5 วิธีลืมเรื่องกลุ้มใจ เมื่อเครียดจนหาทางออกไม่เจอ
Posted By Plook Magazine | 17 ม.ค. 65
13K views

Shares
0

กลุ้มใจจัง มีเรื่องเครียดที่คิดไม่ตก หาทางออกไม่เจอ จะทำยังไงดี ? Plook Friends ขอแชร์วิธีลืมเรื่องกลุ้มใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็สามารถทำตามได้ง่าย ๆ ถือเป็นวิธีบรรเทาความเครียดแบบเบสิค อย่าให้เรื่องกลุ้มใจมาครอบงำตัวเราจนป่วยใจ มาทำให้ใจเราผ่อนคลายขึ้นกันดีกว่า !

 

 

 

ออกจากบรรยากาศเดิม ๆ

การเปลี่ยนบรรยากาศ หรือลุกเดินออกไปข้างนอก จะช่วยให้เราคลายจากความเครียดได้ เมื่อรู้ตัวว่ามีเรื่องกลุ้มใจจนคิดไม่ตกก็ลองเปลี่ยนบรรยากาศ เช่น ออกไปเดินเล่นข้างนอก ออกไปเจอเพื่อน ๆ หรือออกไปยืนมองท้องฟ้าหน้าบ้านก็ได้ การลุกออกมาจากสภาวะแวดล้อมเดิม ๆ จะทำให้เราหยุดคิดเรื่องฟุ้งซ่านนั้นและทำให้เรารู้สึกดีขึ้นได้


 

พาตัวเองไปสู่โลกแห่งจินตนาการ

หนังหรือซีรีส์ดี ๆ สักเรื่อง นิยายหรือหนังสือการ์ตูนที่เราชอบจะช่วยให้ลืมเรื่องกลุ้มใจได้ดี แนะนำว่าให้เลือกดูหรืออ่านตามสไตล์ที่ชอบ เพราะมันจะช่วยให้เราดำดิ่งสู่โลกแห่งจินตนาการจนลืมความเครียดได้ ส่วนใครที่ไม่รู้ว่าจะดูหรืออ่านอะไรดี เราก็มีมาแนะนำตามนี้ 

แนะนำ 11 ตอนสุดคลาสสิกของ “โดราเอมอน เดอะมูฟวี่” ที่พลาดไม่ได้

รวมภาพยนตร์แนว Bully ที่เปลี่ยนแรงแค้นให้เป็นพลังบวก

หิวข้าวไปด้วยกัน ! รวมอนิเมะทำอาหารน่าดู การันตีความสนุกเต็มสิบ

รวมมังงะขึ้นหิ้ง ดีจนได้รับเลือกให้เป็นหนังสืออ่านนอกเวลาในญี่ปุ่น

แนะนำหนังสือช่วยเพิ่ม Self-Esteem ที่ #ไอดอลอ่าน

รวม WEBTOON อ่านสนุก เนื้อเรื่องน่าติดตาม

 

 

 

ใช้วิธีรุกเพื่อลืม (active forgetting)

หากรู้สึกว่าตัวเองจมดิ่งอยู่กับเรื่องกลุ้มใจและอยากจะลืมมัน การผลักเรื่องเครียด ๆ ทิ้งไปด้วยวิธี ‘รุกเพื่อลืม’ (active forgetting) จะช่วยให้เราลืมเรื่องที่ไม่อยากจำได้จริง ๆ โดยมีขั้นตอนดังนี้ เมื่อสมองนึกถึงเรื่องเครียดให้ผลักมันออกไป หรือคิดซ้ำ ๆ ในใจว่า ‘พอแล้ว ไม่อยากคิดเรื่องนี้อีกแล้ว’ ทำแบบนี้ซ้ำ ๆ ไปเรื่อย ๆ สุดท้ายเรื่องเครียดที่ไม่อยากจำจะค่อย ๆ เลือนหายไป

Tips: วิธีนี้จะให้ฟีลเหมือนเวลาเราพยายามท่องจำอะไรสักอย่าง ก็คือเราจะต้องคิดย้ำ ๆ ซ้ำ ๆ ในใจ จะเหมือนการท่องจำนั่นแหละ แต่จะเป็นท่องจำเพื่อให้เราลืมแทนที่จะจำ


 

