เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต มีการพัฒนาที่ดีขึ้นเรื่อยๆ และมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว สร้างประโยชน์และนำมาซึ่งความสะดวกสบาย ลดเวลา ลดขั้นตอน ลดการเดินทาง รวมทั้งโอกาสทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล ขณะเดียวกันอินเทอร์เน็ตก็ส่งผลกระทบต่อการสื่อสาร ความสัมพันธ์ และนำมาซึ่งปัญหาทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และสังคมในที่สุด เพราะในปัจจุบัน มีประชากรบนโลกอินเทอร์เน็ตกว่า 5,000 ล้านคน ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงกลายเป็นพื้นที่ความขัดแย้งและภัยคุกคามต่างๆ มากมายเช่นกัน จากรายงานพบว่าภัยคุกคามบนโลกอินเทอร์เน็ตมีรูปแบบหลากหลาย ปริมาณเพิ่มสูงขึ้นทุกปี และ ทวีความรุนแรงมากขึ้น สร้างความเสียหาย ทั้งทางเศรษฐกิจและทางสังคม จนบางครั้งอาจจะมีความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต อินเทอร์เน็ต ในปัจจุบันจึง “เปรียบเสมือนเป็นดาบสองคม”
กลุ่มทรู สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และภาคีเครือข่าย มีความห่วงใยและตระหนักถึงความสำคัญของการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตและการใช้ชีวิตในโลกออนไลน์อย่างปลอดภัยให้กับประชาชนทุกกลุ่ม โดยได้ร่วมพัฒนาสื่อและข้อมูลความรู้ ภายใต้หลักสูตร “รู้ทันโลกออนไลน์” เพื่อนำเสนอเนื้อหาการเรียนรู้ด้วยสื่อที่พัฒนาขึ้นในรูปแบบคลิปวิดีโอ ซึ่งเป็นกรณีศึกษาของภัยคุกคามในรูปแบบต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในโลกออนไลน์ พร้อมแบบทดสอบ ผ่านแพลตฟอร์ม True VLEARN (VCOURSE,VCLASS) เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการรณรงค์ ความตระหนักรู้ถึงภัยคุกคามและการป้องกันภัยในโลกออนไลน์ให้กับคนไทยในทุกกลุ่ม โดยมีเนื้อหาความรู้ แบ่งกลุ่มตามรูปแบบของภัยคุกคามต่างๆ ดังต่อไปนี้
หรือ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ คือ การนำเครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีและกระบวนการที่รวมถึง วิธีการปฏิบัติที่ถูกออกแบบไว้เพื่อป้องกันและรับมือที่อาจจะถูกโจมตีเข้ามายังอุปกรณ์เครือข่าย, โครงสร้างพื้นฐานทางสารสนเทศ, ระบบหรือโปรแกรมที่อาจจะเกิดความเสียหายจากการที่ถูกเข้าถึงจากบุคคลที่สามโดยไม่ได้รับอนุญาต
คือ "การระรานทางไซเบอร์" หมายถึง การกลั่นแกล้ง การให้ร้าย การด่าว่า การข่มเหง หรือการรังแกผู้อื่นทางสื่อสังคมต่าง ๆ เช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์
หรือ สื่อสังคม (ออนไลน์) คือ แพลตฟอร์มดิจิทัลที่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแบ่งปันเรื่องราวกับสาธารณชนผ่านอินเทอร์เน็ต โดยผู้ให้บริการ social media รายใหญ่ที่รู้จักกันดี ได้แก่ Facebook, YouTube, Instagram, TikTok และ Twitter.
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ IT
พ.ร.บ. ว่าด้วยเรื่องการประทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โน็ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมไปถึงระบบต่าง ๆ ออกมาเพื่อป้องกัน และควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้การใช้คอมพิวเตอร์ หากผู้ใดกระทำผิดก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่ พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ 2560 กำหนดไว้ อาทิ
Fake News หมายถึง ข่าวที่ไม่จริง และยังรวมถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่ไม่เป็นความจริงด้วย ผู้ผลิตข่าวเท็จ บิดเบือน และนำเผยแพร่บนโซเชียล เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 คือนำข้อความเท็จเข้าระบบคอมพิวเตอร์ อันก่อให้เกิดความเสียหาย สร้างความตื่นตระหนก กระทบต่อสังคม มีโทษจำคุกไม่เกิน
5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ขอขอบพระคุณ องค์กรความร่วมมือ