เสียงในภาษาไทย
ทีมงานทรูปลูกปัญญา | 2020-06-10 22:56:23
คนปกติสามารถส่งเสียงออกมาได้ตั้งแต่ออกมาจากท้องแม่ ถ้าเด็กร้องไห้จ้าตอนคลอดก็ถือว่าปกติในการออกเสียง แสดงว่า ปอด หลอดลม กล่องเสียงของเด็กปกติ เสียงในภาษาไทยนั้นมี 3 ชนิดประกอบด้วย เสียงสระคือเสียงแท้ เสียงพยัญชนะคือเสียงแปร และเสียงวรรณยุกต์คือเสียงดนตรี และมีตัวสะกดจำนวน 9 มาตรา
อวัยวะในร่างกายที่สำคัญในการออกเสียงคือ ปอด หลอดลม กล่องเสียง (ลูกกระเดือกของเรานั่นเอง) นอกจากนั้น ยังมีอวัยวะในปากของเรา ที่จำเป็นอย่างมากในการที่จะพูดออกเสียง คือ ลิ้น ฟัน ปุ่มเหงือก เพดานปาก ริมฝีปาก
ถ้าอวัยวะเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งผิดปกติไปแต่เล็กๆ ก็จะมีปัญหาในการพูด ในการออกเสียงให้ชัดเจน ทุกอย่างต้องทำงานปกติทั้งหมด จึงจะพูดชัดเจนได้ โบราณเรียก อาการครบ 32
เมื่อมีลมออกจากปอดขึ้นมาทางหลอดลม แล้วสัมผัสกับเส้นเสียงจนเกิดการสั่นแล้ว ก็จะถูกดัดแปลงให้เป็นเสียงพูดตามที่สมองสั่งงาน ซึ่งกระบวนการนี้รวดเร็วมาก ใช้เวลาน้อยกว่าเสี้ยววินาที เพราะสมองทำงานเร็วมากนั่นเอง
เสียงในภาษาไทย
เสียงในภาษาไทยนั้นมี 3 ชนิดประกอบด้วย เสียงแท้หรือสระคือ เสียงแปรหรือเสียงพยัญชนะ และเสียงดนตรีหรือเสียงวรรณยุกต์ มีรายละเอียดดังนี้
1. เสียงสระ หรือเสียงแท้
สระในภาษาไทยมี 32 เสียง แบ่งเป็น
- สระเดี่ยว คือเสียงสระที่เกิดจากกล่องเสียง ไม่ได้ไปประสมกับเสียงสระอื่นใด มี 18 เสียง (เสียงสั้น 9 เสียง และเสียงยาว 9 เสียง) ประกอบด้วย อะ อา อิ อี อึ อือ อุ อู เอะ เอ แอะ แอ โอะ โอ เอาะ ออ เออะ เออ
- สระประสม คือเสียงสระที่เกิดจากการประสมสระเดี่ยว 2 เสียง กลายเป็นเสียงใหม่ มี 6 เสียง (เสียงสั้น 3 เสียง และเสียงยาว 3 เสียง) ประกอบด้วย
สระเอียะ มาจาก อี + อะ
สระเอีย มาจาก อี + อา
สระเอือะ มาจาก อือ + อะ
สระเอือ มาจาก อือ + อา
สระอัว มาจาก อู + อะ
สระอัว มาจาก อู + อา
สามารถลองแยกเสียง หรือประสมเสียงเองได้ จากการออกเสียงสระ 2 เสียงซ้ำๆ จากช้าไปเร็ว เช่น อี + อา ก็จะได้เป็นเสียงสระเอีย
- สระเกิน คือเสียงสระแท้ ประสมกับเสียงพยัญชนะ ได้เป็นเสียงสระ มี 8 เสียงประกอบด้วย
