หลักการเขียนสารคดี บทวิจารณ์ และจดหมายสมัครงาน
สมาชิกเลขที่22419 | 07 ก.ย. 53
152.3K views

การเขียนสารคดี

 

สารคดี  หมายถึง   เรื่องที่เขียนขึ้นจากเค้าความจริง   มิใช่เรื่องที่เกิดจากจินตนาการ   งานเขียนสารคดีจึงเป็นข้อเขียนที่ผู้เขียนต้องการรายงานข้อเท็จจริงแก่ผู้อ่าน   โดยไม่ใช้จินตนาการและอารมณ์ผสมผสานลงไป

 

ประเภทของสารคดี

 

                โดยทั่วไปนิยมแบ่งสารคดีเป็น    ประเภทคือ

 

                ๑.  สารคดีวิชาการ   เป็นเรื่องราวที่ให้ความรู้เกี่ยวกับวิชาการสาขาต่างๆ  เช่นวิทยาศาสตร์  ภาษาศาสตร์  เกษตรศาสตร์  สังคมศาสตร์ 

 

                ๒.  สารคดีทั่วไป  เป็นเรื่องราวที่ให้ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับชีวิต เช่นกีฬา การท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม  การทำอาหาร  ประวัติบุคคลที่มีชื่อเสียง  กลุ่มผู้อ่านสารคดีประเภทนี้จะกว้างกว่าสารคดีวิชาการ

 

ลักษณะเฉพาะของสารคดี

 

            ลักษณะเฉพาะของสารคดีอาจสรุปได้ดังนี้

 

                ๑.  เรื่องที่นำมาเขียนเป็นสารคดี   จะต้องมีประโยชน์แก่ผู้อ่าน  และมุ่งนำเสนอข้อเขียนที่เป็นความรู้ความคิดจากเรื่องจริงเหตุการณ์จริงและจะต้องเขียนให้อ่านเพลิดเพลินมีอรรถรส

 

                ๒.  สารคดีเป็นเรื่องราวทั่วไป  ไม่มีข้อจำกัดเฉพาะเรื่องเวลาเหมือนข่าว  จึงสามารถนำเรื่องใดก็ได้มาเขียนสารคดี   แต่ทั้งนี้ต้องยึดเรื่องข้อเท็จจริงเป็นหลัก  เรื่องที่สามารถนำมาเขียนเป็นสารคดี เช่น ศาสนา และปรัชญา  ศิลปวัฒนธรรม  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาษา  ชีวประวัติกฎหมาย จิตวิทยา  ธุรกิจการเงิน  การติดต่อระหว่างประเทศเป็นต้น

 

องค์ประกอบของงานเขียนสารคดี

 

            งานเขียนสารคดีมีองค์ประกอบเช่นเดียวกับเรียงความ  และบทความดังนี้

 

๑.      บทนำ  คือ  การเขียนนำเข้าสู่เรื่อง  เพื่อให้ผู้อ่านทราบว่าสารคดีเรื่องนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับ

 

เรื่องอะไร

 

                ๒.เนื้อเรื่อง  เนื้อเรื่องเป็นส่วนที่สัมพันธ์กับบทนำ  โดยการขายเนื้อความออกไป  เพื่อให้ผู้อ่านทราบรายละเอียด  ข้อมูล  สถิติต่างๆ

 

                ๓.บทสรุป  บทสรุปเป็นส่วนที่ทำให้ผู้อ่านประทับใจสารคดีเรื่องนั้น  ควรเขียนให้กะทัดรัดจับใจผู้อ่าน

 

หลักการเขียนสารคดี

 

๑.      การเลือกเรื่องและชื่อเรื่อง เรื่องที่นำมาเขียนจะต้องเหมะสมกับผู้อ่านที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย

 

๒.  การใช้ภาษา   ควรใช้ภาษาที่ชัดเจน  ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์

 

๓.  ความยาวของสารคดี   สารคดีแต่ละเรื่องไม่ควรมีความยาวมากเกินไปจนน่าเบื่อเพราะ

 

  สารคดีมีลักษณะเป็นบทเป็นตอน  ไม่ใช่ตำราหรือหนังสืออ้างอิง  จึงควรมีความยาวที่สามารถใช้เวลาในการอ่านประมาณ  ๑๕  นาที

 

ขั้นตอนการเขียนสารคดี

 

๑.      การเตรียมตัวเขียน

 

เป็นขั้นตอนที่ผู้เขียนต้องค้นคว้าข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงมาประกอบการเขียนโดยการอ่านหนังสือ  สัมภาษณ์หรือทดลอง

 

                ๒.  การลงมือเขียน   เมื่อเลือกแหล่งข้อมูลและรวบรวมข้อมูลได้แล้ว   ผู้เขียนจะต้องนำข้อมูลนั้นมาลำดับความคิดโดยจัดทำเป็นโครงเรื่อง   แล้วลงมือเขียนตั้งแต่บทนำ  เนื้อเรื่อง บทสรุป

