อนุชัย ศรีจรูญพู่ทอง - โลกหลังเลนส์...คนสร้างภาพ
ทีมงานทรูปลูกปัญญา | 2013-05-15 10:25:47
เราอาจพบว่า ไม่มีเราแค่ต้นเดียว
ยังมีคนอื่นๆ ที่ค้นพบเหมือนเรา
อีกเป็นร้อย และ ถึงจะเป็น
ต้นแอปเปิ้ลเหมือนกัน แต่ว่าพันธุ์อะไร
ก็มีความแตกต่างกันไปอีก”
“ชีวิตคนเรามีความหลากหลาย ไม่ควรจะหยุดอยู่ในที่หนึ่งที่ใด เพียงแต่ถ้าเราจะให้ความสนใจในเรื่องใดจริงๆเราควรจะต้องมีความพร้อม ทั้งด้านเวลา ความรู้ เงินและประสบการณ์ เราควรทำตัวเหมือนน้ำไม่เต็มแก้ว คอยตักตวงความรู้เข้าไปเรื่อยๆ”
“ถ้าเราตั้งใจจะทำอะไรอย่างหนึ่งให้มันที่สุดไปแล้ว ก็อยากรู้เหมือนกันว่าชีวิตมันจะไปอยู่ตรงไหน”
อนุชัย ศรีจรูญพู่ทอง-โลกหลังเลนส์ คนสร้างภาพ
โลกหลังเลนส์...คนสร้างภาพ
การเดินทางในโลกหลังเลนส์ของคุณ อนุชัย ศรีจรูญพู่ทอง เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจของการพากเพียรเรียนรู้ด้วยตัวเอง และกล้าคิดต่างจนประสบความสำเร็จในอาชีพช่างถ่ายภาพโฆษณามือรางวัลระดับโลก
ย้อนกลับไปเมื่อ 30 ปีที่แล้ว การเรียนศิลปะในเมืองไทยยังไม่เป็นที่ยอมรับเท่าไหร่นัก คุณอนุชัยเกิดมาในครอบครัวชนชั้นกลาง คุณพ่อทำงานการบินไทย ส่วนคุณแม่เป็นแม่ค้าขายของ การใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ ชีวิตที่พ่อแม่ให้มานั้นท่านให้มาพออยู่แล้ว ให้แต่สิ่งที่ดีที่สุดมาแล้ว แต่ตัวคุณอนุชัยยังไม่พอใจ รู้สึกว่ายังขาดบางอย่างในชีวิต นี่จึงเป็นแรงผลักดันหนึ่งที่ทำให้เขาอยากประสบความสำเร็จมีชื่อเสียง
“ งานศิลปะถ้าย้อนไปใน ในยุคสามสิบปีที่แล้วนั้นก็ลำบากเหมือนกันนะ มันเป็นทางที่ต้องต่อสู้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านอาร์ตหรืองานดนตรีก็ตาม จะถูกหาว่าเต้นกินรำกินตลอด สมัยก่อนของคนที่เรียนศิลปะต้องไปอยู่แบบเขียนป้ายเขียนโปสเตอร์ตามโรงหนัง มันไม่มีเวทีเหมือนทุกวันนี้ ”
ด้วยความที่รักการวาดเขียนทำให้อาจารย์แนะแนว แนะนำว่า น่าจะไปเรียนต่อด้านศิลปะ แต่สอบเข้าศิลป์ไม่ได้ เขาเลยเลือกเรียนต่อ ปวช. ที่ไทวิจิตรศิลป และศึกษาต่อจบปริญญาตรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาภาพพิมพ์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (เพาะช่าง)