สระอำ มาจาก อะ + ม
สระไอ มาจาก อะ + ย
สระใอ มาจาก อะ + ย
สระเอา มาจาก อะ + ว
สระ ฤ มาจาก ร + สระอึ
สระ ฤา มาจาก ร + สระอือ
สระ ฦ มาจาก ล + สระอึ
สระ ฦา มาจาก ล + สระอือ
โดยสระทั้ง 32 เสียงนี้ อยู่ในรูปสระจำนวน 21 รูป ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนเสียงสระต่างๆ เวลาเขียน ซึ่งมีดังนี้
ลำดับ |
รูปสระ |
ชื่อสระ |
1 |
ะ |
วิสรรชนีย์ |
2 |
ั |
ไม้หันอากาศ |
3 |
็ |
ไม้ไต่คู่ |
4 |
า |
ลากข้าง |
5 |
ิ |
พินทุ์ อิ |
6 |
่ |
ฝนทอง |
7 |
ํ |
นฤคหิต |
8 |
" |
ฟันหนู |
9 |
ุ |
ตีนเหยียด |
10 |
ู |
ตีนคู้ |
11 |
เ |
ไม้หน้า |
12 |
ใ |
ไม้ม้วน |
13 |
ไ |
ไม้มลาย |
14 |
โ |
ไม้โอ |
15 |
อ |
ตัว ออ |
16 |
ย |
ตัว ยอ |
17 |
ว |
ตัว วอ |
18 |
ฤ |
ตัว รึ |
19 |
ฤา |
ตัว รือ |
20 |
ฦ |
ตัว ลึ |
21 |
ฦา |
ตัว ลือ |
2. เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร
คือเสียงที่ถูกแปรเปลี่ยน หรือปรับปรุงโดยอวัยวะต่างๆ ในปากเรา เช่น ริมฝีปาก ฟัน จนออกมาเป็นเสียงพยัญชนะ ถ้าอวัยวะเหล่านี้ผิดปกติ เช่น ปากแหว่ง หรือฟันหลอ ก็จะไม่สามารถออกเสียงพยัญชนะได้ชัดเจน
พยัญชนะไทยตั้งแต่ ก ไก่ ถึง ฮ นกฮูก รวมทั้งสิ้น 44 ตัว จะมีเสียงพยัญชนะจริงๆ เพียง 21 เสียง ที่เหลือจะเป็นพยัญชนะที่เสียงซ้ำกัน หรือกล่าวได้ว่า พยัญชนะไทยมี 44 รูป 21 เสียงดังนี้
ลำดับ |
เสียงพยัญชนะ |
รูปพยัญชนะ |
1 |
ก |
ก |
2 |
ค |
ข ฃ ค ฅ ฆ |
3 |
ง |
ง |
4 |
จ |
จ |
5 |
ช |
ช ฌ ฉ |
6 |
ซ |
ซ ศ ษ ส |
7 |
ด |
ด ฎ |
8 |
ต |
ต ฏ |
9 |
ท |
ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ |
10 |
น |
น ณ |
11 |
บ |
บ |
12 |
ป |
ป |
13 |
พ |
พ ภ ผ |
14 |
ฟ |
ฟ ฝ |
15 |
ม |
ม |
16 |
ย |
ย |
17 |
ร |
ร |
18 |
ล |
ล ฬ |
19 |
ว |
ว |
20 |
ฮ |
ฮ ห |
21 |
อ |
อ |
ภาษาไทยของเราเป็นภาษาที่มีคำใช้งานมากมาย นักภาษาศาตร์ไทยแต่โบราณช่วยกันออกแบบรูปพยัญชนะขึ้นใช้งาน ตามการใช้ที่หลากหลายในการเขียน ตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์อักษรไทย ซึ่งมีไม่ถึง 44 ตัว มาจนครบ 44 ตัวในสมัยปัจจุบัน
3. เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี
