Growth Mindset ถูกพูดถึงครั้งแรกในปี 1999 โดยแครอล ดเว็ค (Carol Dweck) นักจิตวิทยาหญิงชาวอเมริกันผ่านหนังสือที่ชื่อว่า Self-theories: Their role in motivation, personality and development ต่อมาอีก 7 ปี ในปี 2006 ด็อกเตอร์ดเว็คก็ได้พัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับกรอบความคิดหรือ Mindset ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยเธอค้นพบว่าความสำเร็จในชีวิตขึ้นอยู่กับความคิด 2 แบบ ดังนี้
Fixed Mindset กรอบความคิดแบบจำกัด
เชื่อว่าคนเราเกิดมาทำได้แค่นี้ เชื่อว่าศักยภาพ ความสามารถต่าง ๆ เป็นผลมาจากพันธุกรรมหรือสิ่งที่ติดตัวมาแต่เนิด ถ้าทำได้ไม่ดีก็คือทำไม่ได้ ส่งผลให้เป็นคนไม่ชอบความท้าทาย เจออะไรยาก ๆ ก็จะเลิกทำไปเลย เทโครมทันที
Growth Mindset กรอบความคิดแบบเติบโต
เชื่อว่าคนเรานั้นเรียนรู้ เปลี่ยนแปลง และพัฒนาตัวเองได้เสมอ ซึ่งกรอบความคิดแบบเติบโตนี้จะนำไปสู่แรงจูงใจให้ผู้ที่มีกรอบความคิดประเภทนี้แสวงหาโอกาสในการพัฒนาตนเองตลอดเวลา เป็นคนไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง ชอบเรียนรู้
คนที่มีกรอบความคิดจำกัด Fixed Mindset
• เชื่อว่าเชาวน์ปัญญาเป็นสิ่งตายตัว
• หลีกหนีความท้าทาย
• เลิกล้มความตั้งใจง่าย ๆ
• มองความพยายามว่าไม่มีประโยชน์
• ไม่สนใจคำวิจารณ์ที่มีประโยชน์
• รู้สึกกลัวต่อความสำเร็จของผู้อื่น
คนที่มีกรอบความคิดเติบโต Growth Mindset
• เชื่อว่าเชาวน์ปัญญาสามารถพัฒนาได้
• ชอบความท้าทาย ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
• ยังทำสิ่งนั้นต่อไปแม้เผชิญความล้มเหลว
• มองความพยายามว่าเป็นหนทางไปสู่ความรอบรู้
• เรียนรู้จากคำวิจารณ์ที่มีประโยชน์
• หาแบบอย่างและแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของผู้อื่น
สรุปได้ว่ากรอบความคิดแบบจำกัด Fixed Mindset จะทำให้คนเราประสบความสำเร็จแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ ส่วนกรอบความคิดแบบเติบโต Growth Mindset จะทำให้คนเราพัฒนาแบบก้าวกระโดดและประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะไม่มีต้นทุนในชีวิตมากมายก็ตาม ที่สำคัญคือผู้ที่มีกรอบความคิดเติบโตมีแนวโน้มที่จะเสี่ยงต่ออาการทางจิตเวช เช่น ภาวะซึมเศร้าน้อยกว่าผู้ที่มีกรอบความคิดจำกัด จะเห็นได้ว่าแนวคิดแบบเติบโตไม่เพียงแต่มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ในห้องเรียนเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญต่อการพัฒนาอารมณ์และสุขภาพจิตให้ดีอีกด้วย
เข้าใจว่าศักยภาพของสมองพัฒนาได้ตลอด
สมองของคนเราสามารถพัฒนาได้ตลอดชีวิต เมื่อไหร่ที่เราเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ก็จะเกิดการส่งสัญญาณจากเซลล์ประสาทตัวหนึ่งไปยังเซลล์ประสาทส่วนอื่น ๆ เชื่อมต่อเป็นโครงข่ายใยประสาท ยิ่งเราไม่ยอมแพ้เรียนรู้มาก ฝึกฝนมาก โครงข่ายประสาทก็จะเชื่อมต่อกันจนแข็งแรงมากขึ้น ในขณะเดียวกันหากเราไม่ฝึกฝน ไม่เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การเชื่อมต่อโครงข่ายใยประสาทก็จะถูกทำลายไป ทำให้สมองทำงานในเรื่องนั้น ๆ แย่ลงได้ เพราะสมองก็เหมือนกล้ามเนื้อ ที่หากเราออกกำลังกายบ่อย ๆ กล้ามเนื้อก็จะแข็งแรง แต่ถ้าเราไม่ค่อยออกกำลังกายกล้ามเนื้อก็จะเริ่มฝ่อลงนั่นเอง
