สีหไสยาสน์ นอนตะแคงขวา ท่านอนที่ดีต่อร่างกายและการเจริญสติ
ทีมงานทรูปลูกปัญญา | 2015-11-20 18:14:17
การนอนแบบคนทั่วไปนั้น มักจะหลับๆตื่นๆ บ้าง ฝันบ้าง ทำให้ตื่นมา มักจะรู้สึกเพลียๆ มึนงง เบลอๆ นอนไม่เต็มอิ่ม นั่นเป็นเพราะว่าขณะเรานอนหลับนั้นจิตของเรายังปรุงแต่ง เกิดเป็นความฝันเรื่องราวต่างๆมากมายทำให้สมองพักผ่อนได้ไม่เต็มที่ การจัดระเบียบในสมองก็ทำได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
การนอน(พักผ่อนสมอง)ที่ดีที่สุด ซึ่งก็คือรูปแบบการนอน พักผ่อนด้วยการเจริญสติ มีสติรู้ตัวทุกขณะ คลื่นสมองจะมีระเบียบมากที่สุด ได้แก่ การพักผ่อนของพระพุทธเจ้าที่ ทรงมีสติสัมปชัญญะตลอดเวลา ที่เรียกว่า พุทธไสยาสน์ หรือ คถาคตไสยาสน์
ดังมีปรากฏในพระไตรปิฎกเล่ม 21 อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ว่าด้วยไสยา(การนอน) 4 อย่างว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตถาคตไสยาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน นี้เราเรียกว่าตถาคตไสยา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไสยา (การนอน) ๔ อย่างนี้แล ฯ
๑. กามโภคีไสยาสน์ การนอนของบุคคลผู้บริโภคกามคุณ (คือนอนตะแคงข้างซ้าย)
ภาพประกอบ : ลิขสิทธิ์ถูกต้องจาก Shutterstock
ลิขสิทธิ์ภาพขอสงวนเฉพาะสำหรับใช้งานในสื่อต่างๆ ของทรูปลูกปัญญา เท่านั้น
ห้ามไม่ให้นำภาพไปเผยแพร่ผ่านช่องทางอื่นโดยเด็ดขาด
๒. เปตไสยาสน์ การนอนของเปรต (คือนอนหงาย)
ภาพประกอบ : ลิขสิทธิ์ถูกต้องจาก Shutterstock
ลิขสิทธิ์ภาพขอสงวนเฉพาะสำหรับใช้งานในสื่อต่างๆ ของทรูปลูกปัญญา เท่านั้น
ห้ามไม่ให้นำภาพไปเผยแพร่ผ่านช่องทางอื่นโดยเด็ดขาด
๓. สีหไสยาสน์ การนอนของราชสีห์ (คือนอนตะแคงข้างขวา)
ครูบาพรหมจักรนอนสีหไสยาสน์
ที่มา : http://www.krubajong.com/kruba/promma.php
๔. ตถาคตไสยาสน์ การบรรทมของพระตถาคตเจ้า (ทรงบรรทมตะแคงข้างขวา)
ภาพ : พระพุทธรูปปางไสยาสน์
http://www.sarapee.ac.th/www/index.php/2011-02-25-06-11-42/662-2011-03-01-04-43-14
พุทธไสยาสน์ หรือ คถาคตไสยาสน์ พระตถาคต ทรงบรรทมตะแคงข้างขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีพระสติสัมปชัญญะในการบรรทม บางท่านเรียกว่า "จตุตถไสยาสน์"
-- โดยพระพุทธเจ้าทรงพักผ่อนพระวรกายในส่วนสมอง ขณะสำเร็จสีหไสยาเพียงวันละ 4 ชั่วโมง
-- พระองค์ทรงแนะนำให้ ภิกษุนอนวันละ 4 ชั่วโมง และนอนด้วยการสำเร็จสีหไสยาสน์ มีสติสัมปชัญญะและทำสัญญาในการตื่นขึ้นไว้ในใจ ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี
-- กลับตื่นขึ้นแล้ว พึงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเป็นเครื่องกางกั้น ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดปัจฉิมยาม (อีก 4 ชั่วโมง) แห่งราตรี
-- นั่นคือก่อนจะนอนภิกษุต้องตั้งสติ คือตั้งใจไว้ก่อนว่า นอนอย่างมีสติสัมปชัญญะ และตื่นขึ้นในเวลาที่กำหนด
นอนด้วยท่าทางสงบ นอนตะแคงขวาเพื่อไม่ให้บีบทับหัวใจมากเกินไป มือขวาวางหงายไว้บนหมอนข้างแก้มขวา มือซ้ายวางราบไปตามลำตัว ขาขวาวางเหยียดไปแบบธรรมชาติไม่ต้องเกร็งให้ตรงเกินไป โคนขาซ้ายทับขาขวาอย่างพอเหมาะ เข่าซ้ายพับงอเล็กน้อย ปลายเท้าซ้ายวางลาดตํ่าไว้หลังเท้าขวา เป็นการช่วยพยุงร่างให้ทรงตัวในท่านอนได้นาน
ที่มา ; http://www.watpitchvipassana.com/purity-dhamma-34-sleeping.html
กุศโลบายการวางเท้าเหลื่อมเท้า
