www.trueplookpanya.com
คลังความรู้
แนะแนว
ข่าวรับตรง
ธรรมะ




แนะแนว > บทความน่าอ่าน

Resume ตอนที่ 1 : เขียนอะไร..ในเรซูเม่?
ทีมงานทรูปลูกปัญญา | 2016-02-11 10:05:45

เรื่อง: จอม - เอกพนิฏฐ์ นาคนคร


Resume ตอนที่ 1 : เขียนอะไร..ในเรซูเม่?


เรซูเม่ (Resume) ควรแสดงคุณสมบัติที่พิเศษของเราที่เหมาะสมกับจุดประสงค์ของการส่งเรซูเม่นี้อย่างกระชับ เช่นว่าเป็นการสมัครเรียน สมัครงาน หรือสมัครทุน
บทความนี้จะแสดงประเด็นที่ใช้ในการเขียนเรซูเม่ ซึ่งสามารถมองโครงสร้างข้อมูลได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนที่เป็นใจความสำคัญอย่างขาดไม่ได้ และ ส่วนสนับสนุน (ตัวอย่างการเขียนจะมาในบทความต่อไปค่ะ)

1. ส่วนใจความสำคัญที่เรซูเม่ ควรแสดง และขาดไม่ได้ | Essential / Core of Resume
 

- การศึกษา (Education)
- ความถนัด (Expertise / Core Competencies)
- ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง (Relevant Experiences)

เรซูเม่เราต้องครอบคลุมแก่นของสามประเด็นนี้ได้ แต่ละคนไม่จำเป็นต้องจัดเหมือนกัน หรือใช้คำศัพท์เดียวเสมอไป แต่แค่ต้องให้คนเข้าใจง่าย เช่น บางคนเลือก ใช้ Skills ขางคน ใช้คำว่า Expertise ที่สำคัญคือใช้ภาษาให้คนอ่านเข้าใจสิ่งที่เราจะสื่อได้ทันที ไม่ต้องคิดเยอะ ดังนั้นการใช้ศัพท์ที่ผู้อ่านคุ้นเคยอยู่แล้ว จะทำให้เข้าใจง่าย และสะดวกกว่า

Highlight / Statement :
หลายกรณี เราสามารถเลือกที่จะแสดงหัวข้อแรก เป็น Statement ที่เหมือนเราเขียนสรุป สอง-สามประเด็นในข้อดีของเรา ในรูปแบบของประโยค
ตรงหัวข้อนี้ช่วยได้มากในการทำให้ผู้อ่านเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญเร็วขึ้นกว่าอ่านลงไปถึงด้านล่างของหน้า และยังช่วยลดการใช้หัวข้อไปได้ 1-2 ข้อ เช่น ได้รางวัลมา และได้ไปพรีเซนท์ที่งานแห่งหนึ่ง แทนที่จะแบ่งออกไปสองหัวข้อให้ซ้ำซ้อนก็มาไฮไลท์ตรงหัวข้อแรกเลย สามารถทำกราฟฟิคแสดง Skills โดยใช้พวก Icon หรือ Diagrams แสดงได้ทำให้น่าสนใจ ซึ่งจะพูดถึงในตอนต่อไป


2. ส่วนสนับสนุน และ องค์ประกอบเสริมที่มีในเรซูเม่ | Supportive Information
 

หัวข้ออื่นๆ เช่น Awards, publlication, leadership, lectures and etc นั้นขึ้นอยู่กับแต่ละคน บางคนอาจจะมีข้อมูลบางหัวข้อแต่ไม่มีอีกหัวข้อ ข้อมูลส่วนนี้เป็นส่วนช่วยในการสนับสนุนสกิลโดยรวมของเราแม้จะไม่ใช่แก่น แต่ก็ช่วยบอกความพิเศษของตัวเราที่แตกต่างจากคนอื่นได้ ดังนั้นต้องมี แต่ไม่จำเป็นต้องใส่ทุกอย่าง เลือกสิ่งที่จะใส่ให้เหมาะกับงานและสถานที่ที่เราจะสมัครหรือโอกาสนั้นๆ สำหรับนักเรียนจบใหม่ ที่ประสบการณ์การทำงานยังไม่เยอะ และไม่มี selected works มาก ก็สามารถใช้หัวข้ออื่นเล่ากิจกรรมต่างๆ เช่นพวก workshop, leadership
แต่ถ้าอยากรู้ว่าความเป็นไปได้ในการเขียนเรซูเม่ถ้าเอาทุกอย่างเลยจะมีอะไรบ้าง ลองดูตัวอย่างข้างใต้นี้ค่ะ ก็จะมีตัวอย่างของทุกสิ่งในโลก แต่คงไม่มีใครเอามาใช้จากทั้งหมดนี้เพราะแค่หัวข้อก็หมดหน้าแล้ว
 


ข้อคิดในการทำเรซูเม่ | Resume Tips
- กระชับ ตรงไปตรงมา อ่านง่าย และ ควรมีหน้าเดียวเท่านั้น!! (อย่าอัดเต็มหน้ากระดาษ จนหายใจไม่ออก)
- ควรเลือกและกรองข้อมูลให้เหมาะกับการใช้งาน ไม่ต้องเอาหมด ถ้าเราใส่ทุกอย่างลงไปหมด คนอ่านจะไม่รู้จะอ่านอะไรที่ดูสำคัญกว่า
- ทำเป็นหลายเวอชั่นได้ เช่นเวอชั่นเต็ม มีครบทุกอย่างและ เวอชั่นที่กรองลงมา ก็ตัดบางหัวข้อทิ้งไป ให้ไม่เยิ่นเย้อ และจบในหนึ่งหน้า
- ไม่จำเป็นต้องใส่วันเกิด ศาสนา และ สิ่งที่ไม่จำเป็น

ตัวอย่างของการเลือกให้เหมาะกับตัวเองค่ะ
 




แล้วหัวข้อที่เหมาะกับตัวคุณ คืออะไรคะ? ลองเลือกกันดูนะคะ ถ้ามีอะไรที่ควรเพิ่มเติมก็แนะนำกันมาได้เลยนะคะ
ขั้นตอนต่อไป คือการนำหัวข้อเหล่านี้ไปเขียนเป็นเรซูเม่จริง ที่จอมจะเขียนต่อในบทความต่อไปนะคะ ติดตามชมต่อตอนที่ 2 ตัวอย่างการเขียนเรซูเม่ได้ที่นี่เลยค่ะ

ขอบคุณที่ติดตามค่ะ!


Jom Dream Action - ภูมิสถาปนิกจากรั้วสถาปัตย์ จุฬาฯ สู่การทำงานในบริษัทแนวหน้าระดับโลกที่ประเทศสหรัฐอเมริการ่วม 10 ปี จอมคว้าฝันที่เธอตั้งใจได้ ด้วยความพยายามและตั้งใจทำงานสายออกแบบ อ่านเรื่องราวของจอมได้ที่ "เด็กสถาปัตย์ธรรมดา คว้าฝันไกล ในอเมริกา" และ การแชร์เรื่องราวประสบการณ์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาชีพออกแบบ และแบ่งปันวิธีการเตรียมตัวคว้าฝันที่ http://dreamaction.co 
ถ้ามีคำถามติดต่อหาจอมโดยตรงได้เลย