การคิดอย่างมีเหตุมีผล มีวิจารณญาณ ไม่หลงเชื่ออะไรแบบง่าย ๆ หรือด่วนสรุปเอาเอง สามารถประเมินข้อเท็จจริงได้อย่างถูกต้อง โดยแยกแยะความคิดเห็นส่วนตัวหรืออคติออกจากความจริงได้ และสามารถแสดงความคิดเห็นกลับไปด้วยเหตุผลที่มีน้ำหนัก
ถ้าอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คงประมาณว่าเป็นคนรู้มากแต่เข้าใจน้อย คือรู้ไปหมดว่าอะไรเป็นอะไร แต่ไม่เข้าใจเลยสักประเด็น เพราะมองแค่ด้านเดียว แถมยังมองตื้น ๆ ไม่ลงลึกถึงสาระสำคัญและเหตุผลที่แท้จริง เช่น เรื่องการสนับสนุนให้การทำแท้งถูกกฎหมาย คนที่ไม่มี Critical Thinking ก็จะมองแค่ว่าถ้าถูกกฎหมายเดี๋ยววัยรุ่นก็จะมีเซ็กซ์กันตามอำเภอใจเพื่อให้ท้องและไปทำแท้ง แต่ความจริงแล้วที่เขาต้องการสนับสนุนการทำแท้งให้ถูกกฎหมายก็เพราะเป็นการซัพพอร์ตผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อมให้ได้ทำแท้งอย่างปลอดภัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ไม่ต้องไปทำแท้งเถื่อนให้เสี่ยงในกรณีที่เด็กในครรภ์เป็นอันตรายต่อแม่ เด็กในครรภ์พิการและแม่ไม่สามารถเลี้ยงดูได้ หรือการตั้งครรภ์จากการถูกข่มขืน เป็นต้น ส่วนคนที่มี Critical Thinking ที่ดี เขาจะหาข้อมูลให้รอบด้านก่อนที่จะแสดงความคิดเห็นออกไป
สมมติเรากำลังพูดเรื่องโลกร้อน อย่าหยุดแค่ว่า ‘อะไรที่เป็นสาเหตุให้โลกร้อน’ เพราะนั่นจะทำให้เรารู้ แต่ไม่เข้าใจจริง ๆ ให้ถามต่อว่า แล้วแต่ละสาเหตุที่ว่ามาทำให้โลกร้อนยังไง และทำไมเราถึงต้องกังวล ภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบต่อชีวิตเราอย่างไร เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้เราได้คิดต่อว่าข้อมูลนั้นเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของเราอย่างไร จะเห็นได้ว่าเพียงแค่ใช้คำถามว่า อย่างไร (How) และ ทำไม (Why) ก็จะทำให้เราลงลึกและได้คิดวิเคราะห์ได้มากขึ้น !
ข้อมูลที่เรารับมาทุกวันบางอย่างก็เป็นข้อมูลที่มีคนพูดต่อ ๆ กันมา ไม่มีอะไรที่เชื่อถือได้ 100% การที่ยอดไลก์มันเยอะ หรือว่ายอดแชร์ ยอมรีทวิตมันเยอะ ก็ไม่ได้หมายความว่าข้อมูลนั้นถูกต้องหรือเป็นจริง (Facts) บางคนอาจจะพูดขึ้นเพื่อโฆษณาหรือใส่ความคิดเห็น (Opinions) ลงไปมากกว่าความจริง ดังนั้นไม่ว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เราได้ยินอะไรมา ถามเขาซ้ำอีกทีก่อนที่จะตัดสินใจเชื่อว่าเขาเอาข้อมูลมาจากไหน มันน่าเชื่อถือไหม และก่อนจะปักใจเชื่อก็ควรตรวจสอบข้อมูลให้รอบด้านก่อนว่าถูกต้องหรือเป็นจริงแค่ไหน
ยกตัวอย่างเช่น เรื่องภาวะโลกร้อน ให้เราขยายคำถามกว้างไปเผื่อพื้นที่อื่น ชุมชนอื่น คนอื่น และประเทศอื่น เพื่อที่จะเข้าใจภาพรวมทั้งโลกไม่ใช่แค่ในบ้านเรา เพราะเมื่อพูดถึงภาวะโลกร้อนที่ประเทศสหรัฐอเมริกาหรือประเทศญี่ปุ่น เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเขาเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบมาก สิ่งนี้จะช่วยให้เราคิดวิเคราะห์ได้ดีถึงการจัดลำดับความสำคัญ ทัศนคติพลเมืองโลก ซึ่งมันเป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้เราแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (Creative problem-solving) และไม่เป็นคน Ignorant อีกด้วย
อย่าเพิ่งเริ่มที่ว่า ‘ตัวเรา’ จะแก้ปัญหาได้อย่างไร เพราะไม่ใช่ว่าทุกปัญหาบนโลกจะแก้ได้ด้วยการเริ่มที่ตัวเอง พยายามค้นหาคำตอบถึงวิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ในการแก้ปัญหาให้หลากหลาย สมมติว่าเป็นการแก้ปัญหาเรื่องสภาวะโลกร้อน ให้เราคิดถึงวิธีการแก้ไขของหลาย ๆ ด้าน เช่น การแก้ไขปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ทางการเงิน หรือวิธีทางการเมือง มันจะสามารถทำอย่างไรได้บ้าง ? แล้วค่อยขยับขยายมาถึงตัวเราว่า เราจะช่วยแก้ปัญหายังไงได้บ้าง ทั้งหมดนี้เป็นการช่วยให้เราเห็นภาพใหญ่ ไม่ใช่แค่สิ่งที่เห็นตรงหน้าเท่านั้น
แหล่งข้อมูล
- Encourage critical thinking with 3 questions | Brian Oshiro | TEDxXiguan
- Critical thinking is a 21st-century essential — here’s how to help kids learn it
เว็บไซต์ปลูกเฟรนส์ดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป