www.trueplookpanya.com
คลังความรู้
แนะแนว
ข่าวรับตรง
ธรรมะ




คลังความรู้ > ภาษาไทย > มัธยมปลาย

บทเรียนออนไลน์ วิชาภาษาไทย เรื่อง อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ และ ภาษาถิ่น
ทีมงานทรูปลูกปัญญา | 2016-09-10 23:14:39

ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

 

อิทธิพลของภาษาต่างประเทศและภาษาถิ่น

 

 

ภาษาถิ่นในภาษาไทย
     ภาษาถิ่น คือ ภาษาพูดที่ใช้สื่อสารในแต่ละท้องถิ่นซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตน สาเหตุที่ทำให้คนไทยแต่ละท้องถิ่นพูดต่างกัน ได้แก่ ภูมิศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงด้านเวลา การรับวัฒนธรรมและอิทธิพลภาษาอื่น

ประเภทของภาษาถิ่น

ลักษณะ

ภาษาถิ่นเหนือ

ภาษาถิ่นอีสาน

ภาษาถิ่นใต้

ภาษาถิ่นกลาง

กลายเสียงพยัญชนะต้น

 

พี่-ปี้ ช้าง-จ๊าง

นั้น-หั้น เรา-เฮา

ช้าง-ซ่าง รัก-ฮัก

เรือน-เฮือน

งาน-ฮ่าน รั้ว-หลั่ว

เงิน-เฮิน ง่าย-หาย

มีลักษณะเดียวกับภาษากรุงเทพ สำเนียงเพี้ยนตามแต่ละท้องถิ่น

 

กลายเสียงสระ

เสือ-เสีย ถึง-เถิง

ทุน-ทึน ถูก-ถืก

ชื่อ-เช่อ  อิ่ม-เอม

ปลูก-โปลก

 

เสียงควบกล้ำ

 เปรต-เผต 

โคลง-กะลง

มะปราง- หม่าผาง

 แขวน-แขน

กลัว-กัว

กวาง-กวง*

เคล้า-ขล่าว

กราบ-กลาบ***

ลื่น-เมฺลิ่น****

ฝา-คว้า*****

กลายเสียงพยัญชนะสะกด

เกือก-เกิบ หีบ-หีด

เสียด-เสียบ

กุด-กุ้น ลืม-มื้น

กระบอก-กะโบง

แฝด-แฝบ คับ-คัด

เอือม-เอือน

วรรณยุกต์

ตรีเพี้ยน

 

ตรี ตรีเพี้ยน จัตวา

อื่น ๆ

สับเสียงพยัญชนะ

ตะกร้า-กะต้า

 

ตัดพยางค์หน้า

จมูก-มู้ก 

สำรับ-มฺรับ**

ใช้ หมาก แทน มะ

มะม่วง-หมากม่วง

 

กลมกลืนเสียง

มะระ-มฺล๋ะ

มะลิ-เมฺล๋ะ

 

* ควบกล้ำ สระ อา จะออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวแรก และกลายเสียงสระ อา เป็น อัว เช่น ขวา-ขัว
** การตัดคำที่มี ม นำ หรือ ห นำ ทำให้เกิดเสียงควบกล้ำ เช่น ชำแหละ-แหมฺละ
*** ภาษาใต้นิยมควบกล้ำ แต่จะเปลี่ยน เป็น
**** ภาษาใต้นิยมควบกล้ำ แม้คำนั้นจะไม่ใช่คำควบกล้ำก็ตาม เช่น ลืมตา-เมฺลินตา
***** ภาษาใต้นิยมควบกล้ำ มีการกลายเสียงควบกล้ำบางคำ เช่น ขวาน-ฟ้าน ฟ้า-ขว่า ฟัน-ควั่น


