ข้อสอบเน้นความจำ หมายความว่า คำถามส่วนใหญ่ต้องการคำตอบที่เฉพาะเจาะจง ไม่ต้องผ่านการวิเคราะห์ หรือ วิเคราะห์เพียงนิดหน่อย เช่น คำถามประเภท ถาม พ.ศ., ถามชื่อคน, ชื่อเมือง, ถามสาเหตุ ฯลฯ คำตอบที่ออกมาจะได้เหมือนกันทุกคน ซึ่งคุณครูระดับมัธยมส่วนใหญ่จะออกรูปแบบนี้ ในวิชา ประเภท สังคมฯ ประวัติศาสตร์ และเราก็จะท่องกันหัวปั่น เรียกว่าท่องกันบรรทัดต่อบรรทัดเลยทีเดียว
เคล็ดลับที่พี่มิ้นท์จะมาแนะนำกันวันนี้ คือ การลบเนื้อหาที่สำคัญออกจากต้นฉบับ เพื่อลับสมองประลองความจำ วิธีการมีดังนี้
1. สมมติว่าวันนี้เราอ่านเรื่องประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยสุโขทัย รอบแรกที่อ่านให้จับใจความสำคัญ แล้วทำเครื่องหมายในส่วนที่เราเก็งข้อสอบไว้ว่าคุณครูต้องออกแน่ๆ เลย
รูปตัวอย่าง เนื้อหาที่เราจะอ่านกันวันนี้!!
2.เอาชีทหรือเอกสารที่กำลังอ่านอยู่ไปถ่ายเอกสาร หรือคัดลอกด้วยลายมือตัวเองมาก็ได้(ถ้าลอกด้วยลายมือตัวเองได้ยิ่งดีใหญ่ เพราะทวนความจำไปในตัว) แต่ในช่วงเวลาน้อยๆ เอาไปถ่ายเอกสารจะสะดวกกว่า
3.ลบเนื้อหา หรือ ใจความที่เราเก็งข้อสอบออกไป ให้กลายเป็นช่องว่างให้เราเติมคำ หรือขีดเส้นใต้เอาไว้ด้วยก็ได้ แบบในรูปข้างล่าง
ง่ายๆ แค่นี้ น้องๆ ก็จะมีคัมภีร์เก็งข้อสอบเป็นของตัวเอง ซึ่งวัดความจำของน้องๆ ได้ล้านเปอร์เซ็นต์ วิธีนี้ได้ผลดีกว่าการท่องจำมาก เพราะการจะเติมคำในช่องว่างได้ เราจะต้องดึงความจำในสมองออกมาในขั้นที่ 1 ส่วนในขั้นที่ 2 เรายังต้องประมวลผลและกลั่นออกมาเป็นคำตอบและเขียนลงไปในช่องว่าง (การเขียนเพิ่มประสิทธิภาพในความจำขึ้นอีก) ถ้าเราตอบถูกก็แสดงว่าความจำเราใช้การได้ดี แต่ถ้าผิดก็ยิ่งกลายเป็นผลดีขึ้นไปอีก เพราะน้องๆ จะจำข้อบกพร่องของตัวเองได้ว่า ตอบแบบนี้มันผิด ผลที่ตามมาก็คือ พอเราแก้เป็นคำตอบที่ถูกแล้ว เราก็จะจำแต่สิ่งที่ถูกต้องนั่นเอง
แค่ 3 ขั้นตอนที่ว่ามา เนื้อหา 4-5 หน้า ก็จำได้หมดค่ะ ส่วนการท่องจำด้วยปากเปล่า ถ้าวันไหนสติหลุด ก็มีลุ้นลืมหมดสมองเหมือนกัน
เด็ดกว่านั้นก็คือ ถ้าน้องๆ เซียน เก็งข้อสอบได้แม่นตรงกับความคิดคุณครูด้วยล่ะก็ วิชานั้นหวานหมูเลย คะแนนเต็ม 100 แน่ๆ