www.trueplookpanya.com
คลังความรู้
แนะแนว
ข่าวรับตรง
ธรรมะ




แนะแนว > พี่แนะน้อง

ใบเตย สุวพิชญ์ เอกการแสดงและกำกับการแสดง ศิลปกรรมศาสตร์ มศว
ทีมงานทรูปลูกปัญญา | 2016-03-03 15:47:45

เรื่องและภาพ: กัลยาณีแนวเล็ก


 ใบเตย สุวพิชญ์ 
 เอกการแสดงและกำกับการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มศว 

 

 

ใบเตย สุวพิชญ์ 


หลากหลายบทบาททั้งในละคร ซีรีส์ โฆษณาหรือมิวสิควิดีโอ นอกจากความสามารถพรสวรรค์ที่มีอยู่ในตัวแล้ว ยังมีพื้นฐานที่ดีที่ได้จากการเรียนด้วย ใบเตย
-สุวพิชญ์ ไตรพรวรกิจ ศิษย์เก่าคณะศิลปกรรมศาสตร์ เอกการแสดงและกำกับการแสดง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จะมาบอกเล่าให้ฟังว่าเรียนยังไงบ้าง ได้อะไรจากสาขาที่เรียน รู้ลึกชนิดที่ว่าชาว #AdGang59 อ่านแล้วเก็ทเลยทีเดียว

 

เรียนเพราะเป็นศาสตร์ที่น่าสนใจ

.6 เตยได้ทำละครเวทีของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน พอได้ลองทำตรงนี้แล้วเรารู้สึกว่ามันมีอะไรมากกว่าการที่อ่านบทท่องบทแล้วก็แสดงค่ะ คือเราได้เวิร์กช็อปได้ทำความรู้จักกับตัวละครจริง ๆ ทำให้เตยรู้สึกว่ามันเป็นศาสตร์ที่น่าสนใจแล้วก็น่าค้นหา
 

พอเรียนแล้วสนุกมากค่ะ ตอนแรกเตยคิดว่ามันก็คงไม่ยากอะไรมากเพราะว่าเราชอบตรงนี้อยู่แล้ว แต่พอได้เรียนจริง ๆ แล้วคือยากมากเลยนะคะเหมือนกับการได้ศึกษาคนคนหนึ่งว่าเขาเป็นยังไง ภูมิหลังเขาเป็นยังไง ความต้องการสิ่งที่เขาจะทำมันมีอะไรแฝงอยู่หรือเปล่า ค่อนข้างยากพอสมควร
 

ใบเตย สุวพิชญ์ 

สอบคัดเลือก

เตยสอบตรงค่ะตอนแรกก็ต้องสอบข้อเขียนก่อน ส่วนมากก็จะเป็นพื้นฐานของศิลป์ค่ะ พวกมิติสัมพันธ์ พวกรูปเป็นบล็อก สี่เหลี่ยมสามเหลี่ยมอะไรเป็นช้อยส์ให้เราเลือกที่มันตรงกับตัวนี้มากที่สุด แล้วก็มีภาษาอังกฤษ ภาษาไทยที่เป็นข้อเขียนค่ะ ถ้าสอบข้อเขียนเสร็จแล้วผ่านก็ยื่นพอร์ต  สอบข้อเขียน ถ้าเกิดผ่านก็จะเข้าสู่ช่วงออดิชั่น เน้นสัมภาษณ์คืออยากรู้ทัศนคติของตัวเด็กที่จะสอบเข้าค่ะ แล้วก็เตรียมการแสดงไปนิดหน่อยเผื่อครูเขาอยากเห็นพื้นฐานเราเป็นยังไง อ้อแต่ละปีจะไม่เหมือนกัน
 

ตอนนั้นเตยเอาบทมาจากตอนที่เตยเล่นละครเวทีของกรุงเทพคริสเตียนค่ะ ตอนนั้นเตยไปชุดนักเรียนปกติแล้วก็ไปเล่นให้อาจารย์ดูค่ะก็โหด ๆ มันส์ ๆ ค่ะ จับฉลากว่าต้องเล่นเป็นใครสถานที่ที่ไหน แล้วก็อิมโพรไวส์ตรงนั้นคือเล่นเลยให้เขาเห็นอาจารย์ก็จะโยนโจทย์ขึ้นมาบนเวทีสนุกมากค่ะ
 

