www.trueplookpanya.com
คลังความรู้
แนะแนว
ข่าวรับตรง
ธรรมะ




คลังความรู้ > ภาษาไทย > ม.1

การคัดลายมือตัวบรรจง
ทีมงานทรูปลูกปัญญา | 2020-06-10 20:58:15

การคัดลายมือนั้น ต้องฝึกกันตั้งแต่วัยเยาว์ ครูจะเริ่มสอนให้เด็กเขียนตัวบรรจง หรือเขียนได้สวย ตั้งแต่เรียนอนุบาล ชั้นประถม เพื่อให้ติดเป็นนิสัย การมีทักษะการเขียนที่ดี ลายมือสวยงาม เป็นระเบียบ จะเป็นที่ชื่นชอบแก่ผู้ที่ได้อ่าน เพราะอ่านง่าย อ่านสบายตา ถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของเจ้าของลายมือ

ภาพ : shutterstock.com

 

รูปแบบการคัดลายมือ

1. ตัวอักษรหัวกลม คือรูปแบบอักษรของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นตัวอักษรอย่างเป็นทางการ เช่นเดียวกับตัวอักษรจากเครื่องพิมพ์ดีด

ภาพ : kpp2.go.th

 2. ตัวอักษรแบบอาลักษณ์ เป็นแบบตัวอักษรของกองประกาศิต สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นแบบตัวอักษรที่สวยงามใช้กันมาแต่โบราณ เราอาจจะเคยเห็นในสมุดข่อยโบราณ เป็นลายมือของคนโบราณที่นิยมใช้สืบต่อกันมาหลายร้อยปี แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา จะพบในบทกวีลายมือของสุนทรภู่ ซึ่งท่านเป็นอาลักษณ์ในรัชกาลที่ 2

อาลักษณ์จะใช้ลายมือนี้ในหนังสือต่างๆ ใช้ในงานเขียนเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์ การเขียนหนังสือราชการ การเขียนกฎหมาย เช่น ในรัฐธรรมนูญ ใช้เขียนเพื่อประกาศเกียรติยศ เช่น ประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร รวมไปถึง บัตรเชิญในงานต่างๆ ก็นิยมใช้ตัวหนังสือแบบอาลักษณ์

 

ผู้ที่จะเขียนได้ ต้องเป็นคนเขียนหนังสือหัวกลมสวยงามมาก่อนแล้วค่อยๆ ฝึกลายมือแบบอาลักษณ์จนชำนาญ และบางคนก็จะติดเป็นนิสัยของตน เป็นลายมือของตน ซึ่งย่อมเป็นที่ชื่นชมแก่ผู้อ่าน เพราะน้อยคนที่จะเขียนได้ลักษณะนี้

 

เรียบเรียงโดย : อลงกรณ์ พลอยแก้ว