ช่วงที่เรียนต่อที่เพาะช่าง คุณอนุชัยเลือกที่ทำงานไปด้วยเรียนไปด้วย เพราะการเป็นศิลปินอย่างเดียวยังไม่สามารถยังชีพได้ เขาผ่านประสบการณ์ทำงานสารพัดรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเป็นคนจัดหาพร็อพอุปกรณ์ประกอบฉาก เป็นอาร์ตไดเรคเตอร์ให้กับรายการโทรทัศน์ของเจเอสแอล ทำหนังไทยกับอาจารย์บรรจง โกศัลยวัฒน์ ทำรายการเด็กทางโทรทัศน์กับอาจารย์ ชลประคัลภ์ จันทร์เรือง ขายของอยู่สวนจตุจักร ทำงานบริษัทอีเวนต์เปิดตัวสินค้า ฯลฯ เรียกได้ว่าตอนนั้นใครให้ทำอะไรเกี่ยวกับศิลปะทำหมด
จนกระทั่งมีโอกาศจับกล้องถ่ายรูปอย่างจริงจังครั้งแรก เมื่อได้พบกับ คุณลัดดา ศรีสมวงศ์ ซึ่งทำบริษัทขายตรงชักชวนให้ทำงานด้วยพร้อมทั้งซื้อกล้องมาไว้ให้ถ่ายรูปสินค้าในบริษัท ตอนหลังออกจากงานที่นี่เจ้านายก็ยกกล้องให้ติดตัวไปด้วย จากวันนั้นจึงทำให้เริ่มขยับเข้าใกล้วงการโฆษณา เริ่มเปิดบริษัทกราฟฟิกเล็กๆ ของตัวเอง เริ่มทดลองซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องแรกราคา 4 – 5 แสนมาใช้ในการทำงานและเป็นจุดหักเหของการรับทำงาน “รีทัช” (การตกแต่งภาพให้ได้องค์ประกอบตามต้องการ โดยเฉพาะภาพที่เป็นไปไม่ได้ในความเป็นจริง เช่น การทำให้เหมือนคนกำลังบิน ฯลฯ) โดยเรียนรู้ศึกษาด้วยตนเอง
“ผมมองว่าถ้าคุณอยากทำอะไร ก็ต้องลุกขึ้นมาทำ ทำผิดๆถูกๆก็ต้องลอง”
“ ช่วงที่ทำรีทัช ประเทศไทยมันมีคนทำได้ประมาณอยู่สามเจ้าได้ ตลาดยังใหม่ แต่ก่อนทุกคนต้องไปทำงานที่ฮ่องกงชิ้นหนึ่งสี่ห้าแสนแค่รูปบนธนบัตรบนบัตรเครดิตที่เป็นรูปนกพิราบ สมัยก่อนถ่ายแบบนั้นแล้วรีทัชชิ้นหนึ่งห้าหมื่น ทำงานทุกวันในเวลาอาทิตย์หนึ่งเพราะเครื่องมันช้ามาก แต่ห้าหมื่นเมื่อเทียบกับเงินเดือนคนในยุคนั้นคือจบปริญญาตรีประมาณ หกหรือแปดพัน..ตอนนั้นเป็นจุดเปลี่ยนที่หันมาเปิดบริษัทรับทำงานรีทัชอย่างเดียว เพราะตอนนั้นเริ่มมีรุ่นพี่ตากล้องเทพๆ ส่งงานมาให้เรารีทัช เลยต้องทำแต่รีทัชอย่างเดียวดีกว่า เพราะช่วงนั้นพยายามเอาพอร์ตงานถ่ายไปเสนอพวกเอเจ็นซี่ เขาจะมีตัวยืนพื้นที่มั่นใจอยู่แล้ว เราก็ไม่ได้ถ่ายงานสักที เก็บกล้องไว้จนขึ้นรา “
“ คนไทยเรามักจะ
ถ่ายภาพตามฝรั่งคือ
ถ่ายตาม Reference ที่ลูกค้า
ถือมา หยิบนิตรสารมาให้ดู
บอกอยากได้แบบนี้
ถึงจุดๆ หนึ่งเราเริ่มมาคิดว่า
แล้วช่างภาพระดับโลก
มันลอกใครมา? ”
จนวันหนึ่งมีโอกาสได้รับงานถ่ายภาพอีกครั้ง เมื่อเพื่อนๆ ที่ รู้จักกันชวนให้ลองถ่ายรูปให้ด้วยรีทัชด้วยแต่มีงบประมาณให้ไม่มากนัก หลังจากถ่ายภาพครั้งแรกโฆษณานั้นก็เริ่มออกสู่สาธธารณะ คนเริ่มเห็นถามว่ารูปสวยใครถ่าย...อนุชัยถ่าย เริ่มนับหนึ่งปากต่อปากอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งผลงานได้รับรางวัลจึงเป็นจุดเปลี่ยนให้คนหันมาสนใจมีงานเข้ามามากมาย
“ สมัยก่อนยุคแรกที่ผมถ่ายรูป เรามักจะถ่ายภาพตามฝรั่ง คือถ่ายตาม Reference ที่ลูกค้าถือมา หยิบนิตยสารมาให้ดู บอกอยากได้แบบนี้ ถึงจุดๆ หนึ่งเราเริ่มมาคิดแล้วว่าช่างภาพระดับโลกมันลอกใคร? ช่างภาพระดับโลกทั้งหลายเขามีความเป็นตัวเองมากเลย ไม่ได้ลอกใคร เลยเริ่มตั้งคำถามว่าแล้วทำไมเรายังลอกเขาอยู่ เลยเป็นจุดเริ่มต้นให้ตั้งตนว่าจะทำงานโดยไม่ถ่ายตาม Reference แรกๆ ลูกค้ายุคนั้นไม่มีใครยอมใช้เราเลย ต้องอาศัยเวลานานเป็นปีเหมือนกัน กว่าจะได้การยอมรับ
เราก็เริ่มศึกษาหาความรู้จากผู้คนรอบข้างจากหนังสือ คิดว่าเราต้องตีความหมายก่อนว่าโฟโต้แอดเวอร์ไทซิ่งมันคืออะไร ความเข้าใจผมก็คิดแบบเหมือนผู้กำกับหนังเขาคิดกัน ก็คิดแบบตัวหนังสือ อย่างเช่นสินค้าตัวนี้ต้องการความสดชื่น สีอะไรที่ดูแล้วร้อน มีตั้งหลายเฉด ก็พยายามตีความว่าน่าจะร้อนแบบนี้นะ แรกๆ มันก็จะมีเรื่องวุ่นวาย ถ้าลูกค้าไม่เชื่อก็ค่อยๆ งัดไปทีละนิด ”
ผ่านมาถึงวันนี้ คุณอนุชัย ศรีจรูญพู่ทอง เป็นช่างภาพโฆษณาอันดับต้นๆ ของเมืองไทยที่อยู่ในวงการมากว่า 20ปี และผลงานของเขาเป็นที่ยอมรับไปถึงวงการถ่ายภาพระดับโลกมากขึ้น เมื่องานของเขาได้ปรากฏในงาน Cannes Lions ประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี 2542 ต่อเนื่องมาจนกระทั่งปัจจุบัน และคุณอนุชัยสามารถกวาดรางวัลระดับโลก ได้อย่างมากมาย ร่วม 300 รางวัล
ชื่อคุณอนุชัย ยังได้ปรากฏในอันดับต้นๆ ของการจัดอันดับช่างภาพระดับโลกโดย Archive Magazine ในทุกปี และเมื่อปี 2547 คุณอนุชัยได้ถูกจัดอันดับให้เป็นช่างภาพอันดับ 1 ของโลก และได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 200 ช่างภาพที่ดีที่สุด อีกทั้งในการจัดอันดับช่างภาพของประเทศไทย โดย Archive Magazine
หากจะถามว่าอะไรที่อยู่เบื้องหลังการประสบความสำเร็จคว้ารางวัลมากมายในวงการถ่ายภาพโฆษณา คุณอนุชัยบอกว่าคำว่า “ เข้าใจ ” ในสิ่งที่ทำสำคัญที่สุด