ใบเตย สุวพิชญ์ 

หลักสูตรเอกการแสดงและกำกับการแสดง

ปีหนึ่งจะเรียนส่วนมากจะเป็นในตำรามากกว่าพวกประวัติละครเวทีประวัติศิลป์แล้วก็พวกยุคสมัยของศิลป์ ส่วนปีสองเริ่มเรียนคลาสที่เป็นปฏิบัติจะเริ่มมีแอคติ้งหนึ่งมีพวกปฏิบัติมากขึ้นเรื่อย ๆ พอปีสามก็จะเป็นแอคติ้งสอง เป็นvocal จะมีตัวเสริมเข้ามาเป็นพวกตัวละครหุ่น แต่ก็พื้นฐานก็คือเรียนค่อนข้างที่จะเป็นเหมือนเดิมแต่จะแอดวานซ์ขึ้นไปเพราะว่าเรียนแอคติ้งการใช้เสียงก็จะมีในทุก ๆ ปี ปีสี่ก็จะมีหลัก ๆ เลยเป็นธีสิสที่จะต้องทำแล้วก็มีแอคติ้งในช่วงเทอมแรกค่ะเป็นแอคติ้งตัวสุดท้ายที่จะต้องเรียน

วิชาที่ชอบที่สุดก็คงเป็นวิชาแอคติ้งเหมือนยิ่งเรียนสูงขึ้นก็ต้องยิ่งละเอียดกับตัวละครมากขึ้น ยิ่งละเอียดกับความรู้สึกของตัวละครมากขึ้นค่ะ เตยก็เลยรู้สึกว่ามันเป็นวิชาที่แฮปปี้ที่ได้เรียนถึงแม้มันจะยากจะเหนื่อยจะเครียดค่ะ
 

ใบเตย สุวพิชญ์ 

ธีสิส The Seagull

ธีสิสเอกการแสดงมศว อย่างแรกเลยก็คือต้องออดิชั่นผู้กำกับก่อน อาจารย์จะให้คนที่อยากจะเป็นผู้กำกับหรือมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้กำกับได้เลือกเรื่องที่อยากจะเอามาทำ อยากจะกำกับหรือไม่อาจารย์ก็อาจจะลองกำกับเรื่องนี้ไหม พอได้ผู้กำกับแล้วเพื่อน ๆ ที่เหลือก็ทำหน้าที่ออดิชั่นเป็นนักแสดง คือทุกคนก็ต้องอ่านบททุก ๆ บทที่ผู้กำกับแต่ละคนได้รับ ในส่วนข้อดีก็คือตัวเราเองก็จะได้รู้ว่าจริง ๆ อยากเล่นเป็นใครก็ไปออดิชั่นกับผู้กำกับและอาจารย์ค่ะ หลังจากนั้นก็จะเริ่มกระบวนการของการทำละครเวทีแล้วเอาทุก ๆ คนรวมถึงออกแบบการแสดงมานั่งอ่านบทพร้อมกัน หลังจากนั้นผู้กำกับก็จะมีเวิร์กช้อป ให้การบ้านแต่ละคนไปว่าในตอนนี้ตัวนี้เขาคิดยังไง แล้วตัวนี้ช่วงที่หายไปเขาหายไปทำอะไร ซึ่งมันจะค่อนข้างละเอียดกับการแสดงและความรู้สึกด้วยค่ะเพื่อที่ตัวเราเองจะได้เข้าใจในตัวละครให้มันมากที่สุดค่ะ
 

เรื่องที่เตยเล่นเป็นบทประพันธ์ของ Anton chekhov แล้วหม่อมน้อยเอามาทำเป็นนางนวลเวอร์ชั่นไทยด้วยค่ะตัวที่หนูรับเล่นก็คือตัวนีน่าซาเรชนีค่ะ ถ้าในเวอร์ชั่นไทยก็คือนวลค่ะที่ได้เล่น
 

