www.trueplookpanya.com
คลังความรู้
แนะแนว
ข่าวรับตรง
ธรรมะ




แนะแนว > พี่แนะน้อง

Dive Master มัคคุเทศก์แห่งโลกใต้ทะเล
ทีมงานทรูปลูกปัญญา | 2013-04-01 12:57:45

ใครจะนึกบ้างว่ากิจกรรมพักผ่อนทางทะเลอย่างการดำน้ำ ก็สามารถทำเป็นอาชีพได้หากมีใจรักและศึกษาอย่างจริงจัง พี่แนะน้องขอรับหน้าร้อนด้วยการแนะนำอาชีพทางทะเล ที่สามารถนำรายได้ให้ประเทศไทยได้กว่าปีละ 4,000-5,000 ล้านบาทและกำลังขาดแคลนบุคคลกรชาวไทยอย่างมาก ลองฟังรายละเอียดการเรียนดำน้ำ และความเป็นไปได้ในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่ผนวกการเรียนดำน้ำเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการท่องเที่ยว เพื่อทำอาชีพมัคคุเทศก์ทางทะเล หรือเป็น Dive Master ที่พาคนอื่นๆไปดำน้ำชมความสวยงามของธรรมชาติใต้ท้องทะเลกันเถอะ

                                        

คุณซาช่า อัลแมร์ (Sasha Ulmer)
ครูสอนดำน้ำบริษัท Sun Sand Water Co.,Ltd.

สวัสดีครับ ผมชื่อ ซาช่า อัลแมร์ (Sasha Ulmer) เป็นชาวสวิส และเป็นครูสอนดำน้ำมาได้ 8 ปีแล้ว ผมอยู่เมืองไทยมา 12 ปีแล้วครับ 6 ปีที่ภูเก็ต และอีก 6 ปีจนถึงปัจจุบันนี้ผมอยู่ที่เกาะช้าง

สวัสดีค่ะ ชื่อ เจนจิฬา  โชติประทุม อยู่ในส่วนของ Communication Manager จะช่วยในส่วนของการประสานงานเกี่ยวกับเรื่องของดำน้ำกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ

มีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับแนวโน้มของธุรกิจการท่องเที่ยว และดำน้ำในเมืองไทยนี้บ้างคะ

ซาช่า อัลแมร์ : ความเห็นเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำในเมืองไทย คือที่นี่เป็นหนึ่งในที่ๆดีที่สุดในโลกก็ว่าได้ ผมไปทำงานมาหลายที่แล้วผมทำงานเกี่ยวกับการดำน้ำ ผมว่าเมืองไทยสวยและเป็นตลาดที่ใหญ่มาก น่าจะเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลกเลยก็ว่าได้

โอกาศในการทำงานของสาขาอาชีพนี้

ซาช่า อัลแมร์ : ปัญหาที่สำคัญเกี่ยวกับวงการนี้ หรือคุณอาจจะไม่มองว่ามันเป็นปัญหาก็ได้นะ แต่ผมว่ามันดูไม่ค่อยยุติธรรมเท่าไหร่ เพราะคนส่วนใหญ่ที่ทำอาชีพนักดำน้ำ หรือประมาณ 95% เป็นคนที่มาจากยุโรป เป็นฝรั่ง และอีกแค่ 5% เท่านั้นที่เป็นคนไทย อาจจะด้วยหลายสาเหตุ อาจจะเพราะวัฒนธรรมคนไทย กลัวน้ำ เห็นว่ามันอันตราย หรือ เป็นเพราะไม่มีใครสละเวลามาสอน หรือเพราะว่ากีฬาดำน้ำเป็นกีฬาที่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ด้วยเหตุผลทั้งหมด ก็เลยทำให้มีความแตกต่างกันเรื่องจำนวนค่อนข้างมาก ที่น่าสนใจคือ ลักษณะที่มีคนท้องถิ่นน้อยแบบนี้เกิดขึ้นเฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น

ทำไมการเรียนดำน้ำจึงจำเป็นในการเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการท่องเที่ยวในมหาวิทยาลัย

ซาช่า อัลแมร์ : ที่ผมคิดว่าเราควรจะมีวิชานี้อยู่ในการเรียนสาขาการท่องเที่ยว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่ามันไม่เคยมีมาก่อน ถ้าคุณเรียนเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยว เรียนเรื่องการนำเที่ยวถือไมโครโฟนบนรถทัวร์ การติดต่องาน การทำงานโรงแรม มันก็ดีแต่มันขาดส่วนนี้ไป ธุรกิจการดำน้ำ เป็นรายได้ส่วนใหญ่ของธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทย มันน่าแปลกที่ไม่มีคนไทยทำงานด้านนี้ ผมเลยเข้ามาติดต่อกับทางมหาวิทยาลัย อยากเปิดโอกาส เปิดทางเลือกใหม่ๆ ให้กับนักศึกษา

