สุนิตย์ เชรษฐา
ทีมงานทรูปลูกปัญญา | 2013-04-25 09:28:30
“ คำว่าผู้ประกอบการ
ที่ผมเรียนรู้มันไม่ใช่ผู้ประกอบ
การที่เป็นเถ้าแก่เพียงอย่างเดียว
แต่เป็นผู้ประกอบการที่เห็นโอกาส
ทางเศรษฐกิจหรือสังคมแล้ว
ไปทำให้มันสำเร็จและขยายผลได้”
สุนิตย์ เชรษฐา - มืออาชีพเพื่อสังคม
“การมองเห็นโอกาสใหม่ๆ โดยเฉพาะโอกาสทางสังคม เมื่อมองเห็นโอกาส มองเห็นปัญหา แล้วจึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะพัฒนาโอกาสเหล่านั้นให้เป็นความจริงขึ้นมา กลายเป็นโครงการ กิจการ หรือ องค์กรขึ้นมาและดำเนินไปได้อย่างยั่งยืน นั้นคือสามารถขยายผลในทางสังคม โดยที่สามารถสร้างรายได้ระดับหนึ่งที่จะเลี้ยงตัวเอง และขยายการเติบโตของกิจการเพื่อสังคมนั้นๆ”
แนวคิดเรื่อง ‘ผู้ประกอบการสังคม’ หรือ Social Entrepreneur กำลังเป็นอีกหนึ่งกระแสใหม่ที่ขยายวงมากขึ้น พร้อมๆ ปรากฏการณ์การแตกตัวของ ‘ภาคประชาชน’ ที่เข้าที่ร่วมด้วยช่วยกันแก้ปัญหาสังคม
ในมุมมองของคุณสุนิตย์ เชรษฐา ผู้อำนวนการสถาบัน Change Fusion ความหมายของคำว่าผุ้ประกอบการ มีความหมายที่ลึกซึ้งกว่า การทำเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องของการมองเห็นโอกาสใหม่ๆ โดยเฉพาะโอกาสทางสังคม เมื่อมองเห็นโอกาส มองเห็นปัญหา แล้วจึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะพัฒนาโอกาสเหล่านั้นให้เป็นความจริงขึ้นมา กลายเป็นโครงการ กิจการ หรือ องค์กรขึ้นมาและดำเนินไปได้อย่างยั่งยืน คือสามารถขยายผลในทางสังคม
โดยที่สามารถสร้างรายได้ระดับหนึ่งที่จะเลี้ยงตัวเอง และขยายการเติบโตของกิจการเพื่อสังคมนั้นๆ
“แนวคิดของ
ผู้ประกอบการสังคม
โดยสรุปก็คือการพยายาม
มองให้เห็นปัญหาทางสังคม
ที่สนใจ มองโอกาสว่ามีโอกาส
ที่จะพอทำอะไรได้บ้างไหม
เพราะหลายๆปัญหาในสังคม
จริงๆ มีคนทำวิธีแก้อยู่
แต่อาจจะยังเล็กอยู่”
“แนวคิดของผู้ประกอบการสังคมโดยสรุปก็คือการพยายามมองให้เห็นปัญหาทางสังคมที่สนใจ มองโอกาสว่ามีโอกาสที่จะพอทำอะไรได้บ้างไหม เพราะหลายๆปัญหาในสังคม จริงๆ มีคนทำวิธีแก้อยู่ แต่อาจจะยังเล็กอยู่ หรือบางปัญหาอาจมีคนที่เคยมีประสบการ์ณมาก่อนแล้วในต่างประเทศ มีโมเดลไหนที่เราเอามาประยุกต์ใช้กับเมืองไทยได้บ้างแล้วพยายามทำให้เกิดทางแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมขึ้นมา”
ว่าไปแล้วผู้ประกอบการสังคม ก็คือคนที่เป็นนักคิดกล้าคิด และอยากเปลี่ยนแปลงโลก โดยตั้งต้นวิธีคิด จากการทำโครงการดีๆเพื่อสังคม มีความมุ่งมั่น และคุณธรรมรู้จักดึงทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชนสูงสุด และรู้ว่า จะทำโครงการไปสู้เป้าหมายอย่างไร และบริหารจัดการอย่างไรถึงยั่งยืน
