทึกเกี่ยวกับพระนางถูกทำลายจนแทบไม่มีอะไรเหลือ       และเมื่อในปี 2463  ก็ได้มีการขุดพบเจอพระศพของ ราชินีมีเครา หลุมศพดังกล่าว ค้นพบโดย โฮเวิร์ด คาร์เตอร์ (Howard Carter) หลังจากค้นพบพระศพของฟาโรห์ตุตันคาเมนที่หุบผากษัตริย์จนโด่งดังในปี 2446 เขาและทีมสำรวจก็ค้นพบมัมมี่หญิง 2 ร่างที่บริเวณใกล้เคียง ซึ่งหลุมดังกล่าวนักโบราณคดีเรียกว่า “หลุมเควี 60” (KV 60) จากนั้นในปี 2463 พวกเขาค้นพบหลุมพระศพที่ระบุว่าเป็นของฟาโรห์หญิงฮัตเชปซุต แต่กลับพบโลงที่ว่างเปล่าถึง 2 โลง         อย่างไรก็ดี ทีมโบราณคดีที่สนับสนุนเงินทุนโดยช่องดิสคัฟเวอรี สหรัฐฯ เพื่อตามหาพระนางฮัตเชปซุตเปิดเผยว่า ในตอนแรกที่วิเคราะห์มัมมี่หญิง 1 ใน 2 ร่าง เชื่อแน่ว่าร่างหนึ่งคือ ซีทเร อิน (Sitre In) แม่นมของพระนาง แต่อีกร่างไม่แน่ใจว่าเป็นผู้ใด        ต่อมานักไอยคุปต์วิทยาและนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากจึงช่วยกันพิสูจน์ว่ามัมมี่อีกร่างที่เหลือเป็นพระศพของฟาโรห์หญิงพระองค์เดียวแห่งอาณาจักรอียิปต์หรือไม่ โดยฮาวาสส์ได้แสดงหลักฐานที่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามัมมีดังกล่าวเป็นพระนางจริง        การค้นพบกล่อง “พระทนต์” หรือฟันซี่ที่หักที่ระบุว่าเป็นของฟาโรห์หญิง ทำให้ผลการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ออกมาชัดเจนมากยิ่งขึ้น เมื่อนำมาประกอบเข้ากับช่องว่างที่วัดความละเอียดเป็นมิลลิเมตรในปากของมัมมี่ร่างที่เหลือได้อย่างพอดี        ผลการเอกซเรย์ด้วยเครื่องซีทีสแกนและสร้างภาพ 3 มิติ พร้อมทั้งวิเคราะห์ดีเอ็นเอมัมมี่หญิงอีกร่างในหลุม KV 60 ทำให้เชื่อว่า มัมมี่ร่างดังกล่าวคือพระศพของฟาโรห์หญิงผู้ยิ่งใหญ่ที่นักโบราณคดีตามหามานาน.

3.   ฟาโรห์ตุตันคาเมน

                                                         

ประวัติ       

ฟาโรห์ ตุตันคาเมน (ตุตันคามุน) เป็นฟาโรห์ในราชวงค์ที่ 18 ของอียิปต์โบราณ ซึ่งมีพระชนม์เพียง 9-10 ชันษา ครองราชย์ระหว่าง 1325-1334 ปีก่อนคริสตกาล การบริหารบ้านเมืองจึงตกอยู่กับวิซิเออร์ อัยย์ (Vizier Ay) ฟาโรห์ ตุตันคาเมนได้ครองราชย์ในรัชสมัยของพระองค์ช่วงสั้นๆ ราว 9 ปี ก็สิ้นพระชนม์เสียก่อน เป็นเพราะฟาโรห์ ตุตันคาเมน สิ้นพระชนม์อย่างกะทันหัน วิซิเออร์ อัยย์จึงได้สร้างสุสานถวายแบบง่าย ๆ   ราวสองร้อยปีต่อมา มีการสร้างสุสานของรามเสสที่ 6 ทับสุสานของ ฟาโรห์ ตุตันคาเมน ทั้ง ๆ ที่คนงานก็รู้แต่นึกว่าเป็นบุคคลธรรมดาจึงไม่ได้เสนอเบื้องบน จึงทำให้มัมมี่ของฟาโรห์ ตุตันคาเมน ปลอดภัย นับเป็นสุสานที่สมบูรณ์ที่สุด   พระนางเนเฟอร์ติติ เป็นมเหสีองค์แรกของ อาเมนโฮเทปที่ 4 เป็นเจ้าหญิงจากไมตานนี (Mitanni) ซึ่งเป็นอาณาจักรโบราณแห่งหนึ่งแถว ๆ ทางเหนือเมโสโปเตเมีย ทั้งสองไม่มีพระโอรส มีแต่พระธิดา 6 พระองค์ พระธิดาองค์ที่ 3 ทรงเป็นราชินีของฟาโรห์ ตุตันคาเมน ฟาโรห์ ตุตันคาเมน สิ้นพระชนม์อย่างฉับพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ครบ 19 ชันษา อีกทั้งไม่มีองค์รัชทายาท วิซิเออร์ อัยย์ รีบฉวยโอกาสแต่งกับราชินีม่ายเพื่อจะได้ครอบครองดินแดนอียิปต์ต่อไป...