“ผมไม่ได้เก่งแต่ผมเข้าใจ เหมือนคุณปลูกข้าว คุณก็ต้องมีความเข้าใจ เช่น ดินคุณไม่ดี คุณก็ต้องทำความเข้าใจกับดิน แล้วคุณก็ต้องไปปรับปรุงดินให้มันดี ทำไมดินดีแล้วข้าวไม่ดี คุณก็ต้องไปทำความเข้าใจกับเมล็ดข้าวว่าคุณเข้าใจมันดีหรือยัง มันต้องแช่ก่อนหว่านมั้ย หรือมันเป็นเมล็ดพันธุ์ไม่ดี พอคุณเข้าใจทุกเรื่องทุกอย่างมันก้อดี”
คุณอนุชัย มองว่า โอกาสในอาชีพช่างภาพยุคนี้เปิดกว้างมากขึ้นกว่ายุคอดีตเยอะ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่มีแพร่หลายมากขึ้น รวมถึงเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ใครๆ สามารถเข้าถึงอาชีพตากล้องได้มากกว่าเดิม
“ ผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่ได้เรียนจบช่างภาพ แต่จบภาพพิมพ์ ผมต้องเรียนรู้ด้วยตัวเองหาอ่านเอาเองตามสื่อต่างๆ ไม่มีโอกาสได้เรียนในระบบมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนโดยตรงเหมือนปัจจุบัน สมัยผมไม่มียูทูป ไม่มีหนังสือ ไม่มีอินเตอร์เน็ตเหมือนสมัยนี้
“ อะไรที่เราไม่ชอบ
ทำแล้วจะไม่มีความสุข
อย่าเลือกเพียงเพราะไม่รู้จะ
ไปเรียนอะไร หรือเพราะมันดูเท่ดี
ยิ่งในปัจจุบันการแข่งขัน
มันสูงมาก ไม่ได้เหมือน
สมัยก่อน”
สิ่งหนึ่งที่ต้องตอบโจทย์ให้ได้คือคุณอยากเป็นช่างภาพจริงๆ หรือเปล่า ถ้าอยากคุณต้องลุกขึ้นทำทันที ทำผิดๆถูกๆ ก็ต้องเรียนรู้ทดลองทำ ไม่ใช่รอไปก่อน...เดี๋ยวก่อน...จนไม่ได้ทำ ”
สมัยนี้เส้นทางสู้อาชีพช่างภาพจึงสามารถเรียนได้ทั้งในมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน และเรียนรู้ด้วยตัวเองก็ได้ แต่สิ่งที่สำคัญที่คือต้องรู้ใจตัวเองว่ารักในอาชีพนี้หรือเปล่า
“อะไรที่เราไม่ชอบ ทำแล้วไม่มีความสุข อย่าเลือกเพียงเพราะไม่รู้จะไปเรียนอะไรหรือมันดูเท่ห์ดี ยิ่งปัจจุบันการแข่งขันมันสู้มากไม่ได้เหมือนสมัยก่อน ผมอยากให้ปรัชญาว่ามนุษย์ทุกคนเหมือนต้นไม้ ถ้าเรารู้ว่าเราคือต้นแอปเปิ้ล เราก็ต้องขึ้นไปทางเหนือเพื่อหาอากาศเย็นๆ แต่ไปถึงตีนดอยเราอาจพบว่า ไม่มีเราแค่ต้นเดียวยังมีคนอื่นๆ ที่ค้นพบเหมือนเราอีกเป็นร้อย และ
“ สมัยก่อนบางอาชีพ
สถานะทางเศรษฐกิจอาจ
บล็อกโอกาสโดยอัตโนมัติ
ถ้าคุณไม่มีเงินก็ไม่มีโอกาส
แต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่แล้ว ถ้าคุณไม่มี
ความแตกต่าง คุณก็ยาก
ที่จะแจ้งเกิด ”
