ครูพี่แนน อริสรา ธนาปกิจ : มั่นใจเต็ม 100 เรียนภาษาอังกฤษแบบ Memolody
ทีมงานทรูปลูกปัญญา | 2012-03-14 14:37:28
ครูพี่แนน อริสรา ธนาปกิจ ติวเตอร์วิชาภาษาอังกฤษคนเก่ง ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในการเรียนและการประกอบอาชีพของน้องๆ ลูกศิษย์หลายต่อหลายรุ่น แม้ใครๆ จะชื่นชมว่าครูพี่แนนคือคนเก่งและมีความสามารถ แต่จากบทสนทนาเรื่องการเรียนครั้งนี้ พี่แนนย้ำอยู่บ่อยครั้งว่าความเก่งนั้นเกิดจากความขยันและมุ่งมั่นตั้งใจจริง ไม่ใช่มาจากพรสวรรค์ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด และที่สำคัญคือ ทุกๆ คนสามารถเป็นคนเก่งได้
- เคล็ดลับการเรียนของครูพี่แนน
หลักๆแล้ว พี่แนนก็ไม่ได้เด็กที่ขยันตั้งแต่แรก จริงๆแล้วเราจะเริ่มเรียนได้ดี มันสำคัญตรงที่เราต้องมีความฝันค่ะ ต้องมีความฝันก่อนว่าเราอยากจะเป็นอะไร อยากจะทำอะไรในอนาคต ถึงจะมีแรงบันดาลใจ และมีเป้าหมายที่ชัดเจน มันเลยทำให้เราฟิตขึ้นมา ถ้าน้องอยากจะเรียนเก่งพี่แนนว่าต้องหาตัวเองให้เจอก่อน คืออยากจะเป็นอาชีพอะไร จะทำงานแนวไหน ลองพูดคุยกับเพื่อนๆ หรือว่ารุ่นพี่ดู แลกเปลี่ยนประสบการณ์ หรือคนที่จบไปแล้ว ว่าทำอาชีพนี้แล้วดีจริงไหม ได้เงินเดือนโอเคไหม แล้วต้องเจองานแบบไหน คนลักษณะไหน นั่นก็คือการหาข้อมูลของเรา
พอเรามี Goal ที่ชัดเจนแล้ว เราก็จะมา Plan ว่าเราจะไปถึงตรงนั้นได้ยังไง อย่างพี่แนน พี่ค้นพบว่าตัวเองชอบอ่านนวนิยาย นางเอกเป็นนักการฑูต เป็นล่ามให้กับองค์การระหว่างประเทศ อย่างสหประชาชาติหรือว่า UN หูยย! อาชีพนี้มันเท่อ่ะ พี่อยากเป็นบ้าง ก็เลยคิดว่าจะทำยังไงดี เลยอยากจะเปลี่ยน Environment หรือว่าสิ่งแวดล้อมใหม่ ก็เลยตั้งความว่าจะเข้าเตรียมอุดมให้ได้ ตอนแรกในการพัฒนาภาษาอังกฤษ พี่ก็ไปถนนข้าวสาร ไปพูดคุยกับฝรั่งจริงๆ เริ่มจากคำถาม 10 คำถามง่ายๆ ที่จะให้ตัวเองพูดภาษาอังกฤษได้ แล้วก็ฝึกภาษาอังกฤษด้วยตัวเอง ไปลองสอบเข้าเตรียม โดยการเรียนกวดวิชาค่อนข้างเยอะเหมือนกัน มีตารางอ่านหนังสือ กลับมาบ้านอ่านสือแล้วก็ทำโจทย์ ก็ติดมาใช่ไหมคะ ก็วางแผนไว้ต่อไปว่าจะเข้าคณะอักษรจุฬาฯ สมัยนั้นเนี่ยมันมีสอบเทียบ พอม.4 ก็สอบได้วุฒิม.6 พี่แนนก็สอบเทียบดู ก็ได้แล้วก็ลองไปสอบอักษรศาสตร์จุฬาดูฯ ก็ติดตอนที่อยู่ม.4 ค่ะ ก็เป็นความโชคดีมากเลยที่เราวางแผนได้ถูกจุด พี่ว่าหัวใจสำคัญมันอยู่ที่วิธีการจัดตารางอ่านหนังสือ คือบางคนจะเหมือนกับต้องอ่านให้ได้เยอะๆ แต่เอาเข้าจริงเราทำแบบนั้นก็เลยท้อ อย่างจริงๆ เราอ่าน 3 ชม. ก็เต็มที่แล้ว หรือบางคนก็น้อยเกินไป เราต้องประเมินกำลังของตัวเอง ลักษณะเวลาของการอ่านก็สำคัญ บางคนชอบอ่านตอนกลางคืน บางคนชอบอ่านตอนเช้า หลายคนบอกว่าตอนกลางคืนมันเป็นเวลาที่สงบ ตอนเช้ามีกิจกรรมต่างๆแล้วมันทำให้ไม่มีสมาธิ แต่บางคนก็เลือกที่จะนอนเร็ว แล้วตื่นมาแต่เช้า อันนี้ก็จะทำให้นาฬิกาชีวิตไม่เสียมากด้วย สุขภาพก็จะดี ตัวพี่แนนเองก็เลือกใช้วิธีแบบนี้นะคะ
-วิธีอ่านหนังสือให้จำได้
การอ่านหนังสือต้องอ่านกี่รอบ ถ้าน้องคิดว่าอ่านแค่รอบเดียว มันไม่ใช่แล้วนะคะ เพราะคนเรามี Forgetting curve คือมี Curve แห่งการลืม คนเราไม่ใช่จะจำได้ง่ายๆ ต้องให้โอกาสตัวเองในการ Repeat เทคนิคก็คือในช่วงแรก เราเรียนที่รร. แล้วเราก็อ่านตามท้าย ต่อท้ายซักวันนั้นเลย หรือวันถัดไป จะทำให้ความจำระยะสั้นมันคงอยู่ได้ หลังจากนั้นอีกสัปดาห์หนึ่ง ไม่เกินสองอาทิตย์ มาทวนอีกซักครั้งหนึ่ง ผ่านไปอีกซักเดือนนึง ก็ให้ซ้ำอีกซักครึ่งหนึ่ง ประมาณซัก 3 ครั้งกำลังดี มันจะทำให้เราเข้าใจอันนั้นมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วก็จำได้ นำไปใช้ได้ แล้วถ้าน้องบอกว่าแบบก็เสียเวลาตายสิพี่ หนูต้องอ่านตั้งหลายวิชา จริงๆ แล้วมันไม่เท่ากัน อ่านครั้งแรกอ่านจะใช้เวลามากหน่อย ครั้งแรกก็พยายามใช้ไฮไลท์ หรือขีดเส้นใต้ไว้นะคะ ครั้งที่สองก็มาอ่านเฉพาะจุดที่ขีดเส้นใต้ เพราะหนังสือทุกเล่มไม่ใช่ว่าเราต้องมาเข้าใจทุกประโยค เราก็เอาแต่เนื้อๆ ขึ้นมา ครั้งสุดท้ายก็อ่านเฉพาะจุดที่เรายังไม่ได้ เวลาเราก็จะเซฟลงกว่าเดิมมากๆ ธรรมชาติของวิชาก็สำคัญ ถ้าน้องเอาวิชาที่ใช้ความจำไว้ด้วยกัน มันก็จะทำให้แย่ เพราะใช้สมองซีกเดียวกันตลอดเวลา อย่างไทยกับสังคมไว้ด้วยกันก็จะมีแต่จำๆ แต่ถ้าน้องเอาเลข กับภาษาไทย ภาอังกฤษ กับฟิสิกส์มันก็จะทำให้สมดุลมากชึ้น
-แรงบันดาลให้เป็นติวเตอร์
มันเป็นเรื่องแปลกจริงๆ ค่ะน้อง เพราะพี่คิดว่าพี่ไม่มีคุณสมบัติเลย คิดว่าอาชีพครูเป็นอาชีพที่ยิ่งใหญ่ ต้องเป็นแม่แบบที่ดี ก็เลยไปทดลองทำหลายอาชีพมา พี่อยากเป็นล่ามใช่ไหม ก็เลยลองไปทำล่าม ตอนอยู่ที่อักษรฯ ก็ทำงานกับยูเนสโก้ แล้วก็ไปทำศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ แล้วก็ทำสถานฑูติด้วย หลายอย่างๆ ทีไ่ด้ใช้ภาษาอังกฤษ หรือภาษาอื่นๆที่เรียน พอไปทำแล้วถึงต้นพบว่ามันไม่ใช่ตัวเอง ตอนนั้นที่พี่เรียนที่จุฬาฯ ก็มีอ. ให้มาสอนน้อง หรือลูกของท่านที่จะเตรียมตัวสอบเอนทรานซ์ ด้วยความที่อยากจะทดแทนพระคุณท่านก็เลยสอน หลังจากนั้นก็เริ่มมีแวดวงจากอ.หมาวิทยาลัยต่างๆ ให้ลูกมาเรียนกับพี่แนน ก็เลยกลายเป็นติวตามโต๊ะไป เออ มันก็มีความสุขดีนะ ได้เรียนรู้จากเด็กเยอะมาก แล้วเราต้องคอยค้นคว้าอะไรที่เรายังไม่รู้ให้มันมากขึ้นไปอีก มันก็เป็นอาชีพที่ใช่