คุณสุนิตย์ เล่าว่า ในเมืองไทยตัวอย่างของการประกอบการเพื่อสังคม ที่เริ่มต้นโครงการมาอย่างยาวนานและเป็นที่รู้จักในวงกว้าง เช่น การตั้งมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงของสมเด็จย่า เพื่อแก้ปัญหาชาวเขาและยาเสพติดในแถบดอยตุง ซึ่งเคยเป็นแหล่งผลิตยาเสพติด แทนที่จะแก้ปัญหาโดยการปราบปรามเข้าไปเผาพวกยาเสพติด สมเด็จย่าทรงมองเห็นโอกาสใหม่ๆในการแก้ปัญหา ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดอาชีพไม่มีรายได้ การแก้ปัญหาโดยการปลูกพืชเศรษฐกิจที่ปลูกได้ที่เฉพาะภาคเหนือจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการเข้ามาสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้กับชาวเขา ทดแทนการปลูกพืชเพื่อทำยาเสพติด จนกระทั่งปัจจุบันโมเดลการพัฒนาดอยตุง พัฒนาสู่การสร้างแบรนด์ดอยตุง สามารถที่รายได้เลี้ยงตัวเองได้ มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนและมั่นคง
ขณะที่ปัจจุบันมีหลายองค์กรที่ก้าวสู่เส้นทางทางกิจการเพื่อสังคมซึ่ง Change Fusion ก็เป็นหนึ่งในนั้น โดยทำงานเป็นสถาบันภายใต้มูลนิธิชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จากการรวมกลุ่มตั้งแต่สมัยยังเป็นนักศึกษาที่สนใจอยากเข้ามามีส่วนพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน
“เป้าหมายและแนวทางของเราคือเน้นเรื่องนวัตกรรมเพื่อสังคม หรือวิธีการคิดแก้ปัญหาสังคม สิ่งแวดล้อม สุขภาพ ด้วยวิธีการใหม่ๆ เครื่องมือหรือเทคโนโลยีใหม่ๆซึ่งบางทีอาจเป็นการเอาวิธีดังเดิมมาคิดประยุกต์ใหม่โดยงานหลักๆของเราตอนนี้จะมีอยู่สองด้านใหญ่ๆ ที่เห็นเป็นรูปธรรมคิดงานสายเทคโนโลยีและสายเกี่ยวกับการประกอบกิจการเพื่อสังคม”
ตัวอย่างหนึ่งของผลงานสายเทคโนโลยี เช่นการให้การสนับสนุน “โอเพ่นดรีม” (Opendream) ผู้ให้บริการด้านการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ รวมไปถึงเทคโนลีการสื่อสารอื่นๆ ให้แก่องค์กรอิสระที่ทำงานแก้ปัญหาสังคม
“โอเพ่นดรีม ภาษาไทยแปลว่า เปิดความฝัน เขาเป็นกลุ่มโปรแกรมเมอร์ที่ทำเว็บทำระบบข้อมูล เดิมเขาอยู่ในบริษัทขนาดใหญ่แล้วเบื่อก็เลยลาออกมา ตั้งเป้าที่จะทำเว็บทำระบบข้อมูล เดิมเขาอยู่ในระบบข้อมูลทำแอพพลิเคชั่นบนมือถือเพื่อโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เช่น ร่วมมือกันมูลนิธิหมอชาวบ้านและสสส. (สำนักงานกองทุนสนุบสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ) จัดทำคู่มือหมอชาวบ้านในรูปโมบาย แอพพลิเคชั่น “ DoctorMe” แอพพลิเคขั่นตรวจสุขภาพด้วยตัวเอง ซึ่งได้รวบรวมข้อมูลการดูแลสุขภาพ ลักษณะอาการเจ็บป่วย และวิธีการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ เป็นเหมือนฐานข้อมูลสุขภาพเบื้องต้นซึ่งได้รับความนิยมมีผู้ดาวโหลดใช้ 2-3 แสนเครื่อง แล้ว เป้าหมายของเขาไม่ได้ต้องการที่จะสร้างกำไรโดยตรง แต่ว่าอาจจะเข้าตอบโจทย์แก้ปัญหาสังคมโดยหาสปอนเซอร์มาช่วยสนับสนุน พอเริ่มมีจำนวนผู้ใช้มากขึ้นก็สามารถที่จะคิดถึงโอกาสการสร้างรายได้ที่จะทำให้โครงการยั่งยืน ปัจจุบันเขามีทีมงานเกือบ 30 คนแล้วหนังจากเริ่มทำมาประมาณ 3 ปี”
