สุขภาพของปาก สำคัญอย่างไร
การมีสุขภาพปากที่ดีและการดูแลอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ติดเชื้อ เอช ไอ วี หรือผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
โรคเหงือกและฟันที่เคยเป็นปัญหาบ่อยๆ อาจเพิ่มความสามารถรุนแรงและเรื้อรังมากขึ้นเมื่อผู้ติดเชื้อมีภูมิต้านทานต่ำ การดูแลรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่ระยะเริ่มต้น อาจช่วยให้ปัญหาลดน้อยลงได้
อาการใช้ช่องปากของผู้ช่วยโรคป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
โรคติดเชื้อรา (Candidisis) พบบ่อยที่เพดานปาก ลิ้น กระพุ้งแก้ม อาจลามลงในลำคอได้ ลักษณะเป็นตุ่มหรือสีขาว เช็ดออกง่าย หรือเป็นรองแดง อาจพบตามรอยแตกมุมปาก บางครั้งมีอาการเจ็บ กินอาหารได้ตามปกติ
แผ่นคราบขาว (Hairy Lcukoplakia) มักพบด้านข้างลิ้น แต่อาจพบตามกระพุ้งแก้ม ผิวหยาบขาว จับเป็นเส้นตั้ง ขูดลอกออกได้ไม่หมด ไม่มีอาการเจ็บ หรือทำอันตราย
เหงือกอักเสบและเหงือกเป็นแผลเปื่อย (Bingivtis and Periodontitis) อาจพบเหงือกเป็นแถบสีแดงจัด โดยไม่พบแผ่นคราบจุลินทรีย์ บางรายอาจพบการอาจพบการทำลายของยอดเงือกบริเวณซอกฟัน กระดูกรองรับตัวฟันมีการละลายตัวฟันโยก เนื้อเหงือกถูกทำลายมากขึ้น เป็นแผลเน่าเปื่อยมีอาการเจ็บปาก
มะเร็งหลอดเลือด (Kaposi’s sarcoma) พบได้ทั่วปากมีหลายรูปแบบตั้งแต่เป็นจุด ขีด รอยแดงจางๆ ตุ่ม ก้อน หรือแผลขนากใหญ่ สีแดงคล้ำ ปกติมักเจ็บนอกจากเป็นแผลหรือติดเชื้ออื่นๆ บางครั้งอาจมีเลือดออกตำแหน่งที่พบบ่อยได้แก่ เพดานปาก ลิ้นและเหงือก
โรคที่พบบ่อยทั่วไป แต่ถ้าเกิดในผู้ติดเชื้อ เอช ไอ วี / เอดส์ จะมีความรุงแรงและเรื้อรัง เช่น
แผลเรื้อรัง (Chornic Ulcer) แผลบนเยื่อเมือกระพุ้งแก้ม ลำคอ ที่เกิดเรื้อรัง มีทั้งแผลเยื่อเมือกกระพุ้งแก้ม ลำคอ ที่เกิดเรื้อรัง มีทั้งแผลตื้นๆ หรือหว่างลึก มีอาการเจ็บ
เริม (Oral Herpcs Simplex Infection) ตุ่มน้ำใส ซึ่งจะแตกเป็นแผลพบได้ที่บริเวณริมฝีปาก หรือภายในช่องปาก แผลอาจลุกลามรุนแรงเรื้อรัง และเจ็บมาก
งูสวัด (Shinglce) เกิดจากเชื้องูสวัด หรือ เฮอร์ปีส์ซอสเตอร์ ซึ่งเป็นไวรัสตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส เชื้อแฝงตัวหลบอยู่ที่ปม ประสาท เมื่อร่างกายมีภาวะภูมิต้นทานโรคต่ำ เชื้อจะแบ่งตัวเกิดผื่นแดง แล้วกลายเป็นตุ่มน้ำใสเรียงเป็นแถวยาวตามแนวเส้นประสาทมักพบเพียงซีกใดซีกหนึ่งของใบหน้าและช่องปาก ปวดแสบปวดแสบปวดร้อนคล้ายถูกไฟไหม้ โรคนี้หายได้เองแต่มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนมีอาการปวดเชื้อรังได้
หูด (Oral Warts) ก้อนหูดมีผิวขรุขระเนื่องจากเป็นติ่งเนื้อขนาดเล็กเบียดกันแน่นดูเหมือนดอกกระหล่ำมีขนาดก้อนต่างๆ กัน อาจติดต่อได้โดยการสัมผัส
การตรวจช่องปากและบริเวณใกล้เคียงด้วยตนเอง
1. ตรวจคลำหาก้อนเนื้อหรือตุ่มที่ผิดปกติบริเวณช่องปากและลำคอ
2. ตรวจหนบริเวณที่ผิดปกติหรือเจ็บภายในช่องปาก
3. ตรวจหาบริเวณเหงือกที่ซ้ำ อักเสบ หรือมีเลือดออก
4. ตรวจหาจุด / รอย ขาว แดง ที่ผิดปกติในช่องปาก
5. สังเกตการณ์กลืนกินอาหารการรับรสอาหาร
6. สังเกตดูฟันที่โยก และเนื้อเหงือกที่เป็นแผล
ขั้นตอนการดูแลสุขภาพช่องปาก
– ตรวจใบหน้า ลำคอและช่องปากอย่างสม่ำเสมอ
– ถ้าพบสิ่งเปลี่ยนแปลงให้ปรึกษาทันตแพทย์
– แปลงฟันและทำความสะอาดช่องปากทุกวันตามคำแนะนำของทันตแพทย์
– พบทันตแพทย์เพื่อสุขภาพช่องปากอย่างน้อยทุก 6 เดือน
ที่มา : หน่วยผู้ป่วยติดเชื้อ อาคารสมเด็จย่า ชั้น 3 โรงพยบาลคณะทันตแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย