
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า
"ปุญฺญญฺเจ ปุริโส กยิรา กยิราเถนํ ปุนปฺปุนํ
ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย
ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย
ถ้าบุรุษจะพึงทำบุญไซร้ ควรทำบุญนั้นบ่อยๆ
ควรทำความพอใจในบุญนั้น เพราะการสั่งสมบุญนำสุขมาให้"
ควรทำความพอใจในบุญนั้น เพราะการสั่งสมบุญนำสุขมาให้"
คำว่า "บุญ" แปลว่า สิ่งที่ชำระกาย วาจา ใจ ให้สะอาด ปราศจากความชั่วน้อยใหญ่ ทั้งหลายทั้งปวง คนมีบุญ ก็ได้แก่ คนมี กาย วาจา ใจ อันสงบระงับ แล้วจากบาป คนเราเกิดมา ถ้าทำอะไรลงไปแล้ว ประสบผลสำเร็จ มีแต่ความเจริญก้าวหน้าในชีวิต ไม่ผิดอะไรกับเนรมิต บุคคลประเภทนี้ สำนวนทางศาสนา เรียกว่า "คนมีบุญ" บุญ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จะเนรมิตเอาอะไรก็ได้ ถ้าเป็นคนมีบุญ คนมีบุญ ศัพท์ทางศาสนาเรียกว่า "ปพฺเพกต ปุญฺญตา" แปลว่า ความเป็นผู้มีบุญ ได้ทำไว้แล้วในกาลก่อน ถือเอาความง่าย ๆ ก็ได้แก่ "คนมีบุญ" นั่นเอง
สำนวนไทย พูดกันทั่วไปว่า "คนมีบุญ ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้" หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "บุญวาสนา" ซึ่งเรามักจะพูดกันเสมอ ในเวลาได้ดิบได้ดี มีความเจริญก้าวหน้าว่า เป็นเพราะ บุญมาวาสนาส่ง ตรงกับสำนวนของ วิสาขามหาอุบาสิกาว่า "บุญเก่า" และ อีกสำนวนหนึ่ง ซึ่งเรามักจะพูดกันในเชิงเตือนสติ คนมักใหญ่ใฝ่อำนาจ ว่า "แข่งอะไร ก็แข่งได้ แต่แข่งบุญวาสนา นั้นแข่งยาก" สำนวนเหล่านี้ ชี้บอกถึง "คนมีบุญ" นั่นเอง เป็นอันได้ความว่า คนเรานี้ ถ้าได้สั่งสมอบรมความดีไว้ในกาลก่อน ก็ส่งผลสะท้อนให้เกิดความเจริญก้าวหน้า ในชีวิตปัจจุบัน ไม่ว่าจะประกอบกิจการงานอะไรลงไป ก็ดำเนินไปด้วยความราบรื่น ปราศจากอุปสรรค ขัดขวางทุกประการ ดังนั้น คนเราจึงควรทำบุญกันไว้ให้มาก ๆ ถ้าอยากเกิดมาเป็น "คนมีบุญ"
บุญ คือ อะไร บุญ เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่ง ซึ่งปรุงแต่งจิตใจ ของคนเรา ให้ผ่องใสสะอาด ธรรมชาติ ชนิดไหนก็ตาม ถ้าปรุงแต่งจิตใจให้ดี ปรุงแต่งจิตใจให้สูงขึ้นด้วยคุณธรรม ธรรมชาติชนิดนั้นเรียกว่า "บุญ" ส่วนธรรมชาติชนิดไหน ที่ทำจิตใจให้ต่ำลง ให้เลวลง ทำให้จิตใจเสื่อมจากคุณธรรม ธรรมชนิดนั้น เรียกว่า "บาป"
