มีอารมณ์ทางเพศบ่อย ผิดปกติไหม ต้องจัดการยังไง
Posted By Plook Magazine | 03 ธ.ค. 64
44K views

Shares
0

เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นก็จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายเกิดขึ้น เช่น ตัวสูงขึ้น มีขนขึ้นตามร่างกาย บางคนอาจมีสิวขึ้นเพราะฮอร์โมน ฯลฯ นอกจากการเปลี่นแปลงทางร่างกายแล้ว ก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์อย่างการมีความรู้สึกทางเพศเกิดขึ้นด้วย หลายคนอาจไม่เข้าใจว่าทำไมเราถึงมีอารมณ์แบบนี้และจะทำยังไงดี รวมถึงการได้รับมายาคติเรื่องเพศที่ผิด ๆ จนเข้าใจว่ามันเป็นเรื่องผิดปกติ Plook Friends จึงอยากชวนน้อง ๆ ทุกคนมาทำความเข้าใจเรื่องเพศที่ถูกต้องกัน

 

 

การมีอารมณ์ทางเพศเป็นเรื่องปกติ

อารมณ์ทางเพศเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ทุกคน เมื่อเราเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ร่างกายจะสร้างฮอร์โมนเพศเพิ่มมากขึ้นบวกกับการได้รับแรงกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม เช่น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้เห็น ได้สัมผัส ก็อาจทำให้เกิดความคิดและจินตนาการต่าง ๆ ที่กระตุ้นทำให้วัยรุ่นเกิดความรู้สึกทางเพศขึ้นได้ 

 

Checklist พัฒนาการทางเพศ

 

เพศชาย

ฮอร์โมนในร่างกายจะไปกระตุ้นให้อัณฑะหลั่งฮอร์โมนเพศชายหรือฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ออกมามากขึ้น ส่งผลให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้

• ตัวสูงขึ้น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

• เริ่มเสียงแตก (เสียงแหบห้าว)

• ลูกกระเดือกโตขึ้นจนเห็นชัดเจน

• เต้านมอาจโตและเจ็บ (นมแตกพาน)

• มีหนวดเคราขึ้นตามแขน ขา หน้าแข้ง หน้าอก รักแร้ และบริเวณอวัยวะเพศ

• อวัยวะเพศโตขึ้นและแข็งตัวเมื่อมีความรู้สึกทางเพศหรือถูกสัมผัส

• มีสิวขึ้นบริเวณใบหน้า หน้าอก หรือหลัง

• เริ่มมีความรู้สึกทางเพศ มีการฝันเปียก 

 

 

เพศหญิง

ฮอร์โมนในร่างกายจะไปกระตุ้นรังไข่ให้หลั่งฮอร์โมนเพศหญิงหรือฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ออกมามากขึ้น ส่งผลให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้

• รูปร่างสูงขึ้น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 

• หน้าอกขยายใหญ่ เอวคอด สะโพกผายออกหรือใหญ่ขึ้น

• มีขนขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ แขน ขา และรักแร้

• มีสิวขึ้นที่ใบหน้าหรือแผ่นหลัง

• เริ่มมีความรู้สึึกทางเพศ ในบางคนอาจมีการฝันเปียก

• มีประจำเดือน มีเมือกในช่องคลอดหรือมีตกขาว

 

การมีอารมณ์ทางเพศในช่วงวัยรุ่นถือเป็นเรื่องปกติ 
ไม่ใช่เรื่องผิดแปลก ผิดบาป ผิดธรรมชาติ 
เพราะร่างกายกำลังเข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์

เมื่อฮอร์โมนเพศทั้ง 2 ชนิดนี้ ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ได้กระตุ้นอวัยวะเพศคือรังไข่ (เพศหญิง) และอัณฑะ (เพศชาย) เพื่อให้หลั่งฮอร์โมนเพศนั้น ๆ ออกมา ทำให้วัยรุ่นมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และมันยังไปกระตุ้นทำให้เกิดความรู้สึกทางเพศได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นการมีอารมณ์ทางเพศในช่วงวัยรุ่นจึงถือเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เรื่องผิดแปลก ผิดบาป ผิดธรรมชาติ เพราะร่างกายเรากำลังเข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์ 

 