คุณสุนิตย์ เล่าถึงอีกหนึ่งความร่วมมอด้านเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น เช่น ในช่วงสถานการณ์น้ำท่วมที่ร่วมมือกับเครือข่ายจิตอาสาเว็บไซต์ www.floodtembon.org เพื่อนำเสนอ และเผยแพร่ข้อมูลพื้นที่ที่ประสบภัยระดับตำบลเชิงลึก โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม หรือกลุ่มอาสาสมัครต่างๆ ให้สะดวกต่อการลงพื้นที่และวางแผนการช่วยเหลือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขณะที่ภารกิจอีกด้านหนึ่งของเชนจ์ ฟิวชั่น คือ การส่งเสริมกิจการเพื่อสังคม สนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาทำกิจการเพื่อสังคม โดยร่วมกับองก์กรพันธมิตร เช่น โครงการอันลิมิเต็ด ไทยแลนต์ (UnLtd Thailand) เพื่อชวนคนมีฝันอยากทำธุรกิจเพื่อสังคม มาเริ่มสร้างกิจการเพื่อสังคมของตัวเองกับ UnLtd Thailand โดยเป็นพี่เลี้ยงกิจการเพื่อสังคมที่ประสบความสำเร็จร่วมกัน พร้อมทั้งให้การสนับสนุนครบวงจรทั้ง เงินทุน ความรู้ และเครือข่าย
“อย่างน้อยถือเป็นการแชร์ไอเดียเบื้องต้นก่อน ว่าสามารถร่วมมือกันได้อย่างไร แล้วถ้าโครงการไหนสามารถจะขยายตัวได้ เราก็จะเชื่อมโยงกับพวกแหล่งทุนในประเทศหรือต่างประเทศที่ตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนกิจการเพื่อสังคม”
ล่าสุด อีกหนึ่งโครงการที่ริเริ่มเข้ามาช่วยสนุบสนุนกิจการเพื่อสังคม คือ การเปิดตัว เว็บเทใจดอทคอม หรือ www.taejai.com เพื่อทำหน้าที่การระดมเงินบริจาคและความช่วยเหลืออนไลน์ โดยมีการคัดกรองโครงการต่างๆที่ต้องการความช่วยเหลือและเปิดให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเข้ามามีส่วนร่วม โดยสามารถดูโครงการที่ตัวเองสนใจและสนับสนุนได้โดยการบริจาคผ่านบัตรเครดิต
“ผมว่าพยายามคิด
ให้มันต่างจากชาวบ้านเข้าไว้
พยายามมองอะไรในมุม
ที่แปลกๆ แล้วผมว่า
สังคมมันก็จะตามมาเอง เพราะ
ไม่ว่าคุณทำอะไรมันก็โยงกับ
ชีวิตคนอื่นทั้งนั้น”
สำหรับคนที่สนใจอยากก้าวสู่เส้นการเป็นผู้ประปอบการสังคม คุณสุนิตย์ แนะนำว่า ต้องเริ่มต้นจากวิธีคิดจากการมอปัญหารอบๆตัว
“จริงๆทุกคนมองเห็นปัญหาสังคมอยู่แล้วล่ะ แต่อยู่ที่ว่าจะเลือกไม่มองต่อหรือไม่รู้จะทำได้ แต่ในทางเดียวกันหากเรายิ่งไม่ทำอะไร ปัญหาก็มีแต่จะแย่ลง แล้วเราคิดว่าสังคมนี้จะพึ่งใคร พึ่งรัฐบาลเหรอก็คงช่วยได้ระดับหนึ่งจะพึ่งองค์กรเพื่อสังคม การสนับสนุนในสังคมก็น้อยลงเรื่อยๆเพราะฉะนั้นผมว่าคุณก็ต้องลุกขึ้นมาทำเองระดับหนึ่ง ผมว่าพยายามคิดให้มันต่างจากชาวบ้านเข้าไว้ พยายามมองอะไรในมุมแปลกๆ แม้แต่การเข้าชมรมในมหาวิทยาลัยก็มีบทบาทสำคัญ คือ พยายามทำกิจกรรมเยอะๆ สมัยตอนที่เราเรียน พยายามมองออกไปนอกรั้วโรงเรียนเยอะๆ สิ่งเหล่านั้นก็จะติดตัวเรามา
คุณสุนิตย์เล่าถึงตัวอย่างเช่น แรงบันดาลใจสมัยเป็นนักศึกษาคณะ เศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ที่ทำเริ่มสนใจแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนเริ่มจากการออกค่ายอาสา ซึ่งมีโอกาสไปลงพื้นที่ที่อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ทำให้ได้เรียนรู้จากชาวบ้าน และกลับมาหาทางช่วยกันสานต่อโครงการท่องเที่ยวในพื้นที่ป่าชุ่มชนพะโต๊ะ