ตั้งเป้าหมายให้ตัวเอง
การรู้จักตั้งเป้าหมายให้กับตัวเองไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตามจะช่วยให้เรารู้สึกเป็นเจ้าของและรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตัวเอง ทำให้เกิดความรักในการเรียนรู้และเข้าใจว่าการตั้งเป้าหมายสำคัญยังไง ที่สำคัญการตั้งเป้าหมายจะช่วยให้เรามองภาพกว้าง ช่วยสร้างแรงจูงใจในการเรียน ช่วยกำกับทิศทางของเป้าหมาย เป้าหมายระยะยาวจะทำให้เราไม่ท้อ ส่วนเป้าหมายระยะสั้นจะทำให้เรามีความชัดเจน ง่ายต่อการประเมินและมองเห็นความเป็นไปได้
เปลี่ยนมุมมองต่อความผิดพลาดใหม่
มุมมองที่เรามีต่อความผิดพลาดจะส่งผลต่อความคิดให้เป็นได้ทั้งความคิดจำกัดและความคิดเติบโต หากเรากลัวความผิดพลาดนั่นหมายความว่าเรากำลังมีความคิดแบบจำกัด แต่การมองเห็นโอกาสในความผิดพลาดจะช่วยให้เราพัฒนาความคิดแบบเติบโตได้ เช่น การตอบผิดไม่ใช่เรื่องน่าอาย การสอบตกไม่ใช่ว่าเราโง่ การพยายามแก้ไขและเรียนรู้จากความผิดพลาด เข้าใจว่าความผิดพลาดเกิดขึ้นได้และความผิดหวังก็เกิดขึ้นได้ มันคือสิ่งที่ควรให้ความสนใจไม่ใช่เอาแต่ตอกย้ำว่าเรามันไม่เอาไหน
ใช้พลังของคำว่า ‘ยัง’
บางครั้งแค่เปลี่ยนคำพูดเราก็สามารถเปลี่ยนความรู้สึกนึกคิดที่มีได้ คำว่า ‘ยัง’ เป็นเทคนิคที่ถูกนำมาใช้เพื่อให้เกิดการพัฒนาจากความคิดแบบจำกัดไปเป็นความคิดแบบเติบโต โดยจะใช้คำว่า ‘ยัง’ เมื่อรู้สึกว่าเราทำอะไรไม่สำเร็จ เช่น ไม่ใช่ว่าเราทำไม่ได้ แต่เป็น เรายังทำไม่ได้ในตอนนี้ต่างหาก การใช้คำว่า ‘ยัง’ เป็นการสร้างจุดยืนให้เราเข้าใจว่าสิ่งที่เราคิดว่าเราทำไม่ได้ในตอนนี้ไม่ใช่จุดสิ้นสุด เรายังสามารถเปลี่ยนแปลงและสามารถแก้ไขหรือพัฒนาได้อีก และยังช่วยให้ไม่เครียดจนใจป่วยเมื่อทำผิดพลาดด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง
• ชีวิตดี๊ดีเมื่อคิดแบบ Growth Mindset
• ฮาวทูปลุกพลังในตัวเอง ช่วยเพิ่มแรงกระตุ้น ทำให้ฝันเป็นจริงได้
• วิธีปรับ Mindset ปลุก Passion ปลดล็อคความสามารถเจ๋ง ๆ ในตัวเอง
• เคล็ดลับที่จะทำให้เราเก่งขึ้น 1% ทุกวัน
• รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมองที่จะช่วยให้เราฉลาดขึ้น !
• ความฉลาด 9 แบบที่ซ่อนอยู่ในตัวเรา เราฉลาดแบบไหนกัน
• ความโง่ 4 แบบที่ทำให้เราพัฒนาตัวเองไม่สำเร็จ
• เคล็ดลับที่จะเปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนชอบลงมือทำจาก Stanford
• 5 เคล็ดลับสำคัญในการพัฒนาทักษะทางสมอง EF
• ‘AQ’ ทักษะจำเป็นในวันที่โลกหมุนเร็วจนตามไม่ทัน
• ฝึกกระตุ้นรหัสสมองทั้ง 8 กลุ่ม ช่วยให้สมองแข็งแรงและสดใส
• เบื่อจัง ชีวิตจะเป็นอะไรได้อีก ถ้าหากไม่ได้เป็น ‘คนเรียนเก่ง’
• 20 ข้อคิดดีๆ ที่วัยรุ่นควรเก็บไว้เตือนสติตัวเองตอนอายุ 20
แหล่งข้อมูล
- พลังของความเชื่อที่คุณสามารถพัฒนามันได้
- ชีวิตดี๊ดีเมื่อคิดแบบ Growth Mindset
- Trend 2022 เจาะเทรนด์โลก : READY SET GO
เว็บไซต์ปลูกเฟรนส์ดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป