"ธรรมนูญชีวิต - A Constitution For Living" โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
ทีมงานทรูปลูกปัญญา | 2015-12-09 17:07:46
ธรรมนูญชีวิต
A Constitution For Living
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
ดาวน์โหลดหนังสือ คลิกที่นี่
********************************
ตัวอย่างบทนำและสารบัญจากหนังสือ
บทนำ
เมื่อพูดถึงเรื่องทั่วๆ ไปเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ศาสนาทั้งหลายมีแนวปฏิบัติแตกต่างกันเป็น ๒ แบบ กล่าวคือ
แบบหนึ่ง ไม่ใส่ใจเรื่องอย่างนั้นเลยโดยสิ้นเชิง มุ่งเน้นเฉพาะแต่การบรรลุจุดหมายที่สูงส่ง คือการเข้ารวมเป็นหนึ่งเดียวกับพระผู้เป็นเจ้า หรือเข้าถึงปรมัตถสัจจะ
ส่วนอีกแบบหนึ่ง ก็สั่งสอนข้อปฏิบัติเกี่ยวกับชีวิตประจำวันนั้นเสียอย่าง ละเอียดพิสดาร โดยกำหนดแก่เราว่าจะต้องคิดหมายใคร่ทำอะไรๆ แค่ไหนอย่างไร จะต้องกินอาหารอะไร จะต้องสวมใส่เสื้อผ้าแบบไหน ศาสนาสองแบบนี้น่าจะเป็นสุดโต่ง ๒ ด้าน
พระพุทธศาสนาเป็นคำสอนสายกลางหรือสอนความพอดี ในเรื่องนี้ก็เช่นเดียวกับเรื่องอื่น ๆ คำสอนในพระพุทธศาสนาดำเนินสายกลาง ระหว่างการเพิกเฉยไม่ใส่ใจเสียเลยต่อเรื่องที่จะต้องปฏิบัติในชีวิตประจำวัน กับการตราบทบัญญัติเป็นกฎข้อบังคับที่เคร่งตึงตายตัว
พระพุทธศาสนาสอนแนวทางความประพฤติตามหลักสัจธรรมที่เป็นอกาลิโก ว่าด้วยประโยชน์สุขที่พึงได้ อันเกิดจากการอยู่ร่วมสัมพันธ์กันโดยใช้ปัญญาด้วยเมตตากรุณา และพร้อมกันนั้นก็มุ่งให้บรรลุถึงอิสรภาพทางจิตปัญญาที่เป็นจุดหมายสูงสุด ถึงขั้นที่ทำให้อยู่ในโลกได้โดยไม่ติดโลกหรืออยู่เหนือโลก
เนื้อหาในหนังสือนี้ได้รวบรวมจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาทั้งหลาย ซึ่งเป็นคัมภีร์ของพระพุทธศาสนา (ยุคแรก) สายเถรวาท ที่ทุกวันนี้ยังใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิต และถือปฏิบัติกันอยู่ ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คำสอนนี้มีอายุเกินกว่า ๒,๕๐๐ ปีแล้ว แต่มิได้คร่ำคร่าล้าสมัยแต่ประการใด ในสังคมปัจจุบันยุคถือหลักความเสมอภาค ที่แบบแผนความประพฤติต่างๆ ตามที่ถือสืบๆ กันมาแต่เดิม ได้ถูกล้มล้างลงไป หรือถูกตั้งข้อสงสัยไปหมด และทั้งๆ ที่มีแนวคิดภูมิปัญญาชนิดที่ว่า “รู้แจ้งเจนจบ” แพร่สะพัดไป แต่ชีวิตของผู้คนกลับสับสนวุ่นวายยิ่งกว่ายุคสมัยใดๆ ในสภาพเช่นนี้ คำสอนของพระพุทธศาสนาที่ย้อนยุคสมัยมีมาแต่ครั้งที่อะไรๆ ยังเป็นไปตามธรรมดาสามัญกว่านี้อย่างมากมายนั้น จะเป็นเสมือนกระแสอากาศสดชื่นบริสุทธิ์ที่ผ่านเข้ามาในห้องที่มีผู้คนแออัด บาทีอาจจะถึงเวลาแล้วที่เราจะหวนกลับไปหาคุณค่าที่ว่าเก่าๆ แต่คงทนดีกว่า
เมื่อการดำเนินชีวิตและกิจการต่างๆ ยึดหลักความเอื้ออาทรเห็นอกเห็นใจกัน มากกว่าจะมุ่งหาผลประโยชน์ให้แก่ตน ก็จะเห็นผลปรากฏว่า ชีวิตและกิจการเหล่านั้นมิใช่จะเลวร้ายอย่างที่เราเคยคิด และที่แท้แล้วมันจะช่วยให้ชีวิตของเราโปร่งโล่งเบาสบายขึ้นด้วย ลองนำแนวคิดของคนสมัยนี้จำนวนมากที่มองสังคมเป็นสนามชิงผลประโยชน์ที่ขัด แย้งกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง กับคำสอนง่ายๆ ว่าด้วย “การปฏิบัติต่อกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง” หน้า ๖๒ มาเทียบกันดูซิว่าเป็นอย่างไร
คนปัจจุบันจำนวนมากมองชีวิตทุกวงการเป็นการต่อสู้ระหว่างผลประโยชน์ที่ขัด กัน เกิดเป็นฝ่ายนายจ้างกับลูกจ้าง รัฐบาลกับราษฎร คนมีกับคนจน และแม้แต่หญิงกับชาย หรือลูกกับพ่อแม่ เมื่อคนถือเอาทรัพย์และอำนาจเป็นจุดหมายของชีวิต สังคมก็กลายเป็นสนามต่อสู้ระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวที่ขัดกัน เราก็เลยต้องเที่ยวหาจริยธรรมสำหรับมาปกป้องผลประโยชน์เหล่านั้น นี่คือ “จริยธรรมเชิงลบ” กล่าวคือ สังคมยึดหลักผลประโยชน์แบบเห็นแก่ตัว โดยถือ “สิทธิของแต่ละคนที่จะแสวงหาความสุข” แล้วเราก็เลยต้องหาจริยธรรมดังเช่น “สิทธิมนุษยชน” มาคอยกีดกั้นกันและกันไว้ ไม่ให้คนมาเชือดคอหอยกัน ในระหว่างที่กำลังวิ่งหาความสุขนั้น
หลักธรรมในพระพุทธศาสนาเป็น “จริยธรรมเชิงบวก” ประโยชน์สุข คือ จุดหมาย หาใช่ทรัพย์และอำนาจไม่
พระพุทธศาสนาถือว่า สังคมเป็นสื่อกลาง ที่ช่วยให้ทุกคนมีโอกาสอันเท่าเทียมกันที่จะพัฒนาตนเอง และเข้าถึงประโยชน์สุขได้มากที่สุด และนำเอาจริยธรรมมาใช้เพื่อเกื้อหนุนจุดหมายที่กล่าวนี้
คำสอนที่แสดงไว้ในหนังสือนี้ ยึดถือตามหลักธรรมที่เป็นความจริงอันไม่จำกัดกาล กล่าวคือ กรุณา เมตตา สามัคคี สังคหะ และปัญญา คนสมัยใหม่ที่มองธรรมชาติคนว่าเห็นแก่ตัว อาจจะรู้สึกว่าคำสอนเหล่านี้เป็นเพียงอุดมคติ แต่ก็มิใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ หลักธรรมเหล่านี้สามารถนำมาปฏิบัติได้จริง