-เทคนิคการสอนที่เรียกว่า Memolody คืออะไร
Memolody สำคัญมาก ประกอบจาก Melody กับ Memory เป็นทำนองที่ทำให้สมองทำงานได้ดี ซึ่งปิ๊งไอเดียมาจาก X-Japan แรกๆเลยที่เข้ามาเมืองไทย พี่สังเกตุเห็นว่าเด็กๆเนี่ยสามารถร้องเพลงญี่ปุ่นที่มีท่อนฮุกเป็นภาษาอังกฤษได้ ก็เลยปิ๊งว่าถ้าเรามีเพลงไทยแล้วมีท่อนฮุกสอนไวยากรณ์ หรือศัพท์ภาษาอังกฤษบ้าง ก็น่าจะโอเค จริงๆเพลงก็มีมานานแล้ว แต่เด็กก็ไม่ค่อยได้เรียนรู้ผ่านเพลงขนาดนั้น อาจจะเป็นเพราะเพลงยังไม่ถูกใจเขา อาจจะรู้สึกว่ายากเกินไป ไม่ได้เชื่อมโยงกับชีวิตเขา งั้นเรามาแต่งเพลงของเราเองดีกว่า ที่เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับวัยรุ่น ความรัก เพื่อน แล้วก็มีภาษาไทยบ้าง เผื่อให้เขารู้สึกว่าไม่ยากเกินไป
-ตัวอย่างบทเรียน Memolody ที่เด็กๆชื่นชอบ
ง่ายๆและกันนะคะ เอาคำว่าเริ่มต้นก็ได้ค่ะ ปกติเด็กๆก็จะชอบฟัง Pop, Rock แต่เราก็อาจจะมีเพลงลูกทุ่งบ้าง น่ารักๆ อนุรักษ์ประเพณีไทยด้วย พี่แนนก็ตั้งชื่อเพลงว่า หนุ่มเซเว่น ก็มีคำว่า Initiate (ริเริ่ม, สร้างสรรค์) Originate(มีจุดกำเนิดมาจาก) Set off, Set out(เริ่มออกเดินทาง) Kick off (เริ่มแตะบอล) คำตรงข้ามก็จะเป็นหยุด หรือจบ quit ท่อนแรกก็จะเป็นภาษาไทยก่อนค่ะ "พี่ทำหัวใจ หล่นไว้ในร้านเซ่เว่น เกือบหล่นใส่เนื้อเย็น พี่เห็นเดินเข้าประตู น้องซื้อพายไก่ Big bite กะเปาไส้หมู ไปกินกับใครไม่รู้ ซื้อเปาไส้หมูตั้งสองใบ" คำศัพท์กำลังจะมาท่อนฮุกนะคะ เวลาเราร้องจริงๆ ก็จะเน้นท่อนฮุกซ้ำๆ ให้จำศัพท์ที่เราต้องการได้ "เธอ มารอคิดเงินกับฉัน อยากบอกให้เธอนั้น มาเริ่มต้นกับเรา Initiate, Originate, Set off, Set out, Commence, Kick off กับน้อง Youth คงทำให้เราชื่นใจ" อันนี้คือฮุกแรก ฮุกหลังก็เป็นคำตรงกันข้าม "Seize, Quit ดีกว่ามัวเพ้อ" คือ คิดไปคิดมาก็อกหักแล้ว พี่แนนตัดตอนให้นะคะ "Terminate นะเออ สาวสเว่นเซ่นเจอ แล้วใจหล่นหาย" เฉลยว่านางเอกเป็นสาวซเว่นเซนพระเอกเป็นหนุ่มเซเว่นก็อกหักไป
-การเรียนภาษาอังกฤษในห้องเรียนและในสถาบันกวดวิชา หรือศึกษาด้วยตนเอง มีเทคนิคที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
