กระบวนการเรียนการสอนแบบDiscovery learning
สมาชิกเลขที่6035 | 03 ก.ค. 53
3.8K views

 

 

 

 ก่อนที่ผมจะว่าต่อเรื่องกระบวนการเรียนการสอนแบบDiscovery Learningผมอยากหยิบยกข่าวนี้มาเล่าคือ

 

 

เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม ที่รัฐสภาคณะอนุกรรมาธิการสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตามรัฐธรรมนูญวุฒิสภา ได้มีการจัดเสวนาเรื่องเด็ก:ควรเรียนรู้อะไรจากวิกฤตทางการเมือง
       
ในการเสวนาครั้งนี้นายอนุศักดิ์ คงมาลัยประธานคณะอนุกรรมาธิการกล่าวว่า พฤติกรรมความรุนแรงกรณีนักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนวิทยานุสรณ์ก่อเหตุเผาหอสมุดโรงเรียน ซึ่งเกิดจากความเครียดจากการกดดันทางการเรียนและการเลียนแบบพฤติกรรมความรุนแรงทางการเมืองที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่าเด็กไทยกำลังเผชิญปัญหาความสามารถด้านการบริหารอารมณ์จนกลายเป็นจุดอ่อนต่อความอดกลั้นเมื่อเผชิญปัญหาและการหาทางออกด้วยตนเอง
       
“นอกจากนี้ยังพบว่า ค่านิยมของเด็กไทยในยุคปัจจุบันที่เกิดจากการเลียนแบบทาสังคมที่สำคัญ 5 ด้าน พรหมลิขิต ติดยา บ้าแบรนด์เนม ติดเกม กลัวผี ซึ่งค่านิยมเหล่านี้มาจากเพื่อนสังคมรอบข้าง การโฆษณาชวนเชื่อ สื่อมวลชน ผู้นำทางความคิด” นายอนุศักดิ์กล่าว 
       
นายอนุศักดิ์ กล่าวว่าขณะที่ระบบการศึกษาไทยที่ผ่านมา ไม่สามารถทำได้ตามความคาดหวังที่ตั้งกันเอาไว้ปรับตัวไม่ทันต่อความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและมีเพียงมาตรฐานเดียวในการวัดความเก่งของเด็ก ดังนั้นสิ่งที่เด็กควรเรียนรู้จากบทเรียนที่เกิดขึ้นในสังคม คือการเรียนรู้ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคมด้วยตนเองอย่างรู้เท่าทันเพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อ และเรียกร้องให้ผู้ใหญ่ทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้านข้าราชการ และทุกภาคส่วนตระหนักในการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในการเฝ้าระวังเด็กในภาวะที่สังคมสับสน

 

 

ที่ผมหยิบเอาเรื่องข่าวนี้มาเพื่อบอกว่าหากเรายังคงไม่ปรับเปลี่ยนระบบการเรียนการสอนก็จะเกิดเหตุการณ์ เกิดปัญหากับเด็กไทยไม่จบสิ้นและผู้เขียนเชื่อว่าการเรียนการสอนแบบผู้เรียนค้นพบคำตอบด้วยตนเองน่าจะเป็นทางออกทางหนึ่งดังที่กล่าวมาในตอนก่อนหน้า

 

 

ผมเชื่อว่าการเรียนแบบนี้เด็กๆจะมีความสุข สนุกกับเรียน เพราะรูปแบบของDiscoveryจะเน้นที่ผู้เรียน บทบาทของผู้เรียนคือการรู้จักตั้งคำถาม สงสัย ใคร่รู้และอยากหาคำตอบ โดยลงมือทำ ผู้เรียนจะได้ใช้ความพยายามคิดหาคำตอบได้หลายวิธี โดยอาศัยประสบการณ์บวกกับความรู้ ความเข้าใจจากการสังเกต สำรวจ สัมผัส สืบค้นและสรุปความคิดรวบยอดของตัวเอง

 

 

โดยคุณครูจะมีบทบาทเป็นผู้เตรียมคำถามให้มากๆพร้อมกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดหาเหตุผลของแต่ละคนและแสดงออกในความคิด คุณครูจะไม่พยายามบอกคำตอบแต่ใช้กลยุทธ์ในการตะล่อมความคิดเดิมกับความคิดใหม่ของผู้เรียนและช่วยขัดเกลา

 

 

คุณครูที่สอนแบบDiscoveryจะร่วมในกระบวนการเรียนการสอนไปกับเด็กๆ คอยหล่อเลี้ยงบรรยากาศความอยากรู้อยากเห็นของผู้เรียนไม่ให้ตก ที่สำคัญคุณครูจะพยายามให้ผู้เรียนสรุปความคิดรวบยอดในแต่ละครั้งด้วยตัวนักเรียนเอง ไม่กังวลว่าเด็กนักเรียนจะตอบผิดหรือถูก ให้นักเรียนคิดหรือหาคำตอบใหม่จนกว่าจะพบช้อสรุปที่ถูกต้องจะเห็นว่าคุณครูมีส่วนสำคัญในการทำให้เด็กๆสนุกกับการคิดหาคำตอบให้กำลังใจเด็กๆแม้ยังไม่เจอคำตอบ

 

 

พอจะเห็นกระบวนการเรียนแบบDiscoveryที่ทั้งเด็กและครูมีบทบาทร่วมกัน เอาความสงสัย ความอยากรู้ของเด็กเป็นตัวตั้ง ครูคอยประคับประครอง ให้โอกาส สนับสนุน ส่งเสริม ไม่ปิดกั้นความคิดของเด็กๆ ถ้าครูและเด็กไทยได้ฝึกการเรียนรู้แบบนี้ก็จะติดตัวไป ทำให้เกิดทัศนคติกับเด็กๆว่าทุกอย่างมีคำตอบ

 

 

ครับผมก็ฝากการเรียนการสอนแบบผู้เรียนค้นพบคำตอบด้วยตนเอง คราวหน้าผมจะมาว่าด้วยชนิดของการเรียนรู้แบบDiscovery

 

 

Share this