ประสานกับองค์กรที่สนับสนุนโครงการท่องเที่ยวชุมชนให้มาทำงานร่วมกับชาวบ้านและระดมทุน พร้อมกับเทรนนักศึกษาส่วนหนึ่งให้เข้าใจการจัดการการท่องเที่ยวชุมชน นำความรู้เรื่องการตลาดเข้ามาจัดการ เริ่มจากกลุ่มนักศึกษาด้วยกันให้ไปเที่ยว ขยายวงสู่สื่อทีวี จนกลายเป็นต้นแบบการจัดการการท่องเที่ยวชุมชน จากกลุ่มอาสาสมัครเล็กๆจึงรวมตัวเป็นเครือข่ายเพื่อให้เกิดความยั่งยืน
“พื้นฐานการเรียนด้านเศรษฐศาสตร์ ช่วยทำให้เราเห็นภาพรวมมากขึ้น เราได้เห็นประวัติศาสตร์ของประเทศอื่นในเรื่องเศรษฐกิจแล้วก็จะเริ่มเชื่อว่าจะพัฒนายังไงก็ตามจะช่วยเหลือชุมชนยังไงก็ตามก็จะต้องเชื่อมโยงกับกลไลตลาด”
ถึงแม้ว่าการตลาดมันไม่ได้ดีทุกอย่าง แต่ถ้าไม่สามารถเชื่อมโยงกับเรื่องการตลาดได้ ความยั่งยืนก็จะมีปัญหามาก อันนี้ทำให้เราเห็นภาพในมุมกว้างขึ้นไป อย่างคณะอื่นที่เรียนมาคนละสาย เข้าก็จะเห็นบางมุมที่กว้างในมุมของเขา เช่น ถ้าเรียนสังคมสงเคราะห์มา เขาอาจจะเห็นมิติของการช่วยเหลือการจัดสวัสดิการอะไรทำนองนี้เยอะขณะที่พอเรามองเรื่องแบบสังคมสงเคราะห์จะทำยังไงให้มัมยั่งยืนล่ะจะต้องจัดการระบบยังไง
จุดเปลี่ยนที่ทำให้ผมสนใจเรื่องพวกนี้เกิดขึ้นตอนเป็นนักศึกษาแลกปลี่ยนสวีเดน ทำให้ผมรู้ออย่างหนึ่ง
ว่าเศรษฐศาสตร์ที่สอนในเมืองไทยมันแคบมาก แค่สำนักเล็กๆ ในอีกร้อยสำนัก
แต่ว่าในเมืองไทยคนจบเศรษฐศาสตร์เนี่ยแทบจะพูดว่าจบตำราเล่มเดียวกันมา แต่ว่าเมืองนอกในยุโรปไม่ค่อยจะเป็นอย่างนั้นเท่าไหร่ ก็จะมีบางสำนักที่เชื่อว่าการพัฒนาเศรษฐกิจเกิดจากผู้ประกอบการ เกิดจากการทำยังไงให้สร้างนวัตกรรมใหม่ๆเข้ามาในระบบเศรษฐกิจให้มันขยายเศรษฐกิจทางสังคมเรื่อยๆแนวคิดพวกนี้มันทำให้ผมตื่นเต้นสนใจมากจริงๆ การพัฒนาประเทศมันต้องใช้ผู้ประกอบการพอสมควร คำว่าผู้ประกอบการที่ผมเรียนรู้มันไม่ใช่ผู้ประกอบการที่เป็นเถ้าแก่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นผู้ประกอบการที่เห็นโอกาสทางเศรษฐกิจหรือสังคมแล้วไปทำให้มันสำเร็จและขยายผลได้
“ ควรพยายามเอาตัวเองออกไปเรียนรู้อะไรที่มันนอกบริบท หรือเรียนรู้อะไรที่อยู่นอกขอบเขตที่ตัวเองถนัด เพื่อที่จะรู้ว่าเราสนใจอะไรมากๆ อาจจะชอบหรือไม่ชอบก็ได้แต่อย่างน้อยเราก็รู้ว่าถ้าเราทำอะไรในสิ่งที่เราไม่ชอบเราก็จะได้รู้ว่าเราไม่ชอบอะไร”
ฝากถึงน้องๆ
“แนะนำว่าควรพยายามเอาตัวเองออกไปเรียนรู้อะไรที่มันนอกบริบท หรือเรียนรู้อะไรที่อยู่นอกขอบเขตที่ตัวเองถนัด เช่น ไปออกค่าย ไปร่วมกิจการนอกมหาวิทยาลัยแล้วเรียนรู้อะไรที่น่าสนใจ ทำอะไรประหลาดๆหน่อย เช่นไปอยู่วงการเพลงใต้ดิน หรือวงการกลอน อย่างสมัยผมที่เป็นนักศึกษามันมีโอกาสที่จะทำอะไรที่หลากหลายมากๆ เพื่อที่จะรู้ว่าเราสนใจอะไรมากๆ คือหาประสบการณ์เยอะๆนะครับอาจจะชอบหรือไม่ชอบก็ได้แต่อย่างน้อยเราก็รู้ว่าถ้าเราทำอะไรในสิ่งที่เราไม่ชอบเราก็จะได้รู้ว่าเราไม่ชอบอะไร”