อย่างไรก็ตาม จะต้องระลึกไว้ว่า คำสอนเหล่านี้เก่าแก่ถึง ๒,๕๐๐ ปีแล้ว อาจจะมีอยู่ ๒-๓ อย่างที่จะต้องนำมาแปลความหมายให้เข้ากับสภาพปัจจุบัน แต่ข้าพเจ้ามีความรู้สึกว่า คำสอนเหล่านั้นง่ายพอที่ผู้อ่านจะกลั่นกรองความหมายเอามาใช้ได้ด้วยตนเอง ขอให้หลักธรรมดังกล่าวอำนวยประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน เหมือนดังที่ได้อำนวยประโยชน์แก่ชาวพุทธจำนวนมากมายทั่วทั้งโลก
***************************************
สารบัญ
ภาค ๑ วินัยชาวพุทธ
หมวดหนึ่ง วางฐานชีวิตให้มั่น
กฏ ๑ เว้นชั่ว ๑๔ ประการ
ก. เว้นกรรมกิเลส ๔
ข. เว้นอคติ ๔
ค. เว้นอบายมุข ๖
กฏ ๒ เตรียมทุนชีวิต ๒ ด้าน
ก. เลือกสรรคนที่จะเสวนา
ก) รู้ทันมิตรเทียม
ข) รู้ถึงมิตรแท้
ข. จัดสรรทรัพย์ที่หามาได้
กฏ ๓ รักษาความสัมพันธ์ ๖ ทิศ
ก. ทำทุกทิศให้เกษมสันต์
ทิศที่ ๑ บิดามารดา
ทิศที่ ๒ ครูอาจารย์
ทิศที่ ๓ ภรรยา
ทิศที่ ๔ มิตรสหาย
ทิศที่ ๕ คนรับใช้และคนงาน
ทิศที่ ๖ พระสงฆ์
ข. เกื้อกูลกันประสานสังคม
หมวดสอง นำชีวิตให้ถึงจุดหมาย
ก. จุดหมาย ๓ ขั้น
ขั้นที่ ๑ จุดหมายชั้นตาเห็น
ขั้นที่ ๒ จุดหมายชั้นเลยตาเห็น
ขั้นที่ ๓ จุดหมายสูงสุด
ข. จุดหมาย ๓ ด้าน
ด้านที่ ๑ จุดหมายเพื่อตน
ด้านที่ ๒ จุดหมายเพื่อผู้อื่น
ด้านที่ ๓ จุดหมายร่วมกัน
ชาวพุทธชั้นนำ
ภาค ๒ ธรรมนูญชีวิต
หมวดนำ คนกับความเป็นคน
๑. คนเป็นสัตว์ประเสริฐ (สมาชิกในสังกัดมนุษยชาติ)
๒. คนสมบูรณ์แบบ (สมาชิกแบบอย่างของมนุษยชาติ)
หมวดหนึ่ง คนกับสังคม
๓. คนมีศีลธรรม (สมาชิกในหมู่อารยธรรม)
ก. มีสุจริตทั้งสาม
ข. ประพฤติตามอารยธรรม
ค. อย่างต่ำมีศีล ๕
๔. คนที่มีคุณแก่ส่วนรวม (สมาชิกที่ดีของสังคม)
ก. มีพรหมวิหาร
ข. บำเพ็ญการสงเคราะห์
๕. คนผู้เป็นส่วรร่วมที่ดีของหมู่ชน (สมาชิกที่ดีของชุมชน)
ก. พึ่งตนเองได้
ข. อยู่ร่วมในหมู่ด้วยดี
๖. คนมีส่วนร่วมในการปกครองที่ดี (สมาชิกที่ดีของรัฐ)
ก. รู้หลักอธิปไตย
ข. มีส่วนในการปกครอง
๗. คนผู้นำรัฐ (พระมหากษัตริย์ หรือผู้ปกครองบ้านเมือง)
ก. ทรงทศพิธราชธรรม
ข. บำเพ็ญกรณีย์ของจักรพรรดิ
ค. ประกอบราชสังคหะ
ง. ละเว้นอคติ