ในช่วงวัยนี้จึงควรทำความเข้าใจและเรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย รวมถึงความรู้เรื่องเพศที่ถูกต้อง เพราะเรื่องเพศถือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเรา และอยากให้ลบล้างมายาคติเรื่องเพศ เช่น ช่วยตัวเองคือบาป วัยรุ่นห้ามคุยเรื่องเซ็กซ์ ฯลฯ เพราะเรื่องเพศนั้นไม่ใช่เรื่องน่าอาย เรื่องผิดบาป หรือเป็นเรื่องที่ต้องปกปิด

 

เมื่อมีอารมณ์ทางเพศต้องทำยังไง

• สำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง การช่วยตัวเองถือเป็นช้อยส์ที่ดีเพราะเราสามารถทำได้เองและปลอดภัย ช่วยคลายอารมณ์และความรู้สึกเครียดได้ 

• หากิจกรรมอย่างอื่นทำ หากรู้สึกว่าตัวเองมีอารมณ์ทางเพศจนรู้สึกเป็นทุกข์ การหากิจกรรมอย่างอื่นทำคือทางออกที่ดี เช่น เล่นกีฬา ฝึกทำอาหาร ทำงานศิลปะ ฯลฯ รวมถึงหลีกเลี่ยงการเข้าถึงสื่อที่กระตุ้นทำให้เรามีอารมณ์ทางเพศด้วย

 หากตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์ต้องใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันทุกครั้ง ถุงยางอนามัยสามารถป้องกันได้ทั้งการตั้งครรภ์และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย 

 

การมีอารมณ์ทางเพศไม่ใช่เรื่องผิดแปลกหรือผิดธรรมชาติ แต่เมื่อเรามีอารมณ์ทางเพศเกิดขึ้น เราต้องรู้จักยับยั้งชั่งใจตัวเองให้เป็นด้วย เราต้องเข้าใจในเรื่องของ Consent ความรู้สึกพร้อมหรือการยินยอมของอีกฝ่ายในกรณีที่คิดจะมีอะไรกัน รวมถึงให้ระวังและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง Sexual Harassment ไว้ด้วย เพราะเรื่องพวกนี้มันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศและการมีอารมณ์ทางเพศ 

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราพร้อมจะมีเซ็กซ์ มีอะไรครั้งแรกกับแฟนแล้วใช่ไหม ?

Sexting คืออะไร เราคุยเรื่องเซ็กซ์กันได้ไหม ?

“ส่งรูปให้หน่อย ขอแบบเซ็กซี่นะ” ข้อควรรู้เมื่อแฟนขอให้ส่งรูปเซ็กซี่ให้

มีอะไรกันครั้งเดียวจะท้องไหม รวมความรู้เรื่องเซ็กซ์ ความเชื่อผิด ๆ ที่จะทำให้ท้องได้

3 บทเรียนวิชาเพศศึกษาที่ห้องเรียนไทยไม่เคยสอน จากซีรีส์ขวัญใจวัยรุ่น SEX EDUCATION

ชีวิตจะเป็นยังไง ถ้าพลาดท้องในวัยเรียน

ชอบสด ไม่ใส่ถุงยาง เสี่ยงเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ง่ายกว่าที่คิด !

Let’s Talk About Sex รวมเพจที่เปิดโอกาสให้วัยรุ่นเข้าใจเรื่องเพศในทุกมิติ

ยาคุมฉุกเฉินกินได้บ่อยแค่ไหน ? อันตรายไหม มีผลข้างเคียงหรือเปล่า

ใส่ถุงยางสองชั้นดีมั้ย แตกนอกจะท้องมั้ย ? และอีกหลายคำถามเรื่องเพศที่วัยรุ่นสงสัย

โดนจับโดนล้วง โดนล่วงละเมิดทางเพศ จะเอาตัวรอดยังไงนะ

วิชาการเอาตัวรอด เมื่อถูกคุกคามทางเพศ

โดนหญิงทิ้ง เพราะน้องชายมีกลิ่น ขอวิธีแก้หน่อยครับ

ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ แต่มีตกขาวทุกเดือน ผิดปกติไหม

 

 

แหล่งข้อมูล

- คู่มือพัฒนาทักษะการสื่อสารเรื่องเพศระหว่างวัยรุ่นกับครอบครัว โดยสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย

 
 
 

เว็บไซต์ปลูกเฟรนส์ดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป

Tags