 

4.  พระนางเนเฟอร์ติติ

                                          

ประวัติ      ในตำนานได้กล่าวไว้ว่า อียิปต์ไม่เคยสร้างหญิงใดงามได้เท่าพระนางเนเฟอร์ติติซึ่งเป็นผู้สมบูรณ์แบบด้วยพระสิริโฉมอันงดงาม สวมมงกุฎสูง และโกนพระเกศาเพื่อป้องกันเหา โรคร้ายและความร้อนของอียิปต์  เรื่องราวชีวิตของพระนางเนเฟอร์ติติ อาจเริ่มต้นจากในยุครุ่งเรือง ณ พระราชวังมัลกาต้าที่งดงามที่สุดในอียิปต์โบราณและเป็นที่ประทับของฟาโรห์ เนเฟอร์ติติเติบโตในพื้นที่แห่งนี้ ท่ามกลางนางสนมประมาณ 500 คน ฮาเร็มอันกว้างใหญ่ของอะเมนโฮเทปที่สอง หนึ่งในฟาโรห์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอียิปต์ ซึ่งพระมเหสีราชินีไทยี่เลือกหญิงสาวจากฮาเร็มแห่งนี้มาเป็นพระชายาให้พระโอรสและผู้ที่ถูกเลือกนั้นคือเนเฟอร์ติติ      ส่วนทุสโมซิส องค์รัชทายาท สิ้นพระชนม์ตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้อัคนาเต็นพระสวามีของพระนางเนเฟอร์ติติกลายมาเป็นผู้สืบทอดบัลลังค์อียิปต์ จากวันที่พระองค์ขึ้นครองราชย์ ความเครียดเริ่มเพิ่มมากขึ้นในหมู่นักบวชชั้นสูงซึ่งพวกเขาเปรียบเสมือนผู้ปกป้องเทพที่สำคัญที่สุดของอียิปต์ที่เรียกว่า ลัทธิอามุน และอำนาจของพวกเขายิ่งใหญ่เทียบได้กับฟาโรห์                      พวกเขาคือชนชั้นสูงแต่เดิม มีหัวอนุรักษ์ เป็นเพศชาย มีระเบียบวิธีคิดและมีฐานะร่ำรวยมาก ซึ่งในขณะนั้นฟาโรห์และพระชายาเนเฟอร์ติติสาบานว่าจะลิดรอนอำนาจของพวกเขาและดำเนินการต่อสู้ที่ใจกลางฐานอำนาจของลัทธิอามุนในวิหารคาร์นัค โดยการสร้างอนุสาวรีย์ให้ยืนตระหง่านบดบังวิหารคาร์นัค สำหรับนักบวชอามุนการสร้างสิ่งนี้ถือเป็นการละเมิดกฎที่ร้ายแรงที่สุดนอกจากนั้นเนเฟอร์ติติยังสร้างวิหารแห่งดวงอาทิตย์ถวายแด่เทพอะเต็น นักบวชมองว่าวิหารแห่งดวงอาทิตย์เป็นการลบหลู่ และเป็นภัยต่ออำนาจของเขา ทำให้พวกนักบวชเริ่มคิดแผนเพื่อทำลายแผนโค่นอำนาจของฟาโรห์และราชินี      พระองค์ทรงตัดสินใจดำเนินการในสิ่งที่แปลกใหม่ ทั้งคู่ตัดสินใจละทิ้งธีบส์ ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงของอียิปต์มานานหลายร้อยปี และออกมุ่งหน้าไปในทะเลทราย พระองค์ทรงแสวงหาที่สร้างเมืองหลวงแห่งใหม่ ที่ปลอดภัยและไกลศัตรู มันคือฐานสำหรับการปฏิวัติ ซึ่งการปฏิวัติครั้งนั้นทำให้พระนางเนเฟอร์ติติกลายเป็นหญิงผู้มีอำนาจสูงสุดในโลกพวกเขาเริ่มต้นวางผังเมืองแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์อียิปต์ เมืองที่ออกแบบมาเพื่อบูชาดวงอาทิตย์ คนนับพันหลั่งไหลตามฟาโรห์และพระชายาเข้ามาในที่แห่งนี้ มันถูกเรียกว่า “อะมาร์น่า” และเมืองแห่งนี้ถือว่าเป็นเป็นเมืองที่ถูกวางแผนไว้อย่างดีแห่งแรกของโลก               พระนางเนเฟอร์ติติเป็นคนที่มีความ เย็นชาและโดดเดี่ยว ใช้คนรอบตัวตามวิธีที่พระนางมองว่าเหมาะสม ความสามารถของเนเฟอร์ติติในการใช้ประโยชน์จากสถานการณ์รอบตัวดูเหมือนจะได้รับการยืนยันหลังจากปีที่คิย่าหายตัวไป การตอบสนองของพระนางต่อวิกฤตินั้นมาในจังหวะเหมาะ ในปีที่ 12 ของการครองราชย์ของอัคนาเต็น มีเหตุการณ์พิเศษเกิดขึ้นในอะมาร์น่า งานฉลองครั้งยิ่งใหญ่ เรียกว่า เดอร์บาร์ ภาพที่แขกได้เห็นนั้น ไม่เคยปรากฏมาก่อนเนเฟอร์ติติเคียงข้างพระสวามี มิใช่เยี่ยงราชินี หากเป็นผู้ปกครองร่วม เสมอภาคกัน                       ในปีที่ 14 พระนางเนเฟอร์ติติก็หายไปจากบันทึก นักอียิปต์วิทยาบางคนเชื่อว่าพระนางสิ้นพระชนม์เพราะโรคระบาด หลายคนคิดว่าพระนางพ่ายแพ้ให้กับศัตรูเพศชาย ที่มีชื่อว่าสเมนคาเร่ ซึ่งมีชื่อมาแทนที่พระนางในบันทึก และตัวละครลึกลับผู้นี้ได้กลายมาเป็นผู้ครองบัลลังค์ร่วมกับอัคนาเต็น และสืบทอดตำแหน่งฟาโรห์องค์ถัดมา

