ว่าด้วยเรื่องกรรม (1)
ทีมงานทรูปลูกปัญญา | 2010-08-23 13:09:41
กริยตีติ กมฺมํ
"สภาวะใด อันสัตว์ทั้งหลายกระทำ สภาวะนั้นแล ชื่อว่า กรรม"
ขยายความว่า สัตวทั้งหลายทุกประเภท ย่อมมีการกระทำ จะอยู่นิ่งๆเหมือนสิ่งปราศจากชีวิต เช่น ก้อนกรวดก้อนหินนั้นหามิได้ ก็สิ่งที่สัตว์บุคคลทั้งหลายกระทำต่างๆ นั่นเอง เรียกว่า "กรรม" แยกประเภทออกได้ดังนี้
ถ้าเป็นกุศล ก็เรียกว่า กุศลกรรม
ถ้าเป็นอกุศล ก็เรียกว่า อกุศลกรรม
ถ้ากระทำด้วยกาย ก็เรียกว่า กายกรรม
ถ้ากระทำด้วยวาจา ก็เรียกว่า วจีกรรม
ถ้ากระทำด้วยใจ ก็เรียกว่า มโนกรรม
พึงจำไว้ง่ายๆ ว่า การกระทำที่เกี่ยวเนื่อยด้วยกาย วาจา ใจ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำดีหรือกระทำชั่ว เรียกชื่อว่า "กรรม" เมื่อจะว่าโดยฝ่ายใหญ่ๆ ก็แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายเท่านั้นคือ
1. ฝ่ายกุศลกรรม
2. ฝ่ายอกุศลกรรม
แต่จะเป็นเพราะความไม่เข้าใจความหมายของ กรรมศัพท์ หรือจะเป็นเพราะความเคยชินกันมาแต่โบราณกาลอย่างไรก็สุดจักเดาได้ เมื่อเอ่ยถึงกรรมเข้าแล้ว สามัญชนในโลกสันนิวาส มักจะเพ่งเล็งไปทางฝ่ายอกุศลกรรมเป็นเป้าหมาย
เจริญในธรรมค่ะ
ที่มา : กรรมทีปนี โดยพระพรหมโมลี(วิลาศ ญาณวโร ป.ธ.๙)