www.trueplookpanya.com
คลังความรู้
แนะแนว
ข่าวรับตรง
ธรรมะ




ธรรมะ > บทความธรรมะ

จิต,จิตวิญญาณ
ทีมงานทรูปลูกปัญญา | 2010-05-19 21:00:44

จิต,จิตวิญญาณ   

จิต หรือจะเรียกว่า จิตวิญญาณ ก็ได้เช่นเดียวกัน เพราะทั้งสองสิ่งในทางพุทธศาสนาถือว่า เป็นสิ่งเดียวกัน ที่ข้าพเจ้ากล่าวไป เป็นไปตามหลักความจริง ไม่ว่าจะเป็นไปตามหลักความจริงตั้งแต่ครั้งพุทธกาล จวบจนถึงเป็นไปตามหลักความจริงในยุคสมัยปัจจุบัน
จิต หรือ จิตวิญญาณ เป็นศัพท์ ภาษา ที่ใช้เรียก ส่วนที่เล็กที่สุดของอวัยวะต่างๆ ซึ่งส่วนที่เล็กที่สุดหรือจิตวิญญาณนั้นรวมตัวกัน หรือผสมผสานกัน เป็นอวัยวะต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ (ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์)  ซึ่งหากเป็นศัพท์ภาษาด้านวิชาการในสมัยปัจจุบัน ก็มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่ง  ถึงแม้จะเรียกชื่อแตกต่างจากกัน แต่หน้าที่ หรือสภาพสภาวะของมัน  หรือการทำหน้าที่ของส่วนที่เล็กที่สุดของอวัยวะต่างๆ ก็คือ 

“การรับรู้อารมณ์ หรือสภาพสภาวะการรับรู้ การคิดหรือสภาพแห่งความคิด และสั่งการ อันเกิดจากการได้รับการสัมผัสทางอายตนะภายนอกร่างกาย โดยอายตนะภายในร่างกาย”

จากคำจำกัดความของจิตวิญญาณ ที่ข้าพเจ้ากล่าวไป เป็นสภาพสภาวะ หน้าที่ หรือการทำหน้าที่ หรือเป็นระบบการทำงานของส่วนที่เล็กที่สุดอันรวมกันเป็นอวัยวะของร่างกายมนุษย์ในทุกส่วน มีหัวใจ และ สมอง เป็นจุดศูนย์รวมแห่งการรับรู้อารมณ์ หรือสภาพสภาวะการรับรู้ การคิด หรือสภาพแห่งความคิด และสั่งการ อันเกิดจากการได้รับการสัมผัสทางอายตนะภายนอกร่างกาย โดยอายตนะภายในร่างกาย

หัวใจ จะเป็นจุดศูนย์กลางหลัก มีสมองเป็นจุดศูนย์กลางรอง ซึ่งทั้งสอง จุดศูนย์กลาง จะทำงานร่วมกัน แยกจากกันมิได้ ถ้าหัวใจทำงานผิดปกติ เพียงเล็กน้อย ก็จะมีผลทำให้สมองทำงานผิดปกติไปด้วย และในทางกลับกัน ถ้าสมองมีการทำงานผิดปกติ หรือทำงานหนักเกินไป ก็ย่อมส่งผลให้การทำงานของหัวใจผิดปกติไปด้วย (ในที่นี้จะไม่กล่าวถึงอวัยวะอื่นๆ ซึ่งก็ย่อมมีผลต่อ ระบบ สมอง และหัวใจด้วยเช่นกัน)

การได้รับการสัมผัสจากอายตนะภายนอกร่างกาย โดย อายตนะภายในร่างกาย และเกิดสภาพแห่งการรับรู้อารมณ์ ฯลฯ และสั่งการนั้น  ย่อมเป็นผลจาก สมอง และหัวใจ  ตามลำดับ  ในที่นี้จะไม่อธิบายในรายละเอียด แต่ให้ท่านทั้งหลายที่ใฝ่ศึกษา ได้ตรวจสอบ ทดลอง สังเกต โดยใช้หลักการทางพุทธศาสนา ก็ได้ หรือจะใช้หลักการที่ไม่ใช่ทางพุทธศาสนาก็ได้  เพราะไม่ว่าจะใช้หลักการใด ก็ล้วนเป็นหลักการแบบเดียวกันนั่นแหละ ต่างกันที่ศัพท์ภาษาที่ใช้เรียก เท่านั้น  ก็จะพบความจริง ตามที่ข้าพเจ้าได้อธิบายไป ข้างต้น

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๓

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก www.ruendham.com