5. พระนางคลีโอพัตรา

                                     

ประวัติ               

คลีโอพัตราที่ 7 เป็นชาวกรีกที่กำเนิดในดินแดนอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ได้ขึ้นครองราชย์หลังจากที่ ปโตเลมีที่ 12 แห่งอียิปต์ เมื่อพระบิดาของพระนางสวรรคตในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปีที่51 ก่อนคริสตกาล พระนางเป็นพระราชธิดาองค์โตของโอเลเตส เมื่อพระเชษฐภคินีอีกสองพระองค์สิ้นพระชนม์ลง พระนางยังมีพระขนิษฐาอีกองค์ที่มีชื่อว่าอาร์สิโนเอ ในช่วงแรกของการขึ้นครองราชย์ พระนางได้ครองราชย์ร่วมกับพระบิดาเป็นระยะเวลาสั้นๆ ต่อมาก็ได้ครองราชย์ร่วมกับพระอนุชาอีกสองพระองค์ ได้แก่ ปโตเลมีที่ 13 ผู้ซึ่งต่อต้านการปกครองของพวกโรมัน และปโตเลมีที่ 14แต่เนื่องด้วยการสืบราชบัลลังก์ของราชวงศ์ปโตเลมีนั้นนิยมการสืบเชื้อสายทางมารดา พระอนุชาทั้งสองพระองค์จึงต้องเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับพระเชษฐภคินี คือคลีโอพัตรา เพื่อจะสามารถขึ้นครองราชย์ได้อย่างถูกต้องตามกฎมนเทียรบาล ภายหลังจากที่กษัตริย์ผู้เป็นพระอนุชา - สวามีของพระนางสวรรคตลงทั้งสองพระองค์ คลีโอพัตราได้แต่งตั้งให้โอรสของพระนางเป็นกษัตริย์องค์ต่อไป มีพระนามว่าปโตเลมีที่ 15 ซีซาเรียน โดยการครองบัลลังก์ร่วมกัน ระหว่างปีที่ 44 - 30 ก่อนคริสตกาล