จินตนาการถึง Happy Place

Happy Place เปรียบเหมือนโลกในจินตนาการที่เราคิดขึ้นมาเอง อาจจะเป็นสถานที่จริงที่เราเคยไปมาแล้วชอบมากหรือจะเป็นโลกแห่งความฝันที่คิดขึ้นมาเองก็ได้ เมื่อรู้สึกกลุ้มใจมาก ๆ ให้ลองนึกภาพ ฟีลจะเหมือนฝันกลางวันว่าเราอยู่ใน Happy Place สัก 2-3 นาที การทำแบบนี้จะช่วยเปลี่ยนอารมณ์และทำให้ลืมเรื่องเครียด ๆ ได้ดีมาก แถมยังเป็นการพัักสมอง ช่วยเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย 


 

เมื่อคิดไม่ตกก็กลุ้มซะให้พอ

สำหรับบางคนที่ลองทำมาทุกวิธีแล้ว แต่สุดท้ายก็ยังไม่หายกลุ้มใจ ยังคิดไม่ตกซ้ำ ๆ มูฟออนต่อไปไม่ได้ซะที เอาเป็นว่าเมื่อเลิกคิดไม่ได้ก็คิดถึงเรื่องนั้นให้เต็มที่ไปเลย เพราะเมื่อมันคิดจนเบื่อหรือทนไม่ไหวแล้ว สุดท้ายเราจะหายกลุ้มใจไปเอง หรือมันอาจจะนำไปสู่การคิดหาวิธีแก้ไขปัญหาแบบใหม่ ๆ หรือคิดเยอะจนตกผลึกเป็นการคิดนอกกรอบก็ได้นะ  


 

นอกจาก 5 วิธีนี้แล้ว ก็ยังมีวิธีลืมเรื่องกลุ้มใจอีกมากมาย เช่น ออกกำลังกายเพื่อให้ฮอร์โมนแห่งความสุขหลั่งออกมามากขึ้น หรือจะเป็นการฝึกสมาธิเพื่อให้เรามีสติรู้ทันความคิดและอารมณ์ของตัวเอง คำแนะนำคือลองหาวิธีที่ทำแล้วเข้ากับตัวเอง อย่ากดดันตัวเองมากเกินไป หรือกดอารมณ์เอาไว้และไม่ยอมแสดงออกเลย ค่อย ๆ หาแนวทางของตัวเอง แล้วสุดท้ายเราจะค้นพบวิธีผ่อนคลายความเครียดที่ดีต่อตัวเราแน่นอน

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เข้าใจสมองต่อ 'การคิดมาก' แล้วจะเลิกเป็นคนคิดมากได้ดีขึ้น

อยากลืม ไม่อยากจำแล้ว...มาดูวิธีลบความทรงจำ ลบยังไงให้ลืมไปเลย

เมื่อสิ่งที่คิดไม่เป็นไปตามที่หวังไว้ เราจะรับมือกับความผิดหวังยังไงดี

วิธีรับมือกับความเจ็บปวดและความเครียด เมื่ออารมณ์ดำดิ่งจนเกินรับไหว

วิธีลดความกดดันในตัวเอง เมื่อคนรอบข้างคาดหวังมากเกินไป

9 วิธีเพิ่มความเข้มแข็งให้ตัวเอง ไม่หวั่นไหวแม้เจอเรื่องยาก ๆ

คิดบวกมากไปก็ไม่ดีนะ เข้าใจความน่ากลัวของ Toxic Positivity

ก้าวผ่านช่วงเวลายาก ๆ ด้วยข้อคิดดี ๆ ที่จะช่วยให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ

30 วิธีเพิ่มความบันเทิงให้ตัวเอง ในช่วงที่รู้สึกสิ้นหวังและหดหู่มาก ๆ

วิธีปลอบโยนหัวใจตัวเอง ในวันที่รู้สึกเหนื่อยล้าแสนสาหัส

3 วิธี ‘ฝึกสมาธิ’ เรียกคืนสติในทุกสถานการณ์

เพิ่มเวลาออฟไลน์ ลดความเครียดกับ ‘Social Media Detox’

Teen’s Guide ทุกปัญหาของวัยรุ่นมีทางออกเสมอ


 

แหล่งข้อมูล

- Watch: How to Forget Things on Purpose

- 8 Ways To Forget Your Troubles

- Where Is Your Happy Place?

 
 

 

เว็บไซต์ปลูกเฟรนส์ดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป

Tags