บุญ เป็นธรรมชาติฝ่ายดี สำหรับชำระล้างจิตใจให้ผ่องใสสะอาด ธรรมชาติของจิตนั้น มีคุณลักษณะพิเศษ คือ สามารถสั่งสม เก็บรักษาความดีที่เราทำด้วย กาย วาจา ใจ เข้าไปรวมไว้ที่จิตใจ ถ้าคนเราทำแต่ความดี ทำแต่บุญกุศล ก็ส่งผลให้จิตใจ มีคุณภาพดี ด้วยเหตุนี้ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าของเรา จึงทรงเตือนให้ทุกคน เว้นจากความชั่ว ทำแต่ความดี ชำระจิตใจให้สะอาด คนเราจะเป็น "คนมีบุญ" ก็ต้องอาศัยการบำเพ็ญคุณความดี ไม่ใช่ว่า อยู่เฉย ๆ แล้ว บุญวาสนาก็จะเกิดขึ้นเอง โดยปราศจากเหตุ พระพุทธองค์ ทรงตรัสว่า "ธรรมทั้งหลาย มีเหตุเป็นแดนเกิด" เหตุดี ผลดี เหตุชั่ว ผลชั่ว
คนเรา จะเป็น "คนมีบุญ" ก็ต้องอาศัยการสร้างกุศล คุณงามความดี มีการให้ทาน การรักษาศีล การเจริญภาวนา เป็นต้น ทาน ศีล ภาวนา นั้นแหละ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ส่งให้คนเราเกิดมาเป็น "คนมีบุญ" การให้ทาน เป็น การชำระจิตของคนให้สะอาด ปราศจากความตระหนี่ เห็นแก่ตัว ทำให้คนมีจิตใจกว้างขวาง โอบอ้อมอารี รู้จักจุนเจือ เผื่อแผ่ ช่วยสงเคราะห์ คนอื่น ด้วยการให้ การแบ่งปัน อันเป็นการปราบกิเลสสายโลภะ ความโลภมาก อยากไม่มีเพียงพอ การรักษาศีล เป็นการชำระจิตใจ ให้สะอาด ปราศจากความโหดร้ายทารุณ ปลูกฝัง เมตตา ความรักใคร่ ปรารถนาให้คนอื่น และ สัตว์อื่นมีความสุขทั่วหน้ากัน อันเป็นการปราบกิเลสสายโทสะ ความโหดร้ายทารุณ ให้สูญไปจากจิตใจ
การ เจริญภาวนา เป็น การสร้างปัญญา ให้เกิดขึ้นในดวงจิต กำจัดความมืดมิดที่ปกปิดดวงใจ ให้ลุ่มหลงมัวเมา เข้าใจผิด เห็นผิด สำคัญผิด และ หลงผิดในรูปนาม ปราบปรามกิเลสสายโมหะ คือ ความโง่เขลาเบาปัญญา ให้หมดไป เหลือไว้แต่ความสงบ ความสะอาด ความสว่าง อันเป็นทางก่อให้เกิดสติปัญญา นอกจาก ศีล ทาน ภาวนา ดังที่กล่าวมานี้แล้ว ก็ยังมีธรรมชาติที่เป็นบุญ เป็นกุศล เป็นคุณงามความดีอีกหลายอย่าง ที่คนเราควรจะสร้างให้เกิดมีขึ้น เพราะ ความดีทุกชนิด ที่คนเราทำไปแล้วนั้น ก็จะไปรวมกันอยู่ที่จิตใจ ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน สำเร็จแล้วด้วยใจ ใจเป็นผู้สั่งสม เก็บรักษาความดี ที่คนเราทำแล้ว ไม่ให้เสื่อมเสียไป เหมือนขุนคลัง รักษาเรือนคลัง ให้ปลอดภัย
ถ้า คนเราไม่มีบุญ วาสนา แม้จะถือกำเนิดเกิดในตระกูลผู้ดี ก็มีอันให้เป็นไป คือ อยู่ในตระกูลนั้นไม่ได้ ถูกขับไล่ไสส่ง เพราะ ตัวเป็นคนกาลกิณี อยู่กับคนดีเขาไม่ได้ เหมือนกับเมล็ดผลไม้ที่ปราศจากเชื้อไม่มียาง ไม่มีทาง เพราะ ให้งอกขึ้นได้ แม้พื้นที่จะอุดมสมบูรณ์ อุณหภูมิเหมาะสมก็ตาม