ตารางเปรียบเทียบตัวอย่างคำไทยถิ่นต่าง ๆ

คำไทยกลาง

คำไทยเหนือ

คำไทยอีสาน

คำไทยใต้

                                                                   เครือญาติ

พ่อ

ป้อ

ผ่อ

ผ่อ

ปู่

ป้ออุ๊ย

ปู่

โป

ย่า

แม่อุ๊ย

ย่า, ญ่า

หย่า

                                                                    ร่างกาย

จมูก

ดัง, ฮูดัง

ดัง, หูดัง

มู้ก

ฟัน

เขี้ยว

แข่ว

ฟัน

ท้อง

ต๊อง

ท่อง

พุง

                                                                    วันเวลา

วันพรุ่งนี้

วันพูด, วันพูก

มื่ออื่น

ตอเช้า, ตอโพก

เมื่อวาน

ตาวา, วันวา

มื่อสาน

แตวา. แลกวา

เมื่อวานซืน

วานซืน

มื่อก่อน

แตซือ, แลกวาซือ

                                                                  กริยาอาการ

พูด

อู้

เว้า

แหลง

เดิน

ย่าง

ย่าง (นาสิก)

เดิน

กระโดด

วิด

โตน

โดด

                                                           พืชผักและผลไม้ต่าง ๆ

ขมิ้น

ข้าวหมิ้น

ขี่หมิ้น, เข้าหมิ้น

ขี้หมิ้น

ขนุน

มะหนุน

บักมี่, หมากมี่

โลกหนุน

มะละกอ

บ่าก้วยเต้ด

บักฮุ่ง

ลอกอ

                                                                   สัตว์ต่าง ๆ

ผีเสื้อ

ก๋ำเบ้อ

แมงกะเบี้ย, แมงกะเบื้อ

ผีเสื้อ

จิ้งจก

จั๋กกิ้ม

ขี่เจี้ยม

ตีนจก

กิ้งก่า

ขั๊กก่า

กะปอม

กิ้งก่า

                                                                    เบ็ดเตล็ด

อร่อย

ลำ

แซบ

หร้อย

ภูเขา

ดอบ

ภู

เขา, ควน

โกหก

ขี้จุ๊

ขี้ตัวะ

ขี้หก

กลับ

ปิ๊ก

เมือ

หลบ

 


ภาษาต่างประเทศที่นำมาใช้ในภาษาไทย
     สาเหตุที่ทำให้เกิดการยืมภาษา ได้แก่ การรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ การย้ายถิ่น การติดต่อทางการค้า การเผยแผ่ศาสนาและวัฒนธรรม การศึกษา และการมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศอื่น

ภาษาบาลีสันสกฤต
ความแตกต่างระหว่างภาษาบาลีและสันสกฤต

ลักษณะ

บาลี

สันสกฤต

สระ

อา อิ อี อุ อู เอ โอ

อา อิ อี อุ อู เอ โอ ไอ เอา ฤ ฤๅ

พยัญชนะ

๓๓ เสียง

๓๕ เสียง มี ศ ษ

ควบกล้ำ

ไม่นิยมควบกล้ำ

นิยมควบกล้ำ

คำที่มีคำเคราะห์

ใช้ คห ซึ่งไม่นิยมในภาษาไทย

มีคำว่า เคราะห์ ต่อท้ายคำ

ฑ ฬ

ใช้

ใช้ ฑ ท

คำที่ใช้ รร

ไม่ใช้ รร

ใช้ รร

หลักการตัวสะกดตัวตาม

บังคับตัวสะกดตัวตาม

ไม่บังคับตัวสะกดตัวตาม



ภาษาสันสกฤตไม่มีระบบการสะกดคำอย่างบาลี
พยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤต

วรรค

แถวที่ ๑

แถวที่ ๒

แถวที่ ๓

แถวที่ ๔

แถวที่ ๕

วรรค กะ

วรรค จะ

วรรค ฏะ

วรรค ตะ

วรรค ปะ

เศษวรรค

ย ร ล ว (ศ ษ) ส ฟ ฬ    (นฤคหิต)


คำบาลี บังคับตัวสะกดตัวตาม
๑. แถวที่ ๑ สะกด ตามด้วยแถวที่ ๑, ๒ เช่น สักกะ กิจจะ อิจฉา วัตถุ บุปผา
๒. แถวที่ ๓ สะกด ตามด้วยแถวที่ ๓, ๔ เช่น อัคคี พยัคฆ์ อิทธิ นิพพาน
๓. แถวที่ ๕ สะกด ตามด้วยวรรคเดียวกันได้ทุกตัว หรือตามด้วยเศษวรรค เช่น กัมปนาท สังวร
๔. สะกดด้วยเศษวรรค ย ล ส ตามด้วยตัวเอง เช่น อัยยิกา วัลลภ อัสสุ
๕. สะกดด้วยเศษวรรค ย ล ว ฬ ตามด้วยเศษวรรค เช่น ดุล ชิวหา วรุฬห์ คุยห