                              

วางแนวทางในการเรียนการสอนไว้อย่างไรบ้าง

เจนจิฬา : ตอนนี้ก็จะมีมหาวิทยาลัยที่ตอบรับในเรื่องของการบรรจุอยู่ในรายวิชา จำนวน 4 มหาวิทยาลัยในตอนนี้ ในปีนี้ก็จะมีอีกเพิ่มขึ้นในต่อไป จะมีที่ราชภัฏธนบุรี ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และราชภัฏสวนดุสิต แต่ละมหาวิทยาลัยจะจัดการแตกต่างกัน บางที่จะเต็มที่เกี่ยวกับเรื่องของการเรียนดำน้ำเลย และบางที่จะเป็นลักษณะว่ากิจกรรมดำนำเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อให้นักศึกษาได้รู้เรื่องดำน้ำด้วย มหาวิทยาลัยส่วนหนึ่งที่ยังไม่สามารถบรรจุลงในหลักสูตรการเรียนได้ก็จะทำร่วมกันระหว่างบริษัทกับมหาวิทยาลัยไปในโครงการ ก็คือจะมีทั้งหมด 5 มหาวิทยาลัย ก็คือ ราชภัฏสวนสุนันทา ราชภัฏจันทรเกษม ราชภัฏพระนคร วิทยาลัยเซนต์จอห์น และมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีในส่วนของวิทยาลัยเซนต์จอห์นที่บรรจุไว้ในวิชาเรียน ในส่วนของการเรียนก็จะแบ่งเป็นภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ ซึ่งภาคทฤษฎีอาจารย์ที่มีแพลนไว้แล้ว 2 มหาวิทยาลัยก็คือ ราชภัฏธนบุรี ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อาจารย์จะสอนใน 6-7 สัปดาห์แรกครึ่งหนึ่งภาคทฤษฎี และอีกครึ่งหนึ่งที่เกี่ยวในส่วนของดำน้ำ คุณซาช่าจะเป็นคนไปสอนไปเป็นวิทยากรพิเศษอีก 6 ครั้ง แล้วหลังจากนั้นครั้งที่ 7  เป็นส่วนของภาคปฏิบัติที่เกาะช้าง ดำน้ำ 3 วัน 2 คืน ทั้งหมดไปทำที่เกาะช้าง ตอนไปที่เกาะช้างจะเป็นภาคปฏิบัติทั้งหมดเลย ทั้งในส่วนของสระว่ายน้ำและทะเล

สิ่งที่นักศึกษาจะได้จากการเรียนดำน้ำ

สิ่งที่นักศึกษาจะได้ในการเรียนดำน้ำคือพวกเขาสามารถเลือกที่จะเรียนได้สูงสุดจนกระทั้งเป็น Dive Master คือเป็นผู้นำเที่ยวทางน้ำ ที่สามารถทำงานที่ไหนก็ได้ทั่วโลก เพราะผมเป็นตัวแทนของบริษัท PADI ซึ่งเป็นองค์กรด้านการดำน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก และการให้ใบอนุญาตในเอเชียประมาณ 97% ก็ออกโดย PADI เพราะฉะนั้นการได้ใบอนุญาตเป็นผู้นำเที่ยวใต้ทะเลของ PADI หมายความว่าคุณจะเดินทางไปทำงานที่ไหนก็ได้

การเตรียมตัวเพื่อเรียนดำน้ำ

การเตรียมตัวนะครับ ประการแรกเลยคือต้องชอบทะเล เพราะที่เหลือเรื่องความกลัว เป็นอะไรที่ฝึกกันได้ ผมเข้าใจดีว่าบางครั้งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ดูน่ากลัว ในวัฒนธรรมไทยเรื่องการดำลงไปในน้ำ เป็นเรื่องอันตราย อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญก็คือ เรื่องจิตสำนึกในการอนุรักษ์ เพราะทะเลคือห้องทำงานของคุณ คุณต้องช่วยกันรักษาระบบนิเวศใต้ท้องทะเล

