การฟังและการพูด
สมาชิกเลขที่22419 | 07 ก.ย. 53
10.9K views

การฟังหรือดูเพื่อการตัดสินใจและแก้ปัญหา

 

                การฟังและดูมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจอย่างเห็นได้ชัด   แม้แต่ในการเลือกว่าจะฟังหรือดูสิ่งใด นักเรียนก็ต้องใช้การตัดสินใจแล้ว  ความคิดในการตัดสินใจเปรียบเหมือนยามรักษาการณ์ซึ่งจะต้องตัดสินใจว่าจะยอมให้สิ่งใดผ่านเข้ามาในการรับรู้โดยการฟังหรือการดู  นักเรียนจะต้องรู้จักเลือกฟัง  เลือกดูอย่างมีปัญญา  ไม่ควรฟังหรือดูทุกสิ่งทุกอย่างโดยขาดสติ  เพราะอาจได้รับสารที่เป็นอันตรายต่อความคิดและจิตใจของนักเรียนได้

 

การพูดเชิงวิเคราะห์และประเมินค่า

 

          การพูดเชิงวิเคราะห์ประเมินค่า   เป็นการพูดที่เกิดจากการใช้ความคิดพิจารณาไตร่ตรองก่อนการพูดวิเคราะห์และประเมินค่าในเรื่องใดก็ตาม  นักเรียนควรดำเนินการดังนี้

 

๑.      มีความสนใจในเรื่องที่จะแสดงความคิดเห็น

 

๒.    ฟัง ดู หรืออ่านเรื่องนั้นอย่างน้อย    ครั้ง

 

๓.     ศึกษาเรื่องนั้นอย่างละเอียดจนเกิดความเข้าใจ

 

๔.     จำแนกรายละเอียดของเรื่องนั้นออกเป็นประเด็นต่างๆ เช่นสาเหตุ การกระทำผลที่เกิดขึ้น

 

ข้อดี ข้อเสีย ความเชื่อปัญหาที่เกิดวิธีแก้ปัญหา รูปแบบการเขียน การใช้สำนวน ภาษา  แนวคิดเป็นต้น

 

๕.     พิจารณาประเด็นที่ได้จำแนกไว้ทีละประเด็นอย่างละเอียด  ทุกแง่ทุกมุม

 

๖.      ศึกษาข้อมูลและความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยในการพิจารณาอย่างกว้างขวางและ

 

ลึกซึ้งมากขึ้น

 

๗.  ตัดสิน   และประเมินคุณค่าของเรื่องนั้นอย่างมีหลักเกณฑ์ว่ามีส่วนดี  ส่วนบกพร่องควรแก้ไขปรับปรุงอย่างมีหลักเกณฑ์

 

๘.  เรียบเรียงความคิดเป็นบทพูดเชิงวิเคราะห์และประเมินค่า

 

 หลักการเป็นพิธีกร

 

            พิธีกร

 

พิธีกร   หมายถึง   บุคคลผู้ทำหน้าที่กำกับ   หรือดำเนินการให้กิจกรรมรายการพิธีการต่างๆ  สำเร็จตามวัตถุประสงค์และกำหนดการ

 

            โฆษก

 

โฆษก   หมายถึง   บุคคลที่ทำหน้าที่คล้ายพิธีกร  แต่ใช้ลีลาการพูดที่สนุกสนานเร้าใจกว่าพิธีกรส่วนใหญ่จะทำหน้าที่ในงานที่ไม่เป็นพิธีการมากนัก

 

                ผู้ประกาศ

 

ผู้ประการ   หมายถึง   ผู้ทำหน้าที่ประกาศแจ้งรายการของสถานีวิทยุ  โทรทัศน์ตามที่แผนผังรายการกำหนดไว้

 

                ผู้ประกาศจะมีบทบาทค่อนข้างจำกัด  และจะให้กับผู้พุดทางสถานีวิทยุ  หรือโทรทัศน์มากกว่าผู้ประกาศทำหน้าที่อ่านข้อความที่เขียนไว้แล้วให้ผู้ฟังทราบ

 

                ผู้ดำเนินการอภิปราย

 

                ทำหน้าที่ดำเนินการอภิปรายให้เป็นไปตามขอบเขตและวัตถุประสงค์ที่กำหนด  โดยกล่าว

 