     คำสันสกฤต ไม่บังคับตัวสะกดตัวตาม พยัญชนะวรรคใดจะเป็นตัวสะกดหรือตัวตามก็ได้ เช่น ปักษิน มนัส บัญชี ปฤจฉา ฤทธิ ปรัชญา ภักดี พักตร์ จักษุ อัคนี มัตสยา ปัศจิม อัศเจรีย์ อธิษฐาน สัปดาห์
     วิธีการนำคำภาษาบาลีสันสกฤตมาใช้ในภาษาไทย ต้องเลือกคำที่ออกเสียงได้สะดวก ใกล้เคียงกับเสียงในภาษาไทย อาจดัดแปลงเสียงสระหรือพยัญชนะ(ไวทฺย เปลี่ยนเป็น แพทย์) เพิ่มหรือลดเสียงเพื่อให้เหมาะสมกับเสียงในภาษาไทยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงความหมายหรือกำหนดความหมายขึ้นมาใหม่ (อนาถ ความหมายเดิม คือ ไม่มีที่พึ่ง ความหมายใหม่ คือ น่าสงสาร)


ภาษาเขมร
     ภาษาเขมรมีรูปแบบและการออกเสียงคล้ายกับภาษาไทย มักใช้ในคำราชาศัพท์และวรรณคดีที่เกี่ยวกับศาสนาหรือพิธีกรรม การนำคำเขมรมาใช้ ต้องเลือกคำที่ออกเสียงสะดวก ปรับปรุงรูป เสียง และความหมายให้สอดคล้องกับภาษาไทย

ลักษณะคำเขมรที่นำมาใช้ในภาษาไทย
๑. มักสะกดด้วย จ ญ ด น ร ล ส เช่น ขจร เผด็จ จรัส ตรัส เพ็ญ ตำบล
๒. มักเป็นคำควบกล้ำหรืออักษรนำ เช่น ขจัด เสด็จ ไผท เสวย จมูก ตลบ ไพร
๓. นิยมเติมคำหน้ากริยาหรือวิเศษณ์ ได้แก่ บัง บัน บำ ป ผ กำ ปร เช่น บังเกิด บันดาล บำบัด ปราบ เผด็จ กำบัง ประชุม
๔. ใช้คำเติมกลางในกริยา หรือคำวิเศษณ์ ได้แก่ -ํน -ำ -ํห บ ม เช่น กำเนิด ดำรง จังหัน เขนย ระเบียบ เทมิน (เดิน)
ตัวอย่างคำเขมรที่ใช้ในภาษาไทย กระทรวง กระบือ ขนม เขม่า ปรุง เพลิง กระแส ทบวง เดิน โคม สำราญ สไบ บำเพ็ญ กำเนิด กระโปรง ทหาร บำเรอ บังคม บรรทัด ผลาญ กระเพาะ ฉลอง สนิม สำเนา


ภาษาจีน
     ภาษาจีนมักมีพยัญชนะต้นเป็นอักษรกลางประสมกับวรรณยุกต์เสียงตรีและจัตวา เช่น เจ๊ ก๊ก บ๊วย อีกทั้งยังนิยมประสมสระเอียะ อัวะ เช่น เจี๊ยะ เกี๊ยะ ผัวะ ยัวะ
     ตัวอย่างคำภาษาจีนที่ใช้ในภาษาไทย กงสี เกาเหลา เก้าอี้ ขึ้นฉ่าย จับกัง เจ๊า ซ้อ ตั๋ว เตี่ย แต๊ะเอีย แป๊ะเจ๊ยะ ปุ้งกี๋ พะโล้ ยี่ห้อ โสหุ้ย ห้าง