หมวดสอง คนกับสังคม
๘. คนมีชีวิตอยู่อย่างมั่นใจ (ชีวิตที่เลิศล้ำสมบูรณ์)
ก. นำชีวิตสู่จุดหมาย
ข. ภายในทรงพลัง
ค. ตั้งตนบนฐานที่มั่น
๙. คนประสบความสำเร็จ (ชีวิตที่ก้าวหน้าและสำเร็จ)
ก. หลักความเจริญ
ข. หลักความสำเร็จ
ค. หลักเผล็ดโพธิญาณ
๑๐. คนรู้จักทำมาหาเลี้ยงชีพ (ชีวิตที่เป็นหลักฐาน)
ก. ขั้นหาและรักษาสมบัติ
ข. ขั้นแจงจัดสรรทรัพย์
ค. ขั้นจับจ่ายกินใช้
๑๑. คนครองเรือนที่เลิศล้ำ (ชีวิตบ้านที่สมบูรณ์)
ก. มีความสุขสี่ประการ
ข. เป็นชาวบ้านแบบฉบับ
ค. กำกับชีวิตด้วยธรรมสี่
ง. รับผิดชอบชีวิตที่เกี่ยวข้อง
จ. ครองตนเป็นพลเมืองที่ดี
๑๒. คนไม่หลงโลก (ชีวิตที่ไม่ถลำพลาด)
ก. รู้ทันโลกธรรม
ข. ไม่มองข้ามเทวทูต
ค. คำนึงสูตรแห่งชีวิต
หมวดสาม คนกับคน
๑๓. คนร่วมชีวิต (คู่ครองที่ดี)
ก. คู่สร้างคู่สม
ข. คู่ชื่นชมคู่ระกำ
ค. คู่ศีลธรรมคู่ความดี
ง. คู่ถูกหน้าที่ต่อกัน
จ. พ่อบ้านเห็นใจภรรยา
๑๔. คนรับผิดชอบตระกูล (หัวหน้าครอบครัวที่ดี)
ก. รักษาตระกูลให้คงอยู่
ข. บูชาคนที่เหมือนไฟ
ค. ใส่ใจบุตรธิดา
ง. ทำหน้าที่ผู้มาก่อน
จ. เป็นราษฎรที่มีคุณภาพ
๑๖. คนที่จะคบหา (มิตรแท้-มิตรเทียม)
ก. มิตรเทียม
ข. มิตรแท้
ค. มิตรต่อมิตร
๑๗. คนงาน-นายงาน (ลูกจ้าง-นายจ้าง)
ก. นายจ้างพึงบำรุงคนรับใช้และคนงาน
ข. คนรับใช้และคนงานมีน้ำใจช่วยเหลือนาย
หมวดสี่ คนกับมรรคา
๑๘. คนผู้สั่งสอนหรือให้การศึกษา (ครู อาจารย์ หรือผู้แสดงธรรม)
ก. เป็นกัลยาณมิตร
ข. ตั้งใจประสิทธิ์ความรู้
ค. มีลีลาครูครบทั้งสี่
ง. มีหลักตรวจสอบสาม
จ. ทำหน้าที่ครูต่อศิษย์
๑๙. คนผู้เล่าเรียนศึกษา (นักเรียน นักศึกษา นักค้นคว้า)
ก. รู้หลักบุพภาคของการศึกษา
ข. มีหลักประกันชีวิตที่พัฒนา
ค. ทำตามหลักเสริมสร้างปัญญา
ง. ศึกษาให้เป็นพหูสูตร
จ. เคารพผู้จุดประทีปปัญญา
๒๐. คนใกล้ชิดศาสนา (อุบาสก อุบาสิกา)
ก. เกื้อกูลพระ
ข. กระทำบุญ
ค. คุ้นพระศาสนา
ง. เป็นอุบาสกอุบาสิกาชั้นนำ
จ. หมั่นสำรวจความก้าวหน้า
๒๑. คนสืบศาสนา (พระภิกษุสงฆ์)
ก. อนุเคราะห์ชาวบ้าน
ข. หมั่นพิจารณาตนเอง
๒๒. คนถึงธรรม (ผู้หมดกิเลส)
ขอบคุณที่มาจาก
http://www.sangkapan.com/Article-tumma1.html
http://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/a_constitution_for_living_thai-eng.pdf