ถึงจะเป็นต้นแอปเปิ้ลเหมือนกัน แต่ว่าพันธุ์อะไรก็มีความแตกต่างกันไปอีก เราจึงต้องค่อยๆ ค้นหาตัวเราไปเรื่อยๆ ทำในสิ่งที่ชอบและเหมาะสมกับตัวเรา อะไรที่เราทำแล้วมีความสุข อย่าไปฝืนตัวเอง ไม่ใช่เกิดเป็นแอปเปิ้ล แต่ไม่รู้ตัวเองเป็นแอปเปิ้ล ดันเลือกไปอยู่ภาคอีสานอากาศร้อนผิดที่ผิดทางมันก็ไหม้ไปเลยคราวนี้ ”
คุณอนุชัย เล่าว่า สมัยก่อนโอกาสและเส้นทางอาชีพช่างภาพอาจปิดกั้นจำกัดเฉพาะกลุ่มที่สามารถเข้าถึงการลงทุนเป็นเจ้าของเทดโนโลยีได้เท่านั้น แต่ปัจจุบันอุปสรรคเหล่านี้ได้หมดไปเพราะเทคโนโลยีได้เท่านั้น แต่ปัจจุบันอุปสรรคเหล่านี้ได้หมดไปพราะเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่ถูกลง แต่ในขณะเดียวกันนั่นหมายถึงการแข่งขันที่สูงขึ้นด้วย
ช่างภาพที่จะได้รับการยอมรับในอาชีพจึงต้องมีความโดดเด่น สามารถสร้างความแตกต่างที่ไม่เหมือนใครมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
“สมัยนี้เรายืนยิ้มเห็นกล้องถูก คอมพิวเตอร์ถูก แต่ปรากฏว่าหันหลังไปเนี่ยมีคนดีใจแบบเราข้างหลังอีกเป็นร้อยคน ดังนั้นมีคนพร้อมจะเข้าสู่สนามนี้เยอะมากขึ้น สมัยก่อนบางอาชีพสถานะทางการเศรษฐกิจอาจบล็อกโอกาสโดยอัตโนมัติ ถ้าคุณไม่มีเงินก็ไม่มีโอกาส แต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่แล้ว ถ้าคุณไม่มีความแตกต่างคุณก็ยากที่จะแจ้งเกิด...
คุณอาจจะเป็นตากล้องที่ไม่เหมือนผมก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเอาตามอย่างผม แต่เรื่องราวของผมอาจจะเป็นเหมือนแรงบันดาลใจมาสร้างผลงานที่เป็นของเราเอง
อีกหนึ่งปรัชญาคือคุณต้องทำตัวเหมือนน้ำที่อยู่ในแก้ว แก้วแรกคือเป็นน้ำที่พร่องแก้วซึ่งเปรียบเสมือนแก้วที่ยังมีที่ว่างพร้อมจะเติมเต็มความรู้ใหม่ๆได้ตลอดเวลา และอีกแล้วหนึ่งคือเป็นน้ำล้นแก้ว คือ เอาเรื่องที่ไม่ดีออกจากตัวเราบ้าง เอาเรื่องน้ำดีมาไล่น้ำเลวออกไปบ้างเพื่อจะได้เปิดรับสิ่งอะไรใหม่ๆ ที่สำคัญคือทำอะไรต้องทำให้ถึงที่สุด อย่าปล่อยเวลาและโอกาสให้ผ่านเลยไป เมื่อไหร่ที่ได้รับโอกาส ได้รับความไว้วางใจจากคนที่ให้งานเราต้องทำให้ดีที่สุด อย่ายอมแพ้ทิ้งโอกาสไปง่ายๆ
อีกสิ่งสำคัญที่อยากจะฝากไว้ก็คือเมื่อเราเดิบโตเป็นต้นไม้ใหญ่แล้ว เราต้องแผ่กิ่งก้านร่มเงาให้คนอื่น ได้อาศัยบ้างครับ ไม่งั้นประเทศนี้ก็มีแต่คนวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่มีใครสอนไม่มีใครแบ่งปัน ” คุณอนุชัยทิ้งท้ายให้แง่คิด