การเปิดเสรีการค้าอาเซียนช่วยเปิดโอกาสด้านกับการเรียน

เป็นโอกาสที่ดีมากครับ เพราะตอนนี้ปี 2013 และเราจะร่วมเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2015 ในช่วงนี้มหาวิทยาลัยกำลังสร้างหลักสูตรใหม่ๆ เพื่อรองรับกับการขยายตัวและโอกาสต่างๆที่เพิ่มขึ้น ทำให้ทางมหาวิทยาลัยต้องการสร้างสาขาการเรียนใหม่ๆ ซึ่งก็เปิดโอกาสให้ผมได้เข้าไปมีส่วนร่วมทำหลักสูตรเหล่านี้  ได้ผ่านการอบรมดำน้ำ ได้ใบอนุญาตดำน้ำ ซึ่งเหมือนกับพาสปอร์ตที่ทำให้คุณสามารถไปทำงานนี้ที่ไหนก็ได้ ผมคิดว่านี่เป็นโอกาสในการทำงานที่ดีนะไม่ว่าจะในฐานะนักดำน้ำทั่วไป หรือการทำงานมัคคุเทศก์ทางน้ำ หรือแม้แต่การเป็นครูผู้สอน ผมคิดว่านี่เป็นงานที่สวยงามนะ คุณทำงานในทะเล คุณทำหน้าที่ดูแลระบบนิเวศน์ใต้ท้องทะเล ทำหน้าที่ดูแลผู้คนที่ต้องการลงไปเที่ยวชมโลกใต้ทะเล ผมว่างานนี้เป็นงานที่ดีมากงานหนึ่งเลย ในความเห็นผมนะครับ

นักศึกษาจะได้รับอะไรจากการเรียน

สิ่งแรกที่เขาจะได้รับก็คือ เขาได้เห็นอีกโลกหนึ่งของประเทศไทย ก็คือโลกใต้น้ำนี่แหละทีเขายังไม่เคยดำลงไปดูเพราะว่าน้ำไม่เป็น นี่แหละเป็นประสบการณ์ส่วนตัวแรกที่เขาจะได้สัมผัสประเทศไทยอีกมุมมองก็คือโลกใต้น้ำ เมื่อเขาเกิดความรู้สึกตรงนี้ขึ้นมาแล้วจะทำให้เกิดความรู้สึกสองส่วนหลัก ๆ ส่วนแรกคือ รู้สึกหวงแหนก็คือรู้สึกรัก เพราะฉะนั้นสิ่งที่เป็นประโยชน์แรกคือการอนุรักษ์ คนไทยจะเกิดการอนุรักษ์ทะเลมากขึ้น เวลาเราทำอะไรสักอย่างหนึ่งมันจะมองและว่าจะมีผลต่อทะเล มีผลต่อระบบนิเวศน์ มีผลต่อเราทีหลัง ส่วนที่สองทำให้เขาตอบตัวเองได้ว่าเขาอยากทำอาชีพเกี่ยวกับเรื่องดำน้ำไหม สัมผัสแรกที่เขาได้ดำน้ำ ถ้าเกิดเขามีความสุขกับมันเขาจะมีอีกหนึ่งทางเลือกที่เขาจะทำอาชีพได้ในอนาคต

                                

ประสบการณ์การดำน้ำในเมืองไทย

ผมมีประสบการณ์การดำน้ำมากกว่า 8,000 ครั้ง ผมไปดำน้ำมาหลายที่ แล้วที่ที่ผมอยู่นานที่สุดก็คือที่ภูเก็ตครับ คงจะจำกันได้ว่าปีนั้นมีสึนามิ เป็นประสบการณ์ที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่หลังจากสึนามิแล้วผมทำงานร่วมกับภาครัฐในการฟื้นฟูแนวปะการัง เราดำน้ำเพื่อเอาบล็อกซีเมนต์ไปวางเพื่อช่วยให้ปะการังกลับมาสวยงามเหมือนเดิม การทำงานนั้นเป็นประสบการณ์ที่ดีมาก

เห็นเจนพูดเรื่องดำน้ำมาเยอะนะคะ แต่ว่าเคยดำน้ำมาครั้งหนึ่ง เจนเลยขอเป็นตัวแทนคนที่ยังไม่เคยดำน้ำมาก่อน และเคยดำน้ำมาแล้ว ประสบการณ์การดำน้ำครั้งแรก ครั้งแรกเราจะคิดว่าน้ำไม่ปลอดภัยกับเรา แต่เจนจำประสบการณ์ในการกระโดดลงทะเลครั้งแรกได้ค่ะ เราจะรู้สึกว่าน้ำทะเลพอเรากระโดดลงไปเหมือนกับทะเลโอบอุ้มเราอยู่ เพราฉะนั้นเวลาเราดำน้ำเราจะรู้สึกว่าไม่ใช่เรื่องที่เรากลัวในจินตนาการ พอได้ลงไปดำจริง ๆ แล้วความสวยที่เรามองเห็นอยู่ข้างนอกมันทำให้เราอยากกลับไปดำอีก แล้วเกี่ยวกับเรื่องที่เรากลัวทั้งหมดในจินตนาการไว้มันหายไปหมดเลย เพราะฉะนั้นการดำน้ำครั้งแรกเป็นประสบการณ์สำคัญที่ทุกคนต้องกล้าทำลายกรอบความกลัวของตัวเอง แล้วกระโดดลงไปในน้ำ แล้วจะทำให้เราได้ประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องดำน้ำ