สิริ คือ สิ่งที่เป็นมงคล ส่งผลให้เจริญก้าวหน้า ย่อมมิได้เกิดขึ้นได้ อยู่กันได้ เฉพาะกับ "คนมีบุญ" เท่านั้น คนไม่มีบุญ เมื่อได้รับสิ่งที่เป็นมงคล กลับได้รับผลเป็นความทุกข์ ส่วนคนมีบุญ เมื่อได้รับสิ่งอันเป็นมงคล ย่อมประสบผล คือ ความสุข
อนึ่ง เพราะเหตุที่เป็นคนไม่มีบุญอีกเหมือนกัน แม้คนอื่นจะให้สิ่งที่เป็นสิริมงคล ตนเองก็รับไว้ไม่ได้ สิ่งที่เป็นสิริมงคลนั้น ย่อมเกิดขึ้นกับ "คนมีบุญ" เท่านั้น เพื่อเป็นการยืนยันความจริงข้อนี้ โปรดฟังเรื่องราวประกอบดังต่อไปนี้
เรื่อง บุรุษ ผู้มีบุญวาสนา ในอดีตกาล มีพราหมณ์ ๔ คนพี่น้อง อาศัยอยู่ในกรุงพาราณสี ต่อมา พากันออกบวชเป็นดาบส สร้างศาลาอยู่ในป่าหิมวันตประเทศ บรรดาดาบสสี่พี่น้องเหล่านั้น ดาบสผู้พี่ชายใหญ่ได้ทำกาละ แล้วไปเกิดเป็นท้าวสักกะเทวราช ผู้เป็นใหญ่อยู่ในสรวงสวรรค์ ท้าวเธอทรงทราบเหตุการณ์ ที่ผ่านมาว่า น้องชายทั้งสาม ยังมีชีวิตบำเพ็ญสมณกิจอยู่ในหิมวันตประเทศ วันหนึ่ง ท้าวสักกะจึงเสด็จลงไปหาดาบสผู้เป็นหัวหน้า ทรงไหว้ท่านแล้วตรัสถามว่า "ท่านผู้เจริญ พระคุณท่านต้องการอะไรหรือไม่ มีอะไรที่กระผมจะรับใช้ได้ กรุณาบอกมาเถิด พระคุณเจ้า"
ดาบสนั้น เป็นโรคผอมเหลือง ดังนั้น จึงแจ้งเรื่องให้ทราบว่า "อาตมาต้องการไฟ"
ท้าว สักกะ ตรัสว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าหากว่าท่านต้องการไฟ ขอให้ท่านใช้มือเคาะพร้าโต้เล่มนี้" พร้อมกับกล่าวว่า "เจ้าจงนำไฟมาให้ฉันเถิด" พอกล่าวจบ พร้าโต้เล่มนี้ ก็จักนำไฟมาให้ท่านตามต้องการ" แล้วท้าวสักกะได้ประทานพร้าโต้ให้ดาบสนั้น
จาก นั้น ท้าวสักกะ ได้เสด็จไปหาดาบสคนที่ ๒ แล้วตรัสถามถึงความต้องการของท่าน เนื่องจากใกล้ ๆ บรรณศาลาของดาบสตนนั้น มีทางช้างเดินผ่านไปมา ดาบสถูกฝูงช้างรบกวนไม่เว้นแต่ละวัน ทำอย่างไรจึงจะป้องกันไม่ให้ช้างมันมารบกวนได้ ท้าวสักกะตรัสว่า "ท่านผู้เจริญ กระผมจะให้กลองใบนี้แก่ท่าน กลองใบนี้มีฤทธิ์มีอำนาจมาก หากท่านตีกลองหน้านี้ เหล่าศตรูหมู่ปัจจามิตร ที่คิดร้ายต่อท่าน ก็จะหนีไปหมด หากท่านตีกลองหน้านี้ เสนามีองค์ ๕ คือ ช้าง ม้า รถ บทจร จักมาอารักขาห้อมล้อมท่านไว้ให้ปลอดภัย " แล้วท้าวสักกะ ได้ประทานกลองให้แก่ดาบสคนที่ ๒
ตอน สุดท้าย ท้าวสักกะได้เสด็จไปหาดาบสคนที่ ๓ แล้วตรัสถามเหมือนกัน ดาบสนั้นก็เป็นโรคผอมเหลือง จึงต้องการนมส้ม ท้าวสักกะ ได้ประทนนมส้มหม้อหนึ่ง แก่ดาบสนั้น ตรัสแก่ท่านว่า "ถ้าปรารถนา พึงคว่ำหูหม้อนมส้มใบนี้ลงไป นมส้มก็จะไหลออกมาตามที่ท่านต้องการ " รับสั่งเสร็จ ท้าวเธอก็เสด็จหลีกไป
