1. วันไหนที่รู้สึกขี้เกียจจนไม่อยากทำอะไรเลย ให้ลองรักษาสภาวะตื่นเต้นเพื่อให้สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ตามที่แพลนไว้ให้สำเร็จ เช่น ทำเรื่องน่าเบื่อสลับกับเรื่องสนุก ๆ หรือกำหนดเวลาที่จะทำสิ่งนั้นให้เสร็จ
2. ถ้ารู้ตัวว่ามีความคิดด้านลบมากเกินไป ควรวางมือจากการทำสิ่งที่กำลังทำอยู่และหยุดพัก หากหยุดพักจากสิ่งนั้นไม่ได้ในทันที ก็ควรหาเวลาพักผ่อนอย่างน้อย 2-3 วัน ด้วยการออกไปเที่ยวพักผ่อน ก็จะช่วยกำจัดความคิดด้านลบให้น้อยลงได้
3. หากมีความคิดว่าตัวเองไร้ค่า หรือคิดว่าตัวเองไม่เจ๋งเลย สิ่งที่ควรทำมากที่สุดคือการฟื้นฟูการเห็นคุณค่าในตัวเองให้ได้ก่อน แนะนำว่าควรเพิ่มความรักตัวเองด้วยการอ่านหนังสือดี ๆ เกี่ยวกับการเห็นคุณค่าในตัวเอง หรือหาหนัง/ซีรีส์ที่เกี่ยวข้องมาดู
4. เวลาที่มีเรื่องไม่สบายใจจนมุ่งความสนใจทั้งหมดไปอยู่ที่เรื่อง ๆ เดียว ลองพักสมองด้วยการทำอย่างอื่นบ้าง เช่น เล่นเกม ดูหนัง นอนหลับ ฯลฯ หยุดคิดว้าวุ่นสักพักแล้วลุกไปทำสิ่งที่ชอบและทำให้สมองโล่งก่อน แล้วค่อยกลับมาจัดการกับความคิดตัวเองอีกครั้ง และจะพบว่าเรามีความคิดที่ดีกว่าตอนแรก
5. ถ้ารู้สึกโดดเดี่ยวมาก ๆ สิ่งที่ควรทำคือบอกเล่าถึงความรู้สึกนี้และขอความช่วยเหลือจากใครสักคน อย่าพยายามแบกความรู้สึกโดดเดี่ยวเอาไว้คนเดียว และอย่าพยายามแก้ปัญหาด้วยตัวเอง การเล่าความรู้สึกออกมาจะช่วยให้ใจเราโปร่งโล่งมากขึ้น แนะนำว่าให้ลองไปพบคนที่คอยสนับสนุนเรา คนที่อบอุ่นและมีน้ำใจ แล้วรับกำลังใจกลับมา
6. อย่ามองข้ามงานอดิเรกหรือสิ่งที่เราทำได้ดี แม้มันจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อยหรือไม่ใช่เป้าหมายหลักที่เราวางไว้ แต่เราควรให้ความสำคัญด้วยการทำมันอย่างสม่ำเสมอ เพราะงานอดิเรกที่เราถนัด มันอาจสร้างรายได้หรือเพิ่มมูลค่าให้กับเราได้ในอนาคต
7. เราทุกคนควรมีหลุมหลบภัยหรือพื้นที่สบายใจเฉพาะตัว ที่จะช่วยปกป้องเราจากโลกที่เต็มไปด้วยความไม่พอใจชั่วคราว ส่วนใครที่อยากเข้าใจอารมณ์ตัวเองมากขึ้นแนะนำว่าให้ลองเขียนไดอารี่ทุกวัน แล้วจะพบว่ามันช่วยได้มาก ๆ
8. เราควรรู้วิธีควบคุมความกลัวต่อความล้มเหลว ด้วยการลองฝึกจินตนาการดูว่าตอนที่เราล้มเหลวจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ลองนึกถึงสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด การคิดแบบนี้จะช่วยให้มีความกล้าที่จะเริ่มใหม่ หรือเวลาทำอะไรไม่สำเร็จเราก็จะกล้าเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง
9. เวลาที่ทำอะไรไม่สำเร็จ ให้ลองคิดว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เราทำไม่สำเร็จ และลองดูว่าเราจะแก้ปัญหาได้ยังไงบ้าง ลองไล่ดูไปเรื่อย ๆ จนถึงต้นตอที่แท้จริง การทำแบบนี้จะช่วยให้เวลาที่เราตั้งเป้าหมายใหม่ เราจะคิดถึงปัจจัยนี้และวางแผนแก้ไขมันได้ดีขึ้น
10. หากเหนื่อยหรือเบื่อหน่ายกับการเรียน การอ่านหนังสือมาก ๆ แนะนำว่าให้ปรับแผนการที่วางไว้ใหม่ โดยเลือกเรื่องเรียนให้ต่างกันในช่วงเช้าและช่วงบ่าย เช่น ช่วงเช้าจะอ่านวิชาหนัก ๆ และช่วงบ่ายจะอ่านวิชาเบา ๆ หรือฝึกปรับนิสัยด้วยการทำเรื่องนั้น ๆ ทีละครึ่งใน 1 สัปดาห์
11. ใครที่ชอบตั้งเป้าหมายใหญ่ ๆ แล้วชอบท้อระหว่างทาง ลองปรับมาตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ หลายอย่างก่อน และค่อย ๆ ทำให้สำเร็จไปทีละอย่าง เมื่อเราทำเป้าหมายเล็ก ๆ ได้สำเร็จแล้ว มันก็จะนำไปสู่เป้าหมายใหญ่ได้โดยที่ไม่รู้สึกเหนื่อยล้าหรือถอดใจระหว่างทางได้