 

                ๓.  การทบทวน   เมื่อเขียนจบแล้ว  ควรอ่านบทความ  ๒-๓  ครั้งเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆที่จะทำให้งานเขียนด้วยคุณภาพ

 

 

การเขียนบทวิจารณ์

 

                การวิจารณ์   หมายถึง   การแสดงความคิดเห็นต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง   โดยวินนิจฉัยสิ่งนั้นอย่างละเอียด ทั้งในด้านดีและด้านบกพร่อง  รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์

 

ลักษณะของการเขียนบทวิจารณ์

 

            การเขียนบทวิจารณ์  คือ  การเขียนที่แสดงให้เห็นข้อดี   ข้อบกพร่องของสิ่งใดสิ่งหนึ่งและให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์  เพื่อปรับปรุงสิ่งนั้นให้ดีขึ้น

 

ประเภทของบทวิจารณ์

 

                ๑.  บทวิจารณ์การเมือง   เป็นบทวิจารณ์ที่เขียนถึงเหตุการณ์การเมืองในปัจจุบันทั้งในและต่างประเทศ  หรือเหตุการณ์การเมืองในอดีต

 

                ๒.  บทวิจารณ์ข่าว  เป็นบทวิจารณ์เหตุการณ์ปัจจุบันที่น่าสนใจและเป็นข่าวแพร่หลายทางหนังสือพิมพ์

 

                ๓.  บทวิจารณ์วรรรณกรรม   เป็นบทวิจารณ์หนังสือที่กำลังอยู่ในความนิยมของผู้อ่านหรือแนะนำหนังสือที่ควรอ่าน   อาจเป็นการวิจารณ์ทั้งเล่มหรือวิจารณ์เนื้อเรื่องบางตอนก็ได้

 

                ๔.  บทวิจารณ์สื่อบันเทิงอื่นๆ   ได้แก่  ภาพยนตร์  ละคร  งานแสดงศิลปะ

 

หลักการเขียนบทวิจารณ์

 

                การเขียนบทวิจารณ์มีหลักดังนี้

 

๑.      ผู้เขียนต้องเข้าใจประเด็นสำคัญของเรื่องที่จะวิจารณ์

 

๒.    ผู้เขียนต้องมีความรู้และเหตุผลในเรื่องนั้น  เพื่อให้บทวิจารณ์มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

 

๓.     ผู้เขียนต้องใช้ความคิดเชิงวิเคราะห์  โดยจำแนกข้อดีและข้อบกพร่องของสิ่งที่วิจารณ์

 

และนำมาชี้แจงให้ผู้อ่านเข้าใจอย่างชัดเจนว่าดีอย่างไร  บกพร่องอย่างไร

 

                ๔.  ผู้เขียนต้องนำเสนอแนวทาง  หรือข้อเสนอแนะในการปรับปรุงข้อบกพร่องของสิ่งที่วิจารณ์ให้ดีขึ้น

 

                ๕.  ผู้เขียนต้องมีใจเป็นกลาง  ปราศจากอคติในการวิจารณ์มีความเป็นตัวของตัวเองและมีหลักการว่า  วิจารณ์  เพื่อสร้างสรรค์ไม่ใช่เพื่อการทำลายล้าง

 

                ๖.  ไม่นำเรื่องส่วนตัวของผู้เขียน  หรือความขัดแย้งส่วนตัวระหว่างผู้เขียนกับผู้วิจารณ์มาเป็นข้ออ้างหรือข้อมูลประกอบการเขียน

 

 

 

การเขียนจดหมายสมัครงาน

 

                จดหมายสมัครงาน  เป็นจดหมายธุรกิจประเภทหนึ่งที่เขียนติดต่อกับบริษัทห้างร้าน  เพื่อขอสมัครเข้าทำงาน

 

วิธีการเขียนจดหมายสมัครงาน

 

                การเขียนจดหมายสมัครงาน  มีขั้นตอนดังนี้

 

๑.      ควรเลือกใช้กระดาษและซองที่มีสีสุภาพ  สะอาดตา  สีขาวเป็นที่เหมาะสมที่สุด  ไม่ควร

 

ใช้กระดาษและซองราชการ

 

๒.    ในการพิมพ์ข้อความควรระมัดระวังเรื่องตัวสะกดการันต์ ไม่ขูดฆ่า ขีดลบ

 

๓.     ระบุรายละเอียดที่จำเป็นในจดหมาย  ได้แก่  ชื่อ  นามสกุล  อายุ  ประวัติการศึกษา

 

สถานภาพ  ประสบการณ์

 

                ๔.  การเริ่มต้นจดหมายควรมีการอารัมภบท   เพื่อให้ผู้รับทราบว่าได้ข่าวการรับสมัครงานนี้

 

จากที่ใดหรือจากใคร  จากนั้นจึงกล่าวถึงรายละเอียดส่วนตัว  ผู้รับรอง  สถานที่  และ  หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

 

Share this