ภาษาอังกฤษ
คำทับศัพท์ มีหลักดังนี้
๑. สระ ถอดเสียงสระตามพจนานุกรมอังกฤษ แล้วเทียบกับเสียงสระในภาษาไทย
. พยัญชนะ ถอดเสียงตามตารางเทียบเสียงพยัญชนะภาษาอังกฤษ
๓. การใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต กำกับพยัญชนะที่ไม่ออกเสียง
๔. การใช้ไม้ไต่คู้ เพื่อให้แยกพยางค์ได้ถูกต้อง เช่น ล็อก (log)
๕. การใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ ไม่นิยมใส่รูปวรรณยุกต์ ยกเว้นคำที่ซ้ำเสียงกับคำไทย
๖. คำที่มีพยัญชนะซ้อนเป็นตัวสะกด ศัพท์ทั่วไปตัดพยัญชนะสะกดออกตัวหนึ่ง ศัพท์วิชาการหรือชื่อเฉพาะใส่ทันฑฆาตที่ตัวท้าย เช่น ฟุตบอล (football) เซลล์ (cell) เจมส์ วัตต์ (James Watt)
. พยางค์หน้ามีเสียง อะ ให้เปลี่ยนเป็นไม้หันอากาศ และซ้อนตัวสะกดเพิ่มอีกตัวหนึ่ง เช่น ดับเบิ้ล (double) แต่ถ้ามี –er –ing –ic –y ต่อท้ายให้เพิ่มตัวสะกดของพยางค์ต้นอีกตัวหนึ่ง เช่น บุ๊กกิ้ง (booking)
๘. คำประสมที่มีเครื่องหมายยติภังค์ ( - ) ให้เขียนติดกันยกเว้นศัพท์วิชาการหรือนามเฉพาะ เช่น ครอสสติตช์ (cross-stitch) โคบอลต์-60 (cobalt-60) แต่ถ้าคำประสมเขียนแยกกัน เมื่อเขียนเป็นคำไทยให้เขียนติดกัน เช่น ไนต์คลับ (night club)
๙. คำคุณศัพท์ที่มาจากคำนาม ถ้าความหมายเหมือนนาม หรือหมายความว่า “เป็นของ” ใช้ทับศัพท์ในรูปคำนาม เช่น ความยาวโฟกัส (focus length) แต่หากทับศัพท์ในรูปคำนามแล้วกำกวม ให้ทับศัพท์ในรูปคำคุณศัพท์ เช่น ระบบเมตริก (กรดซัลฟิวริก)
๑๐. คำย่อ เขียนชื่อตัวอักษรย่อเป็นภาษาไทยโดยไม่ต้องใส่จุดหรือเว้นช่องไฟ แต่ถ้าเป็นชื่อคนให้ใส่จุด และเว้นช่องไฟระหว่างชื่อกับนามสกุล เช่น บีบีซี (B.B.C) เอ.ดี. สมิท (A.D. Smith) หากคำย่ออ่านออกเสียงเหมือนคำ ให้เขียนตามเสียงที่อ่าน เช่น ยูเนสโก (UNESCO)
      ตัวอย่างทับศัพท์ภาษาอังกฤษ กอล์ฟ (golf) ครีม (cream) กัปตัน (caption) กุ๊ก (cook) แฟชั่น (fashion) เกม (game) โฟกัส (focus) โชว์ (show) ฟาร์ม (farm) มอเตอร์ (motor) แท็กซี่ (taxi)
     อิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่มีผลต่อภาษาไทย
การรับคำภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย ทำให้ภาษาไทยกลายเป็นภาษามากพยางค์ มีคำควบกล้ำ มีตัวสะกดเพิ่มขึ้นและสะกดไม่ตรงมาตรา อีกทั้งยังมีคำศัพท์ที่หลากหลายสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับโอกาส
     วิธีการนำคำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย
การนำภาษาต่างประเทศเข้ามาใช้ต้องคำนึงถึงรูป เสียง และความหมาย อาจใช้คำเดิมที่ยืมมาเลย หากคำนั้นมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาไทย แต่หากมิเป็นเช่นนั้น ต้องดัดแปลงโดยการเปลี่ยนรูปหรือเสียงของสระและพยัญชนะ อาจตัดคำให้สั้นลง เปลี่ยนความหมายจากเดิม หรือบัญญัติศัพท์ขึ้นใหม่ เพื่อให้ได้ศัพท์ที่มีรูป เสียง และความหมาย สอดคล้องกับภาษาไทย