พี่แนนคิดว่าในห้องก็เป็นพื้นฐานที่สำคัญ น้องๆควรจะตั้งใจเรียน หลักสูตรต่างๆ ที่กระทรวงศึกษาออกแบบมา คือเพื่อปูพื้นฐานที่สำคัญ ถ้าเราพื้นฐานแน่นเวลามาเรียนเสริมก็จะเข้าใจมากชึ้น อย่างเช่นของที่ Enconcept เราก็จะพยายามอุดจุดอ่อนของหนูด้วย ก็จะมีปรับพื้นฐานให้ด้วย ใน้องเรียนจะเน้นความเข้าใจพื้นฐาน ในรร.กวดวิชาก็จะเป็นการสรุป ย่อว่าอะไรเป็นหัวใจสำคัญบ้าง แล้วก็จะเน้นการใช้ จะทำยังไงให้ทำข้อสอบได้จริงๆ ให้ลองทำโจทย์จากหลากหลายรูปแบบ มีเทคนิค หรือทริคว่าโจทย์ข้อนี้เขาคิดอะไร เขาหลอกยังไง แล้วเราจะทำยังไง มันก็จะมีส่วนที่ต่างกันบ้าง แต่ก็หลายส่วนที่อาจจะคาบเกี่ยวกัน ถ้าจะให้ดีก็เรียนในห้องให้ตั้งใจ พอมาเรียนกวดวิชาก็จะแน่นและไปได้ดีกว่า
-คำแนะนำเรื่องการเตรียมตัวสอบเข้ามาหาวิทยาลัย วิชาภาษาอังกฤษแบบทางลัด หรือสำหรับน้องๆที่มีเวลาเตรียมตัวน้อย
ให้เจาะเป็นเรื่องไปเลย ว่าเราอ่อนจุดไหน ให้เน้นไปที่จุดนั้น กลยุทธ์ที่สำคัญก็คือการตัด ดูว่าข้อสอบออกจุดไหนเยอะ เน้นจุดไหน เน้นการทำโจทย์ พี่ๆ ที่ได้ที่หนึ่งของประเทศ หรือที่หนึ่งของคณะที่เคยเรียนกับพี่แนน เขาบอกว่าลองทำโจทย์ จะทำให้คะแนนพลิกไปเลย ทำโจทย์เราก็ควรจับเวลาด้วย แล้วก็เรื่องความตื่นเต้นในห้องสอบ ถ้าเราจับเวลาทำโจทย์ มันก็เหมือนเราสอบตลอดเวลา มันจะควบคุมความตื่นเต้นได้ดีกว่า เพราะฝึกมาเยอะแล้ว เห็นแล้วใช่ไหมคะว่าภาษาอังกฤษ มีความสำคัญมากๆ แน่นอนเลยเราต้องใช้สอบ อย่าง Gpax หรือเกรดเฉลี่ยรวมก็ต้องมีภาษาอังกฤษ หรือ GAT ก็ใช้เยอะมาก มีตั้งแต่ 50 ไปจนถึง 15 ใช้น้ำหนักคะแนนในการเข้าแอดมิชชั่น ซึ่งมีภาษาอังกฤษอยู่ครึ่งหนึ่ง O-Net ก็มีภาษาอังกฤษ สอบตรง 7 วิชาก็ต้องมีอีก
Albert Einstein once said "Insanity is equal to doing the same thing over and over again and expecting a different results. So what I'm trying to say, Here it is, If you want to change anything in your life. Don't do the same, just change. You make your own choice to change yourself first. I'm always with you. Keep fighting." อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ บอกว่า "มันเป็นความโง่เขลาของมนุษย์เราที่เชื่อว่าทำอะไรซ้ำๆ จะเกิดผลลัพธ์ที่แตกต่าง เพราะฉะนั้นถ้าน้องอยากให้มีอะไรเปลี่ยนในชีวิต ต้องเปลี่ยนที่ตัวเองก่อน" เราเลือกที่จะเปลี่ยนตัวเองได้นะคะน้อง พี่แนนอยู่กับน้องเสมอ เป็นกำลังใจให้ทุกคน ให้สู้ต่อไปค่ะ