แต่ นั้นมา พร้าโต้เล่มนั้น ก็ก่อไฟให้แก่ดาบสผู้เป็นหัวหน้า ดาบสตนที่สองก็ตีกลองตามที่ท้าวสักกะรับสั่ง ฝูงช้างทั้งหลายก็พากันแตกพ่ายหนีไป ดาบสคนที่สามก็ฉันนมส้ม โรคผอมเหลืองก็หายเป็นปกติ
ครั้ง นั้นยังมีสุกรตัวหนึ่ง เที่ยวแสวงหาอาหารไปในหมู่บ้านเก่า ๆ หลายร้อยหลายพันปี เห็นดวงแก้วมณีอันมีอานุภาพ จึงคาบเอาแล้วเหาะขึ้นอากาศ ด้วยอำนาจอานุภาพของแก้วมณี นั้น ไปพบเกาะแห่งหนึ่งท่ามกลางมหาสมุทร จึงลงหยุดพักภายใต้ต้มมะเดื่อบนเกาะนั้น
วัน หนึ่ง สุกรตัวนั้นได้วางดวงแก้วมณีไว้ข้างหน้าแล้วม่อยหลับไป ที่โคนต้นมะเดื่อนั้น ขณะนั้นมีบุรุษชาวแคว้นกาสีคนหนึ่ง เป็นกะลาสีเรือเดินสมุทร เมื่อเรืออับปางกลางสมุทร เขาคว้าได้ไม้กระดานแผ่นหนึ่งยึดเอาเป็นที่พึ่ง ลอยไปจนถึงเกาะที่สุกรตัวนั้นพักอยู่ เขาแสวงหาผลหมากรากไม้ในเกาะนั้นเป็นอาหารด้วยความหิว ก็พอดีเหลือบไปเห็นแก้วมณี วางอยู่ข้างหน้าสุกร ซึ่งกลังนอนหลับอยู่ เขาจึงค่อย ๆ เดินเข้าไปฉวยเอาดวงแก้วมณี แล้วเหาะขึ้นสู่อากาศด้วยอำนาจ ของดวงแก้วมณีนั้น ขึ้นไปนั่งอยู่บนกิ่งมะเดื่อ เหนือหัวสุกรตัวนั้น แล้วคิดในใจว่า "สุกรตัวนี้ ชะรอยจะเที่ยวไปในอากาศ ด้วยอำนาจแก้วมณี แล้วจึงมานอนหลับอยู่ที่นี่ อย่ากระนั้นเลย เราฆ่าสุกรตัวนี้กินเป็นอาหารแล้วจึงเหาะไปที่อื่นดีกว่า" ว่าแล้ว จึงหักกิ่งไม้โยนลงไปที่ศีรษะสุกรซึ่งกำลังนอนหลับ สุกรตื่นขึ้นไม่เห็นดวงแก้วมณี เที่ยวซมซานไปข้างนี้ข้างโน้น พลันบุรุษที่นั่งอยู่ก็หัวเราะเยาะ อย่างชอบใจ สุกรแหงหน้าขึ้นไปข้างบนเห็นชายคนนั้นเข้า จึงมีความเสียใจเอาหัวชนต้นมะเดื่อตาย เพราะ เสียดายแก้วมณี
ชาย คนนั้นลงจากต้นไม้ ก่อไฟปิ้งเนื้อสุกรกินอย่างอิ่มหนำสำราญ แล้วก็เหาะไปทางอากาศ ด้วยอำนาจแก้วมณี เรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า ชายคนนั้นเป็น "คนมีบุญ" ตกน้ำไม่ไหล คือ เมื่อเรืออับปาง กลางมหาสมุทร เขาก็เอาตัวรอดมาได้ ในขณะที่คนอื่นตกเป็นเหยื่อแห่งพญามัจจุราช กันหมด แล้วยังมาได้ดวงแก้วมณี อันมีค่ามากจากสุกร เพราะตัวเองไม่มีบุญ จึงสูญเสียดวงแก้วมณีอันมีอานุภาพ
คนไม่มีบุญ มีศีลปะก็ตาม ไม่มีศีลปะก็ตาม มีความขวนขวาย รวบรวมทรัพย์ไว้ เป็นอันมาก
คนมีบุญ เท่านั้น ย่อมใช้จ่าย บรโภคทรัพย์เหล่านั้น ทรัพย์สมบัติ เป็นอันมาก ไม่เกิดขึ้นกับคนเหล่าอื่น.
ย่อมเกิดขึ้น แก่ "คนมีบุญ" ในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ ฯ