ศัพท์บัญญัติ
     ศัพท์บัญญัติ คือ การสร้างคำใหม่เพื่อใช้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ต้องเลือกบัญญัติจากคำไทยก่อน หากบัญญัติจากคำไทยไม่ได้ ให้เลือกคำบาลีสันสกฤตแทน แต่หากบัญญัติไม่ได้เลยให้ใช้คำทับศัพท์

ตัวอย่างศัพท์บัญญัติสาขาวิชาต่าง ๆ

คำศัพท์

ศัพท์บัญญัติ

ศัพท์คณิตศาสตร์

Absolute

สัมบูรณ์

Limit

ขีดจำกัด

Abstract

บทคัดย่อ, นามธรรม

Median

มัธยฐาน

Radical

ราก

Balance

ส่วนดุล, ดุลกัน

Range

พิสัย

Infinity

ค่าอนันต์

Ratio

อัตราส่วน

Chart

แผนภูมิ

ศัพท์การศึกษา

Ability

ความสามารถ

Concept

มโนภาพ

Activity

กิจกรรม

Credit

หน่วยกิจ

Debate

การโต้วาที

Board

คณะกรรมการ, สภา

Career

งานอาชีพ

Test

การทดสอบ

Project

โครงการ

Attitude

เจตคติ, ท่าที

ศัพท์จิตวิทยา

Autonomy

อิสรภาพ

Curious

อยากรู้อยากเห็น, แปลก

Fault

ความผิดพร่อง

 

คำศัพท์

ศัพท์บัญญัติ

ศัพท์จิตวิทยา (ต่อ)

Humour

ภาวะอารมณ์

Morale

กำลังใจ

Shut-in

เก็บตัว

Goodwill

ไมตรีจิต

Adolescence

วัยรุ่น

ศัพท์แพทย์

Severe

รุนแรง

Acute

เฉียบพลัน

Cerebral

สมอง

Emergency

ฉุกเฉิน

Genital

อวัยวะสืบพันธุ์

Infirm

ทุพพลภาพ

            Lymph              

น้ำเหลือง

Tissue

เนื้อเยื่อ

ศัพท์วิทยาศาสตร์

Adsorb

ดูดซับ

Condenser

เครื่องควบแน่น

Diffuse

แพร่

Gravity

ความโน้มถ่วง

Inertia

ความเฉื่อย

Kinetics

จลนพลศาสตร์

Matter

สสาร, เชิงสสาร

Refract

หักเห

Acid

กรด

Circuit

วงจร

 

การใช้ภาษาในกลุ่มอาชีพหรือวงการต่าง ๆ
๑. ภาษาสื่อมวลชน ไม่เคร่งครัด ต้องเรียกร้องความสนใจ
๒. ภาษาโฆษณาและภาษาธุรกิจ มีจุดประสงค์เพื่อการขาย ต้องดึงดูดความสนใจ
๓. ภาษาวิชาการหรือภาษาราชการ เป็นภาษาที่ราบเรียบ เคร่งครัดในระเบียบแบบแผน
๔. ภาษาทางการเมือง เรียบง่ายและโน้มน้าวใจ แสดงความจริง เช่น เปิดสภา อภิปรายไม่ไว้วางใจ
๕. ภาษาทางกฎหมาย พบในเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นทางการ กระชับ ต้องตีความ
๖. ภาษาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มักเป็นศัพท์เฉพาะ
๗. ภาษาวงการกีฬา เช่น ทีมเสื้อกล้าม (ทีมนักมวย) ศึกลูกหนัง (การแข่งขันฟุตบอล)
๘. ภาษาของกลุ่มวัยรุ่น นิยมในช่วงสั้น ๆ
๙. ภาษาของวงการบันเทิง ใช้ในกลุ่มนักร้อง-นักแสดง เช่น เดินกล้อง (เริ่มถ่ายทำ)


สรุป
การศึกษาถึงอิทธิพลของภาษาต่างประเทศและภาษาถิ่น ทำให้เข้าใจและรู้ความหมายของคำภาษาต่างประเทศและภาษาถิ่นที่สื่อสารในชีวิตประจำวัน

 

คำสำคัญ  ภาษาถิ่น ภาษาบาลีสันสกฤต ภาษาเขมร ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ ศัพท์บัญญัติ คำทับศัพท์ ภาษาเฉพาะกลุ่ม

 

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th