12. ฝึกให้ตัวเองสามารถเผชิญหน้ากับความขัดแย้งให้ได้ เพราะเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นจริง เราจะได้ไม่ต้องกังวลหรือเครียดมากเกินไป และควรรู้จักสร้างกำลังใจให้ตัวเองเพื่อรับมือกับความกดดัน และความเครียดต่าง ๆ ด้วย
13. นอกจากฝึกเผชิญหน้ากับความขัดแย้งแล้ว เราก็ควรฝึกรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น หรือความคิดที่เห็นแตกต่างจากเราให้ได้ด้วย เพราะมันเป็นสกิลที่สำคัญมากในการอยู่ร่วมกันในสังคม และยังช่วยนำไปสู่ไอเดียหรือการแก้ปัญหาที่ดีขึ้นได้ด้วย
14. บางครั้งการอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิม ๆ ทุกวันก็อาจทำให้เรารู้สึกเบื่อหน่ายได้ ลองปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมด้วยการเปลี่ยนของบนโต๊ะหนังสือ เปลี่ยนตำแหน่งวางเฟอร์นิเจอร์ หรือจะเปลี่ยนเส้นทางวิ่งออกกำลังกายใหม่ ๆ ก็ได้ การทำแบบนี้จะช่วยสร้างความตื่นเต้น เพิ่มแรงจูงใจ และแรงบันดาลใจใหม่ ๆ
15. พิจารณาระดับสมาธิของตัวเอง แล้ววางแผนการทำสิ่งต่าง ๆ ให้สมดุล อาจจะวางแผนทำสิ่งที่ง่าย-ยาก น่าเบื่อ-สนุก สลับกันไป ไม่ควรทำอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งวันแบบต่อเนื่อง เพราะมันจะทำให้เราเหนื่อยล้าหรือรู้สึกเบื่อได้ และอาจนำไปสู่ภาวะหมดไฟได้ด้วย
16. การวางแผนทุกอย่างแบบสมบูรณ์อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน บางคนอาจรู้สึกสนุกกับการได้วางแผนแบบหลวม ๆ แล้วลงมือทำดูก่อน เพื่อจะได้ปรับแผนให้เข้าที่เข้าทางมากขึ้น ลองดูว่าคุณถนัดแบบไหนจะดีที่สุด
17. การตั้งเป้าหมายที่จะทำให้เราไม่ท้อตั้งแต่ยังไม่เริ่มคือ การตั้งเป้าหมายที่ไม่ยากจนเกินไป และควรตั้งเป้าหมายให้เป็นรูปธรรมว่าระดับไหนคือทำสำเร็จ และระดับไหนที่ถือว่าทำไม่สำเร็จ และถ้าทำได้สำเร็จก็ควรให้รางวัลตัวเอง ส่วนถ้าล้มเหลวก็ไม่ควรเอาแต่โทษตัวเอง แต่ควรเรียนรู้จากความล้มเหลวเพื่อพัฒนามันให้ดีขึ้น
18. ทุกครั้งที่อยากยอมแพ้ ให้นึกถึงคนที่ทำให้เราตั้งเป้าหมายนี้ เวลาที่เรานึกถึงการทำอะไรเพื่อคนอื่นมากกว่าตัวเอง เราจะมีพลังมากขึ้นกว่าเดิม #ฮึบ
บทความที่เกี่ยวข้อง
ความฉลาด 9 แบบที่ซ่อนอยู่ในตัวเรา เราฉลาดแบบไหนกัน
12 Soft Skills สำคัญที่ควรมีติดตัวก่อนเรียนจบ
If-Then Plans การวางแผนที่จะช่วยแก้นิสัยผัดวันประกันพรุ่งให้ดีขึ้นได้
เคล็ดลับพัฒนาตัวเองของ 'Late Bloomer' คนที่ประสบความสำเร็จช้ากว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน
Gap Year ช่วงเวลาที่ทุกคนควรเข้าถึงได้
Ambiverts จะโลกภายในหรือภายนอกก็เอาอยู่
ความโง่ 4 แบบที่ทำให้เราพัฒนาตัวเองไม่สำเร็จ
รู้จักตัวเองมากขึ้นด้วยการพัฒนาบุคลิกผ่าน 'สี' ตัวเราคือสีอะไร ?
วิธีลดความกดดันในตัวเอง เมื่อคนรอบข้างคาดหวังมากเกินไป
เคล็ดลับที่จะทำให้เราเก่งขึ้น 1% ทุกวัน
‘AQ’ ทักษะจำเป็นในวันที่โลกหมุนเร็วจนตามไม่ทัน
เคล็ดลับที่จะเปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนชอบลงมือทำจาก Stanford
ก้าวผ่านช่วงเวลายาก ๆ ด้วยข้อคิดดี ๆ ที่จะช่วยให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ
วิธีปรับ Mindset ปลุก Passion ปลดล็อคความสามารถเจ๋ง ๆ ในตัวเอง
6 วิธีพัฒนาทักษะสมอง EF ในวัยรุ่นให้เก่งและดี เอาตัวรอดได้
ค้นหาตัวเองอย่างมีความสุขไปพร้อมกันกับ 'Self Concept'
แหล่งข้อมูล
Choi Myeong-gi. (2561). เลิกขี้เกียจซะที. แปลจาก Laziness is a Habit. แปลโดยวสุชา เขมการโกศล. กรุงเทพฯ: SE-Education Public Co., Ltd
เว็บไซต์ปลูกเฟรนส์ดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป