ประโยชน์ของกล้วย
สมาชิกเลขที่52894 | 18 เม.ย. 55
2.7K views

ประโยชน์ของกล้วย   

       เราคงจะไม่ปฏิเสธว่า "กล้วย" เกี่ยวข้องและเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนไทยนับตั้งแต่เกิดจนกระทั่ง สิ้นอายุขัย...

      ในสมัยโบราณ เมื่อสตรีจะคลอดบุตรมักจะมีการจัดเครื่องบูชาสำหรับหมอตำแยเพื่อทำพิธีกรรมที่เป็น มงคลแก่แม่ และลูกที่จะคลอดออกมา เครื่องบูชามักจะประกอบด้วย ขันข้าว ซึ่งบรรจุด้วยข้าวสาร เงิน และสิ่งของต่าง ๆ ได้แก่ หมาก พลู ธูป เทียน และในจำนวนนี้จะต้องมีกล้วยอยู่เสมอ

      เมื่อทารกอายุได้ประมาณ 3 เดือน และพร้อมที่จะรับประทานอาหารอื่นนอกจากนมแม่ได้แล้ว แม่จะเริ่มให้ลูกรับประทานกล้วยควบคู่กับนม เพราะเห็นว่ากล้วยเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง และเป็นอาหารที่ย่อยง่าย

      เมื่อลูกโตขึ้น แม่ก็จะพยายามประดิษฐ์ของเล่นให้ลูก ของเล่นเหล่านั้นส่วนหนึ่งก็มาจากกล้วย เป็นต้นว่า

  • นำก้านกล้วยมาทำเป็นปืนเด็กเล่น                        
  • นำก้านกล้วยมาทำเป็นม้าสำหรับขี่
  • นำใบตองมาม้วนทำเป็นปี่สำหรับเป่า
  • นำหยวกกล้วยมาทำเป็นทุ่น หรือแพ สำหรับหัดว่ายน้ำ

     ในวัยศึกษาเล่าเรียน กล้วย ก็เข้ามาสู่ห้องเรียนในลักษณะต่าง ๆ เช่น

  • ผูกเป็นปริศนาให้ทาย เช่น  "อะไรเอ่ย ต้นเท่าขา ใบวาเดียว"
  • ใช้เปรียบเทียบกับความงามของสุภาพสตรีในวรรณคดี เช่น  "เรื่องกามนิต-วาสิฏฐี ที่ว่า ขาเธองามดุจลำกล้วย"
  • ใช้ในคำพังเพยเปรียบเทียบการทำลายล้างเผ่าพันธุ์อย่างถอนรากถอนโคลน    "โค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก"
  • ใช้ในสำนวนหรือคำพังเพยแสดงความหมายว่าเป็นเรื่องง่าย ๆ เช่น  ง่ายเหมือนปลอกกล้วยเข้าปาก     เรื่องกล้วย ๆ กล้วยมาก

     ตลอดช่วงชีวิตมนุษย์  สามารถใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของกล้วย เช่น  ใช้เป็นอาหารคาว หวาน  ใช้ประดิษฐ์เป็ฯของใช้  ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรค

     ในงานบวช และงานมงคลต่าง ๆ  กล้วย มักจะถุนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของงานในลักษณะต่าง ๆ เสมอ เช่น

  • ใบตองกล้วย  ถูกนำมาใช้ประดิษฐ์เป็นบายศรีเป็นส่วนประกอบ ของพวงมาลัย
  • ก้านกล้วย และใบตอง  นำมาใช้เป็นกระทง 
  • กล้วยทั้งเครือ นำมาประดับบ้าน เวลามีงานมงคล

     เมื่อถึงคราวที่หนุ่ม สาวจะเข้าสู่พิธีแต่งงานกล้วยจะเป็นพืชชนิดหนึ่ง ที่มักจะนำมาใช้ เป็นส่วนประกอบของงานเสมอ เช่น

  • ใช้ต้นกล้วยเป็นส่วนประกอบในขบวนแห่ขันหมาก
  • ใช้ผลกล้วย ใบกล้วย ก้าน และหยวกกล้วย เป็นส่วนประกอบในการประกอบพิธีการต่าง ๆ

     ในการปลูกสร้างบ้านเรือนกล้วยจะเป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำพิธียกเสาเอกลงหลุมโดยเขามัก จะใช้หน่อกล้วยและต้นอ้อยผูกไว้ที่ปลายเสาเอกและเมื่อทำพิธียกเสาลงหลุมเสร็จก็จะปลดเอาหน่อกล้วย และต้นอ้อย ไปปลูกไว้ในบริเวณใกล้บ้าน พยายามประคับประคองให้เจริญงอกงามเพราะถือว่าเป็น เครื่องเสี่ยงทายความอุดมสมบูรณ์ของเจ้าของบ้าน 

      จวบจนกระทั่ถึงวาระสุดท้ายของชีวิต มนุาย์เราก็ยังเกกี่ยวข้องกับกล้วยอย่างมิเสื่อมคลาย ในสมัยก่อน เขามักใช้ใบตองมารองศพ ใช้ต้นกล้วยมาสลักหยวก(แทงหยวก) ประดิษฐ์ในเมรุ หรือโลงศพ ใช้ต้นกล้วย ใบตอง ทำฐานเสียบดอกไม้ประดับในงานศพ "กล้วยเจ้าเอ๋ย...เจ้ามิเคยห่างหายไปจากข้าเราผูกพันกับเจ้า ตลอดมา และตัวข้าจะลืมเจ้าได้ฉันใดเล่าเพื่อนเอย"

 

กล้วยกับคุณค่าทางโภชนาการ

          

         กล้วยมีสารอาหารหลายอย่างที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย มีทั้ง โปรตีน  วิตามิน  คาร์โบไฮเดรต  เกลือแร่  ฯลฯ   ซึ่งสามารถแสดงผลได้ดังนี้

ตารางแสดงส่วนประกอบของกรดอะมิโน  และโปรตีนในส่วนที่กินได้ 100 กรัม

โปรตีน(g)  และกรดอะมิโน(mg)

กล้วยน้ำว้า

กล้วยไข่

นมแม่

ไข่

โปรตีน

1.0

1.6

1.0

13.3

กรดอะมิโนทั้งหมด

596

1169

1111

8533

กรดอะมิโนที่จำเป็นทั้งหมด

261

514

522

4020

ไอโซลูซิน

28

55

64

465

ลูซิน

45

96

108

707

ไลซิน

36

97

83

631

กรดอะมิโนที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบทั้งหมด

12

21

36

489

เมทิโอนิน

3

9

16

243

ซิสตีน

9

12

20

246

กรดอะมิโนที่มีสูตรโครงสร้างเป็นวง

49

115

84

694

เฟนิลาลานิน

30

52

43

402

ไทโลซิน

19

63

41

292

และทีรโอนิน

36

50

63

357

ทริพโตแฟน

18

26

25

193

วาลิน

37

54

59

484

กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น

 

 

 

 

อารจินิน

31

71

49

626

ฮิสติดีน

31

157

30

192

อลานิน

35

52

43

410

กรดแอสปาติค

69

103

102

1037

กรดกลูตามิค

66

113

189

1087

ไกลซิน

34

54

27

245

โปรลิน

31

47

94

312

ซิริน

38

56

55

604

กรดอะมิโนที่มีน้อยที่สุด

S - c*

S - c

S - c

-

  S - c   =  กรดอะมิโนที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบ

 

 

Share this