www.trueplookpanya.com
คลังความรู้
แนะแนว
ข่าวรับตรง
ธรรมะ




คลังความรู้ > สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม > ม.1

บทเรียนออนไลน์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง พระธรรม
ทีมงานทรูปลูกปัญญา | 2016-08-30 22:14:08

ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้

 

พระธรรม

 

 

             1. หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

              พระรัตนตรัย  คือ แก้วสามประการ ได้แก่

              –   พระพุทธ

              –   พระธรรม

              –   พระสงฆ์ 

 

พระรัตนตรัย

 

 

          พุทธคุณ 9    มีดังนี้

              –   อะระหัง ทรงเป็นพระอรหันต์

              –   สัมมาสัมพุทโธ ทรงเป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ

              –   วิชชาจะระณะสัมปันโน ทรงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

              –   สุคะโต เสด็จไปดีแล้ว

              –   โลกะวิทู ทรงรู้แจ้งโลก

              –   อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ ทรงเป็นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า

              –   สัตถา เทวะมะนุสสานัง ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์

              –   พุทโธ ทรงเป็นผู้ตื่นและเบิกบาน

              –   ภะคะวา ทรงมีโชคและเป็นผู้จำแนกแจกแจงธรรม

 

             พุทธคุณ 9 สรุปย่อในพุทธคุณ 3  ได้แก่

              –   พระปัญญาคุณ

              –   พระวิสุทธิคุณ

              –   พระกรุณาคุณ

 

พุทธคุณ 3

  

 

 พระอรหันต์

 

 

  

พระพุทธเจ้าทรงผู้ตื่นและผู้เบิกบาน

  

           อริยสัจ 4

           ได้แก่

              –   ทุกข์ ความไม่สบายกาย

              –   สมุทัย ต้นเหตุของทุกข์

              –   นิโรธ สภาพปราศจากทุกข์

              –   มรรค หนทางดับทุกข์

        

           ทุกข์    ได้แก่ ขันธ์ 5 และธาตุ 4

          ขันธ์ 5  

          ได้แก่

              –   รูป

              –   เวทนา

              –   สัญญา

              –   สังขาร

              –   วิญญาณ

 

ขันธ์ 5

    

 ส่วนต่างๆประบกันเรียกว่ารถยนต์

  

          ธาตุ 4    เป็นส่วนสำคัญที่คุ้มกันเป็นร่างของทุกสิ่ง ได้แก่ 

              –   ธาตุดิน  คือ ส่วนประกอบร่างกายที่แข็ง  

              –   ธาตุน้ำ คือ ส่วนประกอบร่างกายที่เหลว

              –   ธาตุลม คือ ส่วนประกอบร่างกายที่เคลื่อนไหวหรือทำให้เคลื่อนไหว

              –   ธาตุไฟ คือ ส่วนประกอบร่างกายที่ร้อน

 


ธาตุ 4

             

              สมุทัย  ได้แก่ หลักกรรมและอบายมุข 6             

              หลักกรรม  ทุกคนมีกรรม เป็นผู้รับผลกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง ทำกรรมดีหรือชั่ว ต้องรับผลของกรรมนั้น  

 สมุทัย

     

           อบายมุข 6     เป็นหนทางความเสื่อมและความพินาศได้แก่

              –   การชอบเที่ยวกลางคืน

              –   ชอบเที่ยวดูการละเล่น

              –   เป็นนักเลงสุรา    

 

 อบายมุข

   

สุรา

  

 

              –           เป็นนักเลงพนัน

              –           เกียจคร้านการทำงาน 

 

 

เราจึงไม่ควรเกียจคร้าน

 

 

              –        คบคนชั่ว

  

              นิโรธ   ได้แก่ สุข 2 และคิหิสุข 4             

              สุข 2    จำแนกเป็น 2 ประเภท คือ

              –   กายิกสุข คือ ความสบายกาย

   

 

 