ในปีที่48 ก่อนคริสตกาล คณะที่ปรึกษาของปโตเลมีที่ 13 นำโดยขันทีโปธินุส ได้ยึดอำนาจของคลีโอพัตราและบังคับให้พระนางหนีไปจากอียิปต์ โดยมีอาร์สิโนเอ พระขนิษฐาของพระนางติดตามไปด้วย ต่อมาในปีเดียวกันนี้ อำนาจของปโตเลมีที่ 13ได้ถูกริดรอนเมื่อนำตัวเองเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับโรมเมื่อนายพลปอมเปอุส มักนุส (ผู้ซึ่งแต่งงานกับลูกสาวของจูเลียส ซีซาร์ โดยที่นางได้เสียชีวิตขณะคลอดบุตรชาย) ที่กำลังหลบหนีจูเลียส ซีซาร์ ได้มาหาที่หลบซ่อนในเมืองอเล็กซานเดรีย ก็ถูกปโตเลมีที่ 13ปลิดชีพ เพื่อสร้างความดีความชอบแก่ตนให้ซีซาร์ได้เห็น จูเลียส ซีซาร์รู้สึกขยะแขยงกับแผนการอันโสมมดังกล่าว จึงได้ยกทัพบุกเข้ายึดเมืองหลวงของอียิปต์ และตั้งตนเป็นผู้ตัดสินคดีชิงบัลลังก์ระหว่างปโตเลมีที่ 13และคลีโอพัตรา หลังจากการสู้รบช่วงสั้นๆ ปโตเลมีที่ 13ก็ถูกสังหาร และจูเลียส ซีซาร์ได้คืนบัลลังก์ให้แก่คลีโอพัตรา โดยมีปโตเลมีที่ 14เป็นผู้ครองบัลลังก์ร่วมจูเลียส ซีซาร์ได้พำนักในอียิปต์ตลอดช่วงฤดูหนาว ระหว่างปีที่48 ก่อนคริสตกาล - 47 ก่อนคริสตกาล และคลีโอพัตราได้สร้างความได้เปรียบทางการเมืองให้แก่ตนด้วยการเป็นคนรักของซีซาร์ ทำให้อียิปต์ยังคงเป็นความเป็นเอกราชไว้ได้ แต่ยังคงมีกองกำลังทหารโรมันสามกองประจำการอยู่ ความสัมพันธ์ระหว่างคลีโอพัตรากับซีซาร์ในช่วงฤดูหนาวได้ทำให้นางตั้งครรภ์และให้กำเนิดพระโอรสชื่อปโตเลมี ซีซาร์(หรือมีชื่อเล่นว่าซีซาเรียน ซึ่งแปลว่าซีซาร์น้อย) อย่างไรก็ดี จูเลียส ซีซาร์ปฏิเสธการให้ซีซาเรียนเป็นผู้สืบทอดของตน และได้แต่งตั้งให้หลานชายชื่อ ออกุสตุส ซีซาร์ อ็อกตาเวียน เป็นผู้สืบทอดอำนาจแทนคลีโอพัตรากับซีซาเรียนได้ไปเยือนกรุงโรมในระหว่างปีที่ 46 ก่อนคริสตกาล และ 44 ก่อนคริสตกาล และอยู่ในเหตุการณ์ขณะที่ซีซาร์ถูกลอบสังหาร ก่อนเดินทางกลับถึงอียิปต์เพียงเล็กน้อย ปโตเลมีที่ 14ก็สวรรคตอย่างลึกลับ คลีโอพัตราจึงได้แต่งตั้งให้ซีซาเรียนเป็นผู้ครองบัลลังก์ร่วมกับพระนาง มีการสันนิษฐานว่านางได้ลอบวางยาพิษปโตเลมีที่ 14 ผู้เป็นอนุชาของตนเองในปีที่42 ก่อนคริสตกาล มาร์ค แอนโทนี หนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการชุดที่สองของโรม ผู้ซึ่งปกครองกรุงโรมในช่วงที่เกิดสูญญากาศทางอำนาจ หลังการถึงแก่อสัญกรรมของซีซาร์ ได้ขอให้คลีโอพัตราเดินทางมาพบเขาที่เมืองทาร์ซุส ในแคว้นซิลิเซีย เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับความจงรักภักดีของพระนางต่ออาณาจักรโรมัน เมื่อคลีโอพัตราเดินทางมาถึง เสน่ห์ของพระนางทำให้มาร์ค แอนโทนีเลือกที่จะใช้เวลาช่วงฤดูหนาวระหว่างปีที่42 ก่อนคริสตกาล - ปีที่41 ก่อนคริสตกาล กับพระนางในอเล็กซานเดรีย ในช่วงฤดูหนาวนั้น พระนางได้ทรงพระครรภ์เป็นโอรส - ธิดาฝาแฝด ผู้มีพระนามว่าอเล็กซานเดอร์ เฮลิออสและ คลีโอพัตรา เซเลเนสี่ปีต่อมา ในปีที่ 37 ก่อนคริสตกาล มาร์ค แอนโทนี ได้เดินทางเยือนอเล็กซานเดรียอีกครั้ง ระหว่างทางไปออกรบกับจักรวรรดิพาร์เธีย เขาได้สานสัมพันธ์กับคลีโอพัตรา และถือเอาอเล็กซานเดรียเป็นบ้านนับแต่นั้นเป็นต้นมา มาร์ค แอนโทนีอาจจะเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับคลีโอพัตราตามประเพณีอียิปต์ (ตามที่กล่าวไว้ในจดหมายของสุเอโตนิอุส) แต่อย่างไรก็ดี เขาได้แต่งงานแล้วกับอ็อกตาเวีย น้องสาวของเพื่อนชื่ออ็อกตาเวียน หนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการชุดที่สองของโรม เขามีบุตรกับคลีโอพัตราอีกหนึ่งคน ชื่อว่าปโตเลมี ฟิลาเดลฟุส ในพิธีมอบดินแดนอเล็กซานเดรียเป็นของขวัญชิ้นใหญ่แก่คลีโอพัตราและโอรสธิดา ช่วงปลายปีที่34 ก่อนคริสตกาล หลังจากที่มาร์ค แอนโทนีได้มีชัยเหนืออาร์เมเนีย คลีโอพัตรากับซีซาเรียนได้ปกครองอียิปต์กับไซปรัสร่วมกัน อเล็กซานเดอร์ เฮลิออส ได้เป็นกษัตริย์ปกครองอาร์เมเนีย เมเดีย และ พาร์เธีย คลีโอพัตรา เซเรเน ได้เป็นราชินีปกครองซีเรไนกา และ ลิเบีย ส่วนปโตเลมี ฟิลาเดลฟุสได้เป็นกษัตริย์ปกครองโฟนิเซีย ซีเรีย และ ซิลิเซีย นอกจากนี้แล้วคลีโอพัตรายังดำรงตำแหน่งราชินีแห่งราชาทั้งปวงอีกด้วยมีเหตุการณ์อันโด่งดังเกี่ยวกับคลีโอพัตราหลายเหตุการณ์ แต่เรื่องที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายที่สุดและไม่อาจตรวจสอบได้ว่าจริงหรือไม่ ได้แก่เหตุการณ์เกี่ยวกับพระกระยาหารค่ำของพระนางกับมาร์ค แอนโทนีมื้อหนึ่งที่มีราคาแพงลิบ พระนางได้หยอกเย้ากับมาร์ค แอนโทนีด้วยการพนันกันว่า เขาเชื่อหรือไม่ว่าพระนางจะสามารถใช้เงินสิบล้านเซสเตอร์ซีอุสกับพระกระยาหารมื้อเดียวได้ ซึ่งเขาก็รับพนัน ในคืนต่อมา พระนางได้เสิร์ฟพระกระยาหารค่ำธรรมดาไม่ได้หรูหราอะไร ทำให้พระนางถูกมาร์ค แอนโทนีล้อ แต่พระนางก็ได้รับสั่งให้เสิร์ฟพระกระยาหารสำรับต่อมา ซึ่งมีเพียงน้ำส้มสายชูอย่างแรงหนึ่งถ้วย จากนั้นพระนางก็ถอดต่างหูไข่มุกอันประมาณค่ามิได้ของพระนางออก หย่อนลงไปในน้ำส้มสายชู ปล่อยให้ไข่มุกละลาย แล้วดื่มส่วนผสมนั้นพฤติกรรมของมาร์ค แอนโทนี นับว่ากระด้างกระเดื่องมากในสายตาของพวกโรมัน อ็อกตาเวียนจึงได้โน้มน้าวให้วุฒิสภาเปิดสงครามกับอียิปต์ ในปีที่ 31 ก่อนคริสตกาล กองกำลังของมาร์ค แอนโทนีได้เผชิญหน้ากับทหารโรมันด้วยทัพเรือนอกชายฝั่งแอคติอุมคลีโอพัตราได้ร่วมออกรบโดยมีทัพเรือของพระนางเอง แต่พระนางก็ได้เห็นกองเรือของมาร์ค แอนโทนี ที่มีเรือขนาดเล็กและขาดแคลนยุทโธปกรณ์ต้องพ่ายแพ้กับกองเรือโรมันที่มีเรือขนาดใหญ่กว่า พระนางต้องหลบหนีและมาร์ค แอนโทนีได้เลิกรบและหนีตามพระนางไปหลังจากการรบที่อ่าวแอคติอุม อ็อกตาเวียนก็ได้ยกพลขึ้นบกบุกอียิปต์ ในขณะที่ทัพของอ็อกตาเวียนเกือบจะถึงอเล็กซานเดรียกองกำลังทหารของมาร์ค แอนโทนีก็หนีทัพไปร่วมกับกองกำลังของอ็อกตาเวียน คลีโอพัตรากับมาร์ค แอนโทนีตัดสินใจปลิดชีพตนเองด้วยกันทั้งคู่ โดยที่คลีโอพัตราได้ใช้งูพิษปลิดชีพพระองค์เองเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ในปีที่30 ก่อนคริสตกาล ซีซาเรียน โอรสของพระนางที่เกิดกับจูเลียส ซีซาร์ก็ถูกอ็อกตาเวียนปลงพระชนม์ โอรสธิดาอีกสามพระองค์ที่เกิดกับมาร์ค แอนโทนีได้รับการไว้ชีวิตและนำกลับไปยังกรุงโรมโดยอ็อกตาเวีย อดีตภรรยาของมาร์ค แอนโทนี

