ไวทยากรณ์ (Grammar) Participle
ทีมงานทรูปลูกปัญญา | 2023-01-24 15:33:36
Participle คือ กริยาที่ทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ขยายคำนาม แบ่งเป็น Present Participle (V~ing) และ Past Participle (V3) โดยที่
Present Participle จะใช้ในประโยค Active Voice (ประธานกระทำเอง)
Past Participle จะใช้ในประโยค Passive Voice (ถูกกระทำ)
Present Participle
1. เราใช้ V~ing กับ V.to be ใน continuous tense เช่น
is/am/are/was/were + V~ing
I’m working. (ผมกำลังทำงานอยู่)
Tom isn’t working today. (วันนี้ทอมไม่ทำงาน)
We are eating pizza. (พวกเรากำลังกินพิซซ่าอยู่)
Where are you going? (เธอกำลังจะไปไหน?)
It was raining. (ฝนกำลังตกอยู่)
What were you doing when the phone rang? (ตอนที่โทรศัพท์เข้า คุณกำลังทำอะไรอยู่ที่ไหน?)
2. เราใช้ V~ing เป็น adjective โดยวางไว้หน้าคำนามหรือหลังคำกริยาก็ได้ มีความหมายว่านามนั้นเป็นผู้กระทำเอง เช่น
V~ing + N
a barking dog (สุนัขที่กำลังเห่า)
The dog is barking. (สุนัขกำลังเห่า)
the boiling water (น้ำเดือด)
The water is boiling. (น้ำกำลังเดือด)
the rising cost (ราคาที่พุ่งสูงขึ้น)
The cost is rising. (ราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ)
the cheering crowds (ผู้คนที่โห่ร้องยินดี)
The crowds are cheering. (ผู้คนกำลังโห่ร้องยินดี)
a sleeping baby (เด็กที่กำลังหลับอยู่)
The baby is sleeping. (เด็กกำลังนอนหลับอยู่)
This movie is interesting. (หนังเรื่องนี้น่าสนใจ)
This is an interesting movie. (นี่เป็นหนังที่น่าสนใจ)
It was a thrilling game and we enjoyed it very much. (มันเป็นเกมที่เร้าใจ พวกเราสนุกมาก)
The police stopped the speeding car. (ตำรวจหยุดรถที่วิ่งเร็วเกินอัตรา)
3. เราใช้ V~ing ในการลดรูป Relative Clause เมื่อคำที่ถูกเชื่อมเป็นประธาน เช่น
The man who is standing over there is Russian.
The man standing over there is Russian. (ผู้ชายที่กำลังยืนอยู่ตรงนั้นเป็นคนรัสเซีย)
Past Participle
1. เราใช้ V3 กับ V.to have ใน perfect tense เช่น
have/has + V3
I have sent the parcel to you already. (ฉันส่งพัสดุให้คุณแล้วนะ)
She has lived in Bristol since 2014. (เขาอยู่ที่บริสโตลตั้งแต่ปี 2014)
We have visited Portugal several times. (เราไปเที่ยวโปรตุเกสมาหลายครั้ง)
2. เราใช้ V3 ในโครงสร้างแบบ Passive Voice คือ
V.to be + V3
All the students were confused. (นักเรียนทุกคนสับสน)
The windows were broken by elsa. (หน้าต่างเหล่านั้นถูกทำแตกโดยเอลซ่า)
The Cathedral was built in the 14th Century. (มหาวิหารถูกสร้างในศตวรรษที่ 14)
3. เราใช้ V3 วางไว้หน้าคำนามเพื่อใช้เป็น adjective ทำให้นามนั้นเป็นผู้ถูกกระทำ เช่น
a reserved seat (ที่นั่งที่ถูกจอง)
The seat is reserved. (ที่นั่งถูกจองแล้ว)
a stolen car (รถที่ถูกขโมย)
The car was stolen. (รถถูกขโมย)
a broken glass (แก้วที่แตกแล้ว)
The glass was broken. (แก้วแตก)
some written information (ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้)
The information was written. (ข้อมูลถูกบันทึกไว้)
a sign copy (สำเนาที่เซ็นแล้ว)
The copy was signed. (สำเนาถูกเซ็น)
the closed door (ประตูที่ปิดอยู่)
The door is closed. (ประตูปิดแล้ว)
Have you check my revised essay? (เธอได้ตรวจแก้เรียงความของฉันรึยัง?)
Look at those fallen leaves. (ดูใบไม้ร่วงพวกนั้นสิ)
I have a broken leg. (ฉันขาหัก)
She is looking for the lost book. (เธอกำลังหาหนังสือที่หายไป)
4. เราใช้ V3 ในการลดรูป Relative Clause เมื่อคำที่ถูกเชื่อมเป็นกรรม เช่น
The man who was arrested last night is our neighbor. = The man arrested last night is our neighbor.
(ผู้ชายคนที่ถูกจับเมื่อคืนเป็นเพื่อนบ้านเรา)
The novel written by Hemingway is hard to read.
(นิยายที่เขียนโดยเฮมิงเวย์เป็นนิยายที่อ่านยาก)
Look at the mountain covered with snow.
(ดูภูเขาที่ถูกปกคลุมด้วยหิมะสิ)
I heard my name called.
(ฉันได้ยินใครเรียกชื่อฉัน)
*เปรียบเทียบความแตกต่างของ Present Participle (V~ing) และ Past Participle (V3)
a boring party (งานปาร์ตี้ที่น่าเบื่อ)
the bored guest (แขกที่รู้สึกเบื่อ)
an interesting game (การแข่งขันที่น่าสนใจ)
the interested audience (ผู้ชมที่รู้สึกสนใจ)
a shocking event (เหตุการณ์ที่น่าตกใจ)
a shocked student (นักเรียนที่ตกใจ)
an exciting concert (คอนเสิร์ตที่น่าตื่นตาตื่นใจ)
the excited students (นักเรียนที่กระตือรือร้น)
the disappointing score (คะแนนที่น่าผิดหวัง)
the disappointed parents (พ่อแม่ที่ผิดหวัง)
a tiring journey (การเดินทางที่แสนเหน็ดเหนื่อย)
the tired travelers (นักท่องเที่ยวที่เหน็ดเหนื่อย)
*เราสามารถใช้ Participle ขึ้นต้นประโยค กลายเป็น Participle Phrase เพื่อลดรูปประโยคเมื่อประธานของประโยคหลักและประโยครองเป็นตัวเดียวกัน โดยประโยคขึ้นต้น (Participle Phrase) จะทำหน้าที่เป็น adverb clause เช่น
Feeling tired, I went straight to bed. (เพราะว่าเหนื่อย, ฉันก็เลยไปนอน)
Not coming on time, I missed the train. (เพราะว่ามาไม่ทัน, ฉันก็เลยพลาดรถไฟ)
Tired of studying, she went for a walk. (เพราะเหนื่อยกับการเรียน, เธอจึงออกไปเดินเล่น)
Left alone in the house, he felt lonely. (เพราะอยู่บ้านคนเดียว, เขาจึงรู้สึกเหงา)
Generally speaking, the climate of Korea is mild. (ปกติแล้ว ภูมิอากาศของเกาหลีใต้นั้นอบอุ่น)