Discovery Learningปฏิรูปรอบสอง
สมาชิกเลขที่6035 | 22 มิ.ย. 53
1.8K views

 

ครั้งที่แล้วผมได้เล่าถึงที่มาและพัฒนาการของการเรียนการสอนแบบผู้เรียนค้นพบคำตอบด้วยตนเองไปบ้างแล้ว ยิ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกรณีของนักเรียนมหิดลนุสรณ์ยิ่งทำให้ผมสื้อนใจและเชื่อว่าDiscovery Learningจะมีส่วนร่วมเป็นทางออกสำหรับการพัฒนาเด็กๆและการปฏิรูปการศึกษา

 

 

 

ยิ่งเรายังคงให้เด็กมุ่งสู่การแข่งขันกันที่”ความรู้”ว่าใครรู้มาก จำมากจะมีชัยชนะในการเรียนผมคิดว่าจะยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้เด็กเรียนแบบทุกข์มากกว่าสุข

 

 

 

ทั้งที่รู้ว่ารูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นอยู่ทำให้เด็กทุกข์ เครียด กดดันก็น่าจะหาทางนำรุปแบบการเรียนการสอนที่เด้กมีความสุข สนุกกับการเรียนรู้ ซึ่งผมเชื่อว่าDiscovery Learningเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพราะการเรียนรู้แบบนี้ไม่ได้มุ่งเน้น”ความรู้” แต่เน้นให้เด้กๆมีโอกาสใช้ทักษะและเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ที่จะหาคำตอบ หาความรู้ด้วยตัวเองมากที่สุด โดยมีครูหรือผู้ปกครองเป็นผู้ให้การสนับสนุน กระตุ้นส่งเสริม

 

 

 

Discovery Learningเป็นรูปแบบการเรียนที่พยายามให้เด็กรู้จักคิด สงสัย ใครรู้ อยากหาคำตอบแล้วได้มีโอกาสทดลอง ทดสอบ ใช้เครื่องมือรอบตัวในการหาคำตอบ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นคำตอบที่ถูกหรือผิด แต่อย่างน้อยทำให้เด็กรู้วิธีหาคำตอบด้วยตนเอง

 

 

 

เรามีบทเรียนมาตลอดว่าคำตอบอยู่ที่ตำรา อยู่ที่ครูหรือพ่อแม่บอก เราไม่ค่อยมีบรรยากาศให้เด้กตั้งคำถามในห้อง นอกห้องว่าทำไมถึงเรียกว่าไม้ขีด ไม้ขีดมันทำมาจากอะไร ทำไมมันต้องมีไม้ขีด แล้วไม้ขีดต้องเป็นแงหรือไม่ เช่นเดียวกับในเรื่องอื่นๆ เรามักจะบอกคำตอบทันที

 

 

 

เราอาจจะต้องกลับกันใหม่ไหมจากเดิมเราให้เด็กเรียนรู้แบบให้คำตอบ80-90%มาเป็นให้เด็กเรียนรู้หาคำตอบด้วยตัวเอง80-90%  ทำไมเราไม่เปิดโอกาส สร้างบรรยากาศให้เด็กไทยฝึกการคิด การสงสัย การตั้งคำถามให้มาก ทำไมเราไม่สร้างนิสัยให้เด็กอยากจะหาความรู้หรือคำตอบด้วยตัวเขาเอง

 

 

 

แต่Discovery Learningเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่จะไม่ยอมให้เด็กหยุดคิด หยุดถาม หยุดสงสัย

 

 

 

ผมถึงไม่แปลกใจที่ในอเมริกา ยุโรปบางประเทศเห็นดีเห็นงามกับการเรียนแบบนี้เพราะเท่ากับเป็นกระบวนการสร้างคนของเขาให้เป็นคนแสวงหาความรู้ แสวงหาคำตอบไม่จบสิ้น และนำไปสู่การประดิษฐ์ คิดค้น สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ

 

 

 

เขียนมาถึงตรงนี้เชื่อว่าทุกท่านจะเห็นด้วยกับการเรียนการสอนแบบนี้ แต่ถ้ายังนึกไม่ออก อยากให้ท่านลองเทียบคำตอบจากรายการทีวีชื่อ”กบนอกกะลา”นั่นแหละครับเป็นกระบวนการค้นหาคำตอบอย่างเป็นรูปธรรม เช่นการหาคำตอบว่า”เฉาก๊วย”มาจากไหน “ลูกชิด”มาจากไหน จะเห็นได้ว่าแต่ละเรื่องเริ่มจากความสงสัยใช่ไหมครับ อยากรู้อยากหาคำตอบสุดท้ายก็ผ่านกระบวนการมากมายจนพบคำตอบ

 

 

 

การเรียนรู้แบบDiscovery Learning จึงทำให้รู้คำตอบด้วยความเข้าใจมากกว่าการฟังมา การท่องตำรา ทุกอย่างรอบตัวเด็กมีความรู้คำตอบอยู่แล้วเพียงแต่เราปรับกระบวนการเรียนให้เด็กรู้วิธีการหาคำตอบแทนที่จะบอกคำตอบ

 

 

 

ถ้าเราบอกคำตอบไปหมดเด็กก้เลิกคิด เลิกสงสัย เลิกแสวงหาแล้วจะไปมีคุณภาพได้อย่างไร

 

 

 

แล้วเราจะว่ากันต่อในกระบวนการเรียนรู้แบบนี้กันต่อ

 

 

Share this