เปิดอภิปราย  แนะนำผู้อภิปราย  กล่าวเชิญผู้อภิปรายพูดแสดงความคิดเห็น  สรุปประเด็นการอภิปราย

 

และกล่าวปิดการอภิปราย

 

                วิทยากร

 

วิทยากรเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพูดประเภทให้ความรู้

 

การเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นพิธีกร

 

๑.      สร้างความเชื่อมั่นในบุคลิกและความสามารถของตนเอง

 

๒.    ใช้หลักการพูดในที่ชุมนุมชนเช่นบุคลิกภาพ การใช้เสียง

 

๓.     สะสมเกร็ดการพูดที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์  เพื่อจะได้นำมาใช้ประกอบการพูดนำ

 

หรือเชื่อมต่อในแต่ละช่วง

 

การปฏิบัติหน้าที่พิธีกร

 

ในการปฏิบัติหน้าที่พิธีกรนักเรียนควรดำเนินการดังนี้

 

                ๑.  ศึกษาข้อมูล  หรือวิเคราะห์สถานการณ์   เช่น  งานอะไร  จัดเพื่อวัตถุประสงค์ใด

 

บรรยากาศของงานเป็นอย่างไร

 

                ๒.  สำรวจสถานที่ก่อนวันงาน   เพื่อเตรียมตนเองในการแต่งกาย  การใช้เสียงและการ

 

เดินทาง

 

๓.  เตรียมร่างเนื้อหาบทพูด ตรวจสอบข้อความ ฝึกซ้อมการพูดให้คล่องแคล่วไม่ควรพูดโดย

 

อ่านจากบท

 

                ๔.  เลือกเครื่องแต่งกายที่เหมาะสมกับตนเอง  เพื่อช่วยเสริมบุคลิก

 

                ๕.  รักษาสุขภาพให้แข็งแรงทั้งกายและใจ   ควบคุมความประหม่าและความวิตกกังวลและทำหน้าที่อย่างสุดฝีมือ

 

                ๖.  พิธีกรไม่ใช่วิทยากร  ดังนั้นจึงควรดำเนินบทบาทให้ถูกต้อง   อย่าเป็นผู้บรรยายความรู้หรือพูดมากกว่าวิทยากร

 

                ๗.  อุทิศตัวให้งาน  พิธีกรต้องมาก่อนงานเริ่ม และกลับเมื่องานเสร็จเรียบร้อยแล้ว

 

การพูดสุนทรพจน์

 

                สุนทรพจน์เป็นคำสมาส มาจากคำว่า  สุนทร+พจน์  แปลว่า  ถ้อยคำที่มีความไพเราะและ     ดีงามดังนั้น  การพูดสุนทรพจน์จึงต้องเรียบเรียงถ้อยคำให้ไพเราะสละสลวย  ให้ข้อคิดและจรรโลงใจผู้ฟัง

 

การกำหนดโครงเรื่องสุนทรพจน์

 

            การกำหนดโครงเรื่องสุนทรพจน์มีหลักปฏิบัติดังต่อไปนี้

 

                ๑.  รวบรวมความคิดที่ต้องการพูด  โดยคำนึงถึงจุดมุ่งหมายในการพูด   สาระในการพูด

 

และทบทวนว่ามีข้อมูลครบถ้วนเพียงพอแล้วหรือยัง 

 

                ๒.  นำข้อมูลที่รวบรวมได้จากการระดมความคิดมาพิจารณาเลือกสรรความคิด     โดย            วิเคราะห์ว่ารายการความคิดที่ได้จากการระดมความคิดนั้น   รายการความคิดใดสอดคล้องกับหัวข้อ

 

ที่จะพูดมากที่สุด

 

                ๓.  นำรายการความคิดที่ผ่านการเลือกสรรแล้วมาจัดหมวดหมู่   โดยแบ่งออกเป็นประเด็น

 

สำคัญหรือหัวข้อใหญ่   และหัวข้อย่อย   จัดหมวดหมู่ตามลำดับความสำคัญของเนื้อหาให้ครอบคลุม

 

เนื้อหา

 

๔.     แบ่งเนื้อเรื่องที่พูดออกเป็น    ส่วน  คือ  มีคำนำ  เนื้อเรื่อง  และสรุป

 

Share this