ใบเตย สุวพิชญ์ขอบคุณภาพประกอบจาก www.facebook.com/Waiwunwaan 


เตยว่าที่มันยากอาจจะคล้าย ๆ ตัวจ๋อม
(ตัวละครเรื่องเวลาในขวดแก้วคือพัฒนาการของตัวละครมันเยอะแล้วละครเวทีไม่เหมือนละครทีวีที่อาจจะมีถ่ายสถานที่มันก็ช่วยด้วยโลเคชั่นอะไรอย่างนี้ แต่ละครเวทีเราต้องเป็นตัวละคร ณ ตอนนั้นแล้วพอเปลี่ยนเราก็ต้องทำความรู้สึก ทำความรู้จักกับตัวละครในช่วงเวลาที่มันเปลี่ยนไปด้วย แล้วเราจะเล่นยังไงให้คนดูเห็นว่าตัวละครตัวนี้มันมีพัฒนาการขึ้นมานะ ยิ่งตัวละครนีน่าเป็นเด็กใส ๆ เลยแต่เขาเป็นคนที่มีความทะเยอทะยานสูงมากที่อยากจะไปเป็นดารา แล้วมันจะมีช่วงที่เขาไปเป็นดารา หลังจากที่เป็นดาราเวลาเขาพังกลับมาแล้วเป็นยังไง ซึ่งธีสิสเตยไม่ได้เล่าว่าตอนที่เขาไปเป็นดาราเขาไปเจออะไรมาบ้าง แต่เตยจะต้องทำให้คนดูเห็นแล้วก็รู้สึกตามไปได้ว่าเขาพังแค่ไหนในความคิดในความรู้สึกในจิตใจเขา เตยเลยรู้สึกว่าเป็นบทที่ค่อนข้างจะยากแล้วก็ทำการบ้านหนักมาก ๆ กับตัวละครตัวนี้ค่ะ
 

ใบเตย สุวพิชญ์ขอบคุณภาพประกอบจาก www.facebook.com/Waiwunwaan  
 

เสน่ห์ของละครเวที

เด็กละครทุกคนมีเนเจอร์ที่คล้าย ๆ กันอย่างหนึ่ง คือ จะไม่ยอมตายบนเวทีไม่ว่าจะยังไงก็แล้วแต่ หรือจะไม่ยอมตายหน้างาน the show must go on ทุกอย่างต้องดำเนินต่อไป เตยว่ามันคือเสน่ห์ของละครเวทีอย่างหนึ่งคือความสด นักแสดงต้องแก้ไขสถานการณ์บนเวทียังไงถ้าลืมบท ถ้าคู่แสดงลืมบทหรือว่าตัวเราลืมบทเราจะทำยังไงต่อไปนี่คือเสน่ห์ของละครเวที ซึ่งมันหาไม่ได้จากละครทีวีหรือภาพยนตร์

 

บทเลือกคน

บทที่ยากสำหรับเตยคือคอมเมดี้ เพราะว่าดราม่าคือการดึงอารมณ์ซึ่งเตยคิดว่ามันค่อย ๆ ไต่ได้ แต่คอมเมดี้จะเล่นตลกยังไงให้คนดูตลกตามเรา แต่เราไม่ได้ตลกซึ่งมันยากและอยากเล่นคอมเมดี้มาก เตยก็ออดิชั่นเลือกบทที่เป็นคอมเมดี้แล้วก็เลือกบทที่คิดว่าเป็นเตยสองบทแต่ก็ได้บทยากมาก ๆ กว่าเดิมอีกค่ะ ผู้กำกับยื่นบทลองอ่านหน้านี้ดูนะ เตยก็แทบจะนั่งร้องไห้จริงหรอ แต่สุดท้ายก็ได้ เป็นเพราะว่าเคมีของเรากับคนที่เล่นด้วย เตยก็ยังเชื่ออยู่ดีว่าบทเลือกเราเล่นยากมากเลยนะเล่นยังไงให้ตลก
 

ใบเตย สุวพิชญ์ 

ตลาดงานสำหรับคนที่เรียนสาขานี้

บางคนอาจจะคิดว่าต้องทำงานในวงการบันเทิงเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วมันไม่ใช่คือสามารถทำได้เยอะมาก อย่างรุ่นพี่ที่จบตรงนี้แต่ก็ไปเป็นแอร์โฮสเตสก็ได้เพราะว่าในส่วนที่ได้เรียนก็เรียนภาษาอังกฤษด้วย อย่างเพื่อนบางคนทำงานธนาคารคือมันเป็นได้เยอะมากค่ะ แต่ถ้าเกิดใครชอบตรงนี้จริง ๆ ส่วนงานที่สามารถทำละครเวทีโดยตรงก็มีอย่างเช่นไปฝึกงานกับทางรัชดาลัย เป็นละครโรงเล็ก หรือไม่ก็ทำงานเบื้องหลังทางวงการบันเทิงก็เยอะ อย่างแคสติ้ง แอคติ้งโค้ชก็มีค่ะ 
 

ใบเตย สุวพิชญ์

 

ใบเตย สุวพิชญ์