 สุข

 

                   –   เจตสิกสุข คือ ความสบายใจ

           

                  คิหิสุข 4 มี 4 ประการ คือ

              –   อัตถิสุข คือ ความสุขจากการมีทรัพย์ 

 

คิหิสุข

  

 

 

            –  อนวัชชสุข คือ ความสุขจากการประกอบสัมมาชีพ

             

               มรรค ได้แก่ กรรมฐาน 2 ไตรสิกขา โกศล 3 ปธาน 4 และมงคล 38             

               กรรมฐาน 2  มี 2 วิธี คือ

              –   สมถกรรมฐาน ทำใจให้สงบ ปราศจากนิวรณ์ หรือสิ่งขุ่นมัวไม่ให้จิตแสดงความสามารถได้เต็มที่

              –   วิปัสสนากรรมฐาน ฝึกให้เกิดปัญญาตามจริง ได้แก่ พิจารณาสิ่งเห็นที่ตามสภาพจริง จนปล่อยวางได้ จนไม่อยากทำความชั่วเพราะความอยาก

             

              ไตรสิกขา

              ได้แก่

              –   อธิสีลสิกขา คือ การฝึกเรื่องศีล

              –   อธิจิตตสิกขา คือ การฝึกพัฒนาจิตใจ 

  

 

 ไตรสิกขา

 

  

การฝึกสมาธิ

  

 

                   –        อธิปัญญาสิกขา คือ การฝึกปัญญา  

 

 การฝึกปัญญา

 

 

                       โกศล 3 ได้แก่

                 –     อายโกศล หมายถึง หนทางการเจริญก้าวหน้า  

 โกศล

 

 

                 –   อปายโกศล หมายถึง หนทางเสื่อม     

 

 หนทางเสื่อม

  

 

             –    อุปายโกศล หมายถึง การรู้วิธีแก้เหตุการณ์และวิธีทำให้สำเร็จ

 

              ปธาน 4 ได้แก่ 

              –   สังวรปธาน (เพียรระวังความชั่วที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น) 

              –   ปหานปธาน (ความเพียรละความชั่วที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป) 

              –   ภาวนาปธาน (ความเพียรสร้างความดีที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น) 

              –   อนุรักขปธาน (ความเพียรรักษาความดีที่เกิดแล้วไม่เสื่อมไปและทำเพิ่มขึ้น)   

 

 ปธาน 4

  

            มงคล 38  เช่น

              –   ไม่คบคนพาล

              –   คบบัณฑิต  

 

 มงคล 38 

                  

                  –        บูชาคนที่ควรบูชา

                 

                 การปฏิบัติตนตามหลักธรรม    ปฏิบัติเพื่อความดีงามของสังคม

                  –   เพื่อการดำรงชีวิตแบบพอเพียง ความพอเพียง 

 

 การปฏิบัติตนตามหลักธรรม

 

  

                    –      เพื่อการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อม

                 

                    2. พุทธศาสนสุภาษิต   เป็นคำสอนสั้นๆ แต่แฝงข้อคิดหรือคติสอนใจให้ปฏิบัติตาม จำแนกกว้างๆ ได้ 4 ประเภท ได้แก่ พุทธภาษิต เถรภาษิต โพธิสัตวภาษิต และ ภาษิต  เช่น

                  –   ยํ เว เสวติ ตาทิโส (คบคนเช่นใด เป็นคนเช่นนั้น)

                  –   อตฺตนา โจทยตฺตานํ (จงเตือนตนด้วยตน)  

  

 

 พุทธศาสนสุภาษิต

   

 

                  –   นิสมฺม กรณํ เสยฺโย (ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำดีกว่า)   

 

 ในการเรียนการทำงานควรใคร่ครวญให้ดี

                  

                –  ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา (เรือนที่ครองไม่ดี นำทุกข์มาให้)  

 

 การอยู่เป็นครอบครัว

 

 

แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th