ภาษาอังกฤษ ม. 5 Imperative sentences
ทีมงานทรูปลูกปัญญา | 2020-06-25 12:35:01
Imperative sentence คือ ประโยคคำสั่ง, ตักเตือน, แนะนำสั่งสอน, เชื้อเชิญ โดยการนำคำกริยา Infinitive without to (V.1 ที่ไม่มี to) มาขึ้นต้นประโยค และถ้าเติม please เข้าไปจะเป็นประโยคขอร้อง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับน้ำเสียงของผู้พูด, ความสัมพันธ์ระหว่างผู้พูดกับผู้ฟัง และเจตนาในการสื่อความหมาย ที่สำคัญประโยค Imperative sentence จะลงท้ายด้วยเครื่องหมายวรรคตอน full-stop (.) หรือ exclamation mark (!) เสมอ
ตัวอย่าง:
Be quiet. (จงเงียบ)
Come here! (มานี่)
Sit down! (นั่งลง)
- ใช้ Verb base form (V.1) ขึ้นต้นประโยคแล้วตามด้วยสิ่งที่จะสั่งให้ทำ หรืออาจใช้ Verb แค่คำเดียวก็ได้ เช่น
Stop! (หยุด)
Come here! (มานี่)
Open the door. (จงเปิดประตู)
Speak English. (จงพูดภาษาอังกฤษ)
- ใช้ Verb ‘be’ ขึ้นต้นประโยค เช่น
Be careful. (จงระวัง)
Be a good boy. (จงเป็นเด็กดี)
Be kind to children. (จงมีเมตตาต่อเด็ก ๆ)
- การทำ Imperative sentence เป็นรูปแบบประโยคปฏิเสธ เพียงแค่วาง don’t (do not) หน้าคำกริยา Don’t + V.1 เช่น
Don’t go! (อย่าไป)
Don’t touch me. (อย่ามาแตะต้องตัวฉัน)
Don’t swim in this canal. (อย่าว่ายน้ำในคลองนี้)
- Imperative sentence ที่ขึ้นต้นด้วยกริยา ‘be’ ก็เช่นเดียวกัน เพียงวาง don’t หน้ากริยา be เช่น
Don’t be noisy. (อย่าส่งเสียงดัง)
สามารถใช้ Imperative sentence ในเชิงขอร้องได้ โดยเพียงเติม Please เข้าไปวางไว้หน้าหรือท้ายประโยค เพื่อให้ดูสุภาพขึ้น เช่น
Please sit down. หรือ Sit down, please. (กรุณานั่งลง)
Please wait here. (กรุณารอตรงนี้)
Please give me chocolate. (เอาช็อกโกแลตให้ฉันหน่อยค่ะ)
Be quiet, please. (กรุณาเงียบ)
Please don’t smoke here. (กรุณาอย่าสูบบุหรี่ตรงนี้)
Imperative sentence ในเชิงเชื้อเชิญ เป็นประโยคคำสั่งที่รวมถึงตัวผู้พูดเข้าไปด้วย ทำได้โดยเติม Let’s ไว้หน้าคำกริยา และถ้าเป็นในรูปปฏิเสธ ใช้ Let’s not วางหน้าคำกริยา
โครงสร้าง : Let’s / Let’s not + V.1 เช่น
Let’s stop now. (ตอนนี้หยุดกันเถอะ)
Let’s not tell him about it. (อย่าบอกเขาเกี่ยวกับเรื่องนั้นเลยเถอะ)
วิธีตอบ ถาม Let’s ก็ตอบด้วย Let’s เช่น Yes, let’s. / No, let’s not
ข้อสังเกต : ใน Imperative sentence ไม่มีประธาน (Subject) โดยละประธานซึ่งคือ สรรพนามบุรุษที่ 2 ‘You’ ไว้
1. Imperative sentence แบบมีประธาน (Subject) แม้ว่าปกติแล้ว Imperative sentence ไม่ต้องใส่ประธาน (สรรพนามบุรุษที่ 2 ‘You’) แต่บางครั้งเราสามารถสร้างประโยค Imperative แบบมีประธานชัดเจนได้ เช่น
You be quiet! (คุณ เงียบ!)
You, don’t touch me! (แก อย่ามาถูกตัวฉันนะ)
Everybody sit down. (ทุกคน นั่งลง)
Mike look! (ไมค์ ดูสิ)
2. ประโยคคำสั่งแบบนามธรรม เราสามารถแสดงความหวังหรือความปรารถนาและข้อเสนอแนะด้วยรูปแบบประโยค Imperative ได้ ซึ่งประโยคเหล่านี้ไม่ใช่คำสั่งจริง ๆ เช่น
Have a nice day. (ขอให้เป็นวันที่ดีนะ)
If there’s no soy milk try almond milk. (ถ้าไม่มีนมถั่วเหลืองก็ลองนมอัลมอนด์สิ)
3. ประโยค Imperative กับ Do ถ้าต้องการเน้น Imperative sentence ให้เป็นประโยคขอร้อง, ขอโทษ และตำหนิมากขึ้น ก็เติม Do หน้าคำกริยา อีกทั้งยังมีความสุภาพมากขึ้นด้วย เช่น
Do tell me about her. (ช่วยเล่าเรื่องของหล่อนให้ผมฟังหน่อยนะ)
Do try to keep the noise down, lady. (ลองเบาเสียงลงหน่อยนะสาว ๆ)
4. ใช้ประโยค Imperative กับ always, never, ever โดยวางคำเหล่านี้หน้าคำกริยาช่อง 1 (V.1) เช่น
Always remember my advice. (จงจำคำแนะนำฉันไว้เสมอ)
Never run in this room. (อย่าวิ่งในห้องนี้)
Don’t ever leave your keys in your car. (อย่าทิ้งกุญแจไว้ในรถ)
5. Imperative sentence กับ and บางครั้งก็ใช้ประโยค Imperative กับ and แทนประโยคเงื่อนไข (if-clause) เช่น
Work hard, and you will succeed in the end.
(จงมุ่งมั่นทำงานหนัก และคุณจะประสบความสำเร็จในท้ายที่สุด)
ประโยคนี้ใช้แทนประโยค if-clause ที่ว่า If you work hard, you will succeed in the end. (ถ้าคุณมุ่งมั่นทำงานหนัก คุณจะประสบความสำเร็จในท้ายที่สุด)
6. ใช้ประโยค Imperative กับ Question tag เราสามารถนำ question tag อย่าง can you?, can’t you?, could you?, will you?, won’t you? would you? มาวางไว้หลังประโยค Imperative ได้ เช่น
Don’t smoke in this room, will you?
(อย่าสูบบุหรี่ในห้องนี้ จะทำไหม)
Open the door, will you?
(เปิดประตูหน่อย จะเปิดให้ไหม)