มักกล่าวกันว่าคลีโอพัตราได้ใช้ แอสพฺ (งูพิษชนิดหนึ่ง) ปลิดชีพพระองค์เอง "asp" เป็นศัพท์เทคนิค หมายถึงงูพิษหลากหลายประเภทในอาฟริกาและยุโรป แต่ในที่นี้ หมายถึงงูเห่าอียิปต์ ซึ่งใช้ในการประหารนักโทษในบางครั้ง ยังมีเรื่องเล่าว่าคลีโอพัตราได้ทดสอบวิธีการฆ่าตัวตายต่างๆนานากับข้าราชบริพารหลายคน ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกวิธีการที่พระนางเห็นว่ามีประสิทธิภาพที่สุด  ด้วยที่เป็นชนเชื้อสายกรีก - มาเซโดเนีย ทั้งในด้านภาษาและวัฒนธรรม คลีโอพัตรามีชื่อเสียงในแง่ที่ว่า ตลอดระยะเวลากว่า 300 ปีที่ราชวงศ์ปโตเลมีปกครองอียิปต์นั้น พระนางเป็นสมาชิกคนแรกของปโตเลมีในที่เรียนรู้ภาษาอียิปต์ได้แตกฉาน และ ยังเรียนรู้ภาษาอื่นๆถึง 14 ภาษา ได้แตกฉาน

 

Share this