ภาษาไทยเป็นภาษาเสียงดนตรี เพราะเรามีวรรณยุกต์ใช้ จึงทำให้เกิดเสียงต่ำ เสียงสูง วรรณยุกต์ในภาษาไทยมี 4 รูป แต่มี 5 เสียงคือ เอก โท ตรี จัตวา ซึ่งใกล้เคียงกับโน้ตดนตรีสากลที่มี 7 เสียงคือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที
การมีวรรณยุกต์ใช้ ทำให้สามารถเพิ่มคำได้มากมาย โดยไม่ต้องสร้างคำศัพท์ที่เขียนแตกต่างกันมากเกินไป เพราะวรรณยุกต์ที่เปลี่ยนไป ทำให้คำมีระดับเสียงเปลี่ยนไปด้วย จึงสามารถใช้แทนความหมายได้มากตาม เช่น จอ จ่อ จ้อ จ๊อ (พุทรา) จ๋อ
เราใช้สัญลักษณ์กำกับแทนเสียงวรรณยุกต์ดังนี้
เสียงวรรณยุกต์ |
รูปวรรณยุกต์ |
ตัวอย่าง |
1. เสียงสามัญ |
ไม่มีรูป |
กิน ตา งง |
2. เสียงเอก |
่ |
ข่าว ปาก ศัพท์ |
3. เสียงโท |
้ |
ชอบ นั่ง ใกล้ |
4. เสียงตรี |
๊ |
งิ๊ว รัก เกี๊ยะ |
5. เสียงจัตวา |
๋ |
ฉัน หนังสือ เก๋ |
ด้วยพยัญชนะ 44 ตัว กับสระอีก 32 เสียง รวมกับวรรณยุกต์อีก 5 เสียง ทำให้เราสามารถสร้างคำศัพท์ใช้ได้มากมายมหาศาล นี่คือผลงานของนักปราชญ์ภาษาไทยแต่โบราณมา
มาตราตัวสะกด
ในเสียงพยัญชนะ 21 เสียง มีเพียง 8 เสียงเท่านั้นที่ใช้เป็นตัวสะกดได้ โดยสามารถแบ่งออกเป็นมาตราตัวสะกดได้ ดังต่อไปนี้
- แม่กก มีตัวสะกดคือ ก ข ค ฆ ตัวอย่างเช่น แตก เลข มรรค เมฆ เป็นต้น
- แม่กด มีตัวสะกดคือ ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ต ถ ท ธ ศ ษ ส ตัวอย่างเช่น วาด ดุจ ราช ก๊าซ กฎ ปรากฏ รัฐ ครุฑ วุฒิ อุบัติ รถ เวท พุทธ อากาศ เศษ โอกาส เป็นต้น
- แม่กบ มีตัวสะกดคือ บ ป พ ภ ฟ ตัวอย่างเช่น ราบ บาป ภพ ลาภ กราฟ เป็นต้น
- แม่กง มีตัวสะกดคือ ง ตัวอย่างเช่น ธง หวัง ดึง เป็นต้น
- แม่กน มีตัวสะกดคือ น ญ ณ ร ล ฬ ตัวอย่างเช่น วัน เจริญ พรรณ สังขาร กาล กาฬ เป็นต้น
- แม่กม มีตัวสะกดคือ ม ตัวอย่างเช่น ลม นาม ชุม เป็นต้น
- แม่เกย มีตัวสะกดคือ ย ตัวอย่างเช่น ภัย กาย ชุ่ย เป็นต้น
- แม่เกอว มีตัวสะกดคือ ว ตัวอย่างเช่น สาว ผิว เหว เป็นต้น
นอกจากตัวสะกด 8 มาตรานี้แล้ว ยังมีมาตราแม่ ก กา ด้วย คือเสียงพยัญชนะต้นกับสระ แต่ไม่มีเสียงตัวสะกดตามหลัง เช่น วัว มี เขา เป็นต้น
เรียบเรียงโดย : อลงกรณ์ พลอยแก้ว