ยกตัวอย่างมาให้น้องๆ ดูดังนี้
"ขอบคุณคะ" (ขอบ-คุน-คะ) ที่ถูกต้องเขียนว่า "ขอบคุณค่ะ" (ขอบ-คุน-ข้ะ)
"ใช่ไหมค่ะ" (ใช่-ไหม-ข้ะ) ที่ถูกต้องเขียนว่า "ใช่-ไหม-คะ" (ใช่-ไหม-คะ)
"ลองดูนะค่ะ" (ลอง-ดู-นะ-ข้ะ) ที่ถูกต้องเขียนว่า "ลองดูนะคะ" (ลอง-ดู-นะ-คะ)
"ดีจังน๊ะค๊ะ" (ดี-จัง-นะ-คะ) ที่ถูกต้องเขียนว่า "ดีจังนะคะ" (ดี-จัง-นะ-คะ)
จากตัวอย่างด้านบนพี่มิ้นท์จะอธิบายวิธีการใช้ง่ายๆ ของคำลงท้ายเหล่านี้ โดยยึดหลักทางด้านความหมายนะคะ เพราะจะช่วยให้น้องๆ เข้าใจได้มากขึ้นว่าแต่ละคำใช้ในสถานการณ์ใด
คำว่า "ค่ะ" ใช้ลงท้ายประโยคบอกเล่าหรือการตอบรับ เช่น สนุกดีค่ะ, ใช่ค่ะ
คำว่า "คะ" ใช้ลงท้ายประโยคคำถาม เช่น ไปไหนคะ, สนุกมั้ยคะ
เช่น ก : ไปไหนคะ (<-- ปย.คำถาม ใช้คะ ไม่เติมวรรณยุกต์)
ข : ไปกินข้าวค่ะ (<-- ปย.บอกเล่า เติมไม้เอกลงไปหน่อย)ไปด้วยกันมั้ยคะ (<-- ปย.คำถามอีกแล้ว)
ก : ไม่ไปหรอกค่ะ ( <-- ปย.บอกเล่า ) จะไปนั่งเล่นเว็บเด็กดี
คำว่า "นะคะ" ใช้ลงท้ายประโยคบอกเล่า คล้ายกับ "ค่ะ" แต่ให้ความรู้สึกที่นุ่มนวลกว่า เช่นขอโทษนะคะ(ใช้ ขอโทษค่ะ แทนได้) ราคาเท่าไหร่คะ หรืออาจจะใช้ในประโยคบอกเล่าที่มีลักษณะเชิญชวนหรือขอร้อง เช่น เข้าเว็บเด็กดีกันบ่อยๆ ด้วยนะคะ คำนี้เป็นคำพิเศษที่เวลาเขียนต้องมาคู่กัน โทนเสียงเดียวกัน จำง่ายๆ ก็คือ ไม่มีไม้เอกอยู่ข้างบน และก็ต้องไม่มีไม้ตรี (เช่น น๊ะค๊ะ) ทั้งสองพยางค์เหมือนกัน เพราะ น.หนู และ ค.ควาย เป็นอักษรต่ำ ไม่ต้องเติมไม้ตรีก็ออกเสียงตรีอยู่แล้วค่ะ (เพิ่มเติมนิดนึง ในภาษาไทยมีเพียงอักษรกลางเท่านั้นที่สามารถผันวรรณยุกต์ได้ครบ 5 เสียง)
คำว่า "นะค่ะ" คำนี้บอกได้คำเดียวว่า ไม่มีใช้ในภาษาไทยค่ะ ที่ถูกต้อง คือ "นะคะ"