ทำไมมะกันชอบแต่ไทยไม่นิยม
สมาชิกเลขที่6035 | 09 ส.ค. 53
1.7K views

 

คราวที่แล้วผมสัญญาว่าจะมาเล่าถึงประสบการณ์การนำรูปแบบการเรียนการสอนแบบDiscovery Learningมาใช้ในการเรียนการสอนทั้งในประเทสและในเมืองไทย ก็จะรู้ว่าน่าเสียดายที่รูปแบบการเรียนรู้แบบนี้ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายเหมือนรูปแบบการเรียนแบบConstructive LearningหรือProject Approach

ในช่วงที่ผมทำวิจัยเรื่องนี้พบว่ารูปแบบการเรียนแบบนี้ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและนำมาใช้ในการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะในอเมริการูปแบบการเรียนแบบนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นActive Leraningที่จะช่วยให้คนเกิดการเรียนรู้ แสวงหาคำตอบ สอนให้ผู้เรียนรู้จักแก้ปัญหาและยังเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต

น่าสังเกตว่าเอมริกานำมาปรับใช้ในสถาบันการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมจนถึงมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ มีการตั้งเป็นศูนย์พัฒนา ศูนย์วิจัย ศูนย์ฝึกอบรมหรือสถาบันคิดค้นวิจัยแบบDiscovery Learning แม้แต่ศูนย์พัฒนาเด็ก

นอกจากนี้ยังมีการนำแนวคิดDiscovery Learningมาพัฒนาเป็นหลักสูตรพัฒนาบุคลากรในภาคเอกชนด้วย

ส่วนเมืองไทยจากการวิจัยพบว่ามีการนำมาทดลองใช้ศึกษาเปรียบเทียบในวิชาคณิตศาสตร์ระหว่างการเรียนแบบเดิมกับการเรียนแบบDiscovery Learning พบว่าผลสัมฤทธิ์การเรียนแบบDiscovery Learningดีกว่า

แต่ไม่พบว่ามีการขับเคลื่อนในระดับแนวคิดหรือนโยบายในแวดวงการศึกษาไทยแต่อย่างใด

และผมก็เคยตั้งข้อสังเกตว่าระบบการเรียนการสอนของไทยสวนทางกับการเรียนรู้แบบDiscovery Learningเรามักจะบอกคำตอบหรือความรู้กับเด็กตั้งแต่เริ่มแรก ตำรับตำราก็เป็นคำตอบ เด็กถูกครอบความคิดด้วยการเรียนแบบท่องจำมากเกินไป บรรยากาศการเรียนการสอนครูเป็นแกน 

และมีอยู่วันหนึ่งผมเห็นข่าวสภาพัฒน์ประชุมเตรียมทำแผนพัฒนาประเทศฉบับที่11บอกว่าจะเน้นให้เด็กคิด ผมถามในใจว่าแล้ว10แผนที่ผ่านมาคนไทยไม่ได้ถูกสอนให้คิดเลยใช่ไหม แต่คิดอีกทีก็ยังดี ถ้าเป็นไปได้สภาพัฒน์ควรจะวางกรอบการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนส่งเสริมสนับสนุนให้มีการนำแนวคิดการเรียนการสอนที่สอนให้ผู้เรียนรู้จัดคิด คิดวิเคราะห์ แยกแยะได้ คิดเป็นเหตุผล ซึ่งDiscovery Learningเป็นทางเลือกทางหนึ่งที่สามารถนำพาสังคมไทยหลุดพ้นจากภาวะจำนน งมงาย ถูกลัทธิผี พรามณ์นำ ผลักดันให้คนไทยรู้จักคิดแสวงหาคำตอบด้วยตนเอง

ซึ่งหากย้อนไปดูตั้งแต่พระพุทธเจ้า ไอน์สไตนส์ ไอแซค นิวตัน เอดิสัน ล้วนแต่ค้นพบคำตอบหรือความรู้ด้วยตนเองถึงเวลาหรือยังครับที่สังคมไทย สังคมการศึกษาจะได้เรียนรู้ทำความเข้าใจและนำรูปแบบการเรียนการสอนแบบDiscovery Learning

 

 

 

ครั้งหน้าผมจะนำข้อเสนอแนะที่ผมมีโอกาสทำเรื่องนี้ในพิพิธภัณฑ์เด็ก พร้อมข้อเสนอแนะในวิทยานิพนธ์ของผม

 

 

Share this