เหตุที่วางเท้าเหลื่อมเท้านั้น เพราะว่าคนเรามีอุ้งเท้าที่โค้ง เมื่อวางเท้าซ้ายเหลื่อมเท้าขวา อุ้งเท้าซ้ายจะวางอยู่บนสันเท้าขวา ซึ่งมีความโค้งมนส้นเท่าขวาจะรองรับน้ำหนักของเท้าซ้ายได้พอดี และไม่พลัดตกลงมาเท้าทั้งสองที่เหยียดออกไปก็ไม่ถึงกับต้องตรง แต่จะงอเข่าทั้งสองข้างลงเล็กน้อยจะทำให้หัวสะบ้าเข่าข้างซ้ายกดทับลงบนข้อพับด้านขาขวา ข้อพับขวาจะมีลักษณะโค้งอ่อนนุ่ม ก็จะพยุงหัวเข่าซ้ายไว้ไม่ให้พลิก
มือซ้ายที่วางบนร่างกายด้านซ้ายนั้น ไม่เหยียดตรง แต่จะงอเล็กน้อยให้น้ำหนักอยู่ตรงกลางระหว่างข้อศอกกับปลายก็จะเป็นท่านอนที่ถูกต้องกับสรีระของคนเรา
แพทย์ศิริราช แนะท่านอนที่ทำให้หลับสบาย ตื่นขึ้นมาสดชื่น “นอนตะแคงขวา” ช่วยให้หัวใจเต้นสะดวก บรรเทาอาการปวดหลัง ส่วนผู้ถนัดนอนตะแคงซ้ายอาจทำให้เกิดลมจุกเสียดที่ลิ้นปี่ แนะกอดหมอนข้างพร้อมพาดขา ป้องกันขาชาจากการนอนทับเป็นเวลานาน
นพ.ชนินทร์ ลีวานันท์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า
การพักผ่อนที่ดีที่สุดคือ การนอนหลับ มนุษย์ใช้เวลาเพื่อนอนหลับถึง 1 ใน 3 ของอายุขัย ขณะนอนหลับท่านอนเป็นสิ่งสำคัญที่จะส่งผลให้ผู้นอนหลับสนิทตลอดคืน และตื่นนอนด้วยความสดชื่น ไม่รู้สึกปวดเมื่อย ซึ่งโดยปกติคนทั่วไปคนเรานิยมนอนหงาย เพราะเป็นท่านอนมาตรฐาน
การนอนหงายที่เหมาะสมนั้น ควรใช้หมอนต่ำและต้นคอควรอยู่ในแนวเดียวกันกับลำตัว เพื่อไม่ให้ปวดคอ อย่างไรก็ตาม ท่านอนหงายไม่เหมาะกับผู้ป่วยโรคปอดและโรคหัวใจ เพราะกล้ามเนื้อกระบังลมจะกดทับปอดทำให้หายใจไม่สะดวก ส่งผลทำให้การทำงานของหัวใจลำบากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้มีอาการปวดหลังการนอนหงายในท่าราบจะทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้นด้วย
สำหรับท่านอนที่ดีที่สุด เมื่อเทียบกับท่านอนอื่นๆ คือ ท่านอนตะแคงขวา เพราะจะช่วยให้หัวใจเต้นสะดวก และอาหารจากกระเพาะจะถูกบีบลงลำไส้เล็กได้ดี ทั้งยังช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
ท่านอนตะแคงซ้ายซึ่งจะช่วยลดอาการปวดหลังได้ แต่ควรกอดหมอนข้าง และพาดขาไว้เพื่อป้องกันอาการชาที่ขาซ้ายจากการนอนทับเป็นเวลานาน อย่างไรก็ตาม ท่านอนตะแคงซ้ายอาจทำให้เกิดลมจุกเสียดบริเวณลิ้นปี่ เนื่องจากอาหารที่ยังย่อยไม่หมดในช่วงก่อนเข้านอนคั่งค้างในกระเพาะอาหาร
ภาพประกอบ : ลิขสิทธิ์ถูกต้องจาก Shutterstock
ลิขสิทธิ์ภาพขอสงวนเฉพาะสำหรับใช้งานในสื่อต่างๆ ของทรูปลูกปัญญา เท่านั้น
ห้ามไม่ให้นำภาพไปเผยแพร่ผ่านช่องทางอื่นโดยเด็ดขาด
ท่านอนคว่ำเป็นท่าที่ทำให้หายใจติดขัด ทั้งยังทำให้ปวดต้นคอ เพราะต้องเงยหน้ามาทางด้านหลังหรือบิดหมุนไปข้างใดข้างหนึ่งเป็นเวลานาน ดังนั้น ถ้าจำเป็นต้องนอนคว่ำจึงควรใช้หมอนรองใต้ทรวงอก เพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยต้นคอ
เห็นได้ว่าการนอนในท่าสีหไสยาสน์นี้ จะมีคุณอเนกประการแก่ผู้ที่ตรากตรำทำงานอย่างเคร่งเครียด เช่น นักเรียน นักศึกษา ที่ต้องดูหนังสือสอบ รวมทั้งนักบริหารทั้งหลาย ขอให้ท่านทั้งหลายลองสำเร็จการนอนแบบสีหไสยาสน์แล้วจะพบว่าเมื่อตื่นขึ้นมาท่านจะทำงานต่อไปได้อย่างสดชื่น และจะรู้ว่าจิตนี้อัศจรรย์จริง
แต่ที่แท้จริงแล้ว ไม่ว่าจะนอนท่าไหน หากสบายและทำให้พักผ่อนได้สนิท และยิ่งหากผู้นอนมีสติกำกับ ก็ถือว่าเป็นกุศลแด่ผู้ที่สามารถดำรงสติในทุกอิริยาบถนั่นเอง
เนื้อหาเรียบเรียงจาก
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9490000148545
http://www.kanlayanatam.com/sara/sara28.htm
http://board.palungjit.org/7769583-post7.html
http://www.atriumtech.com/cgi-bin/hilightcgi?Home=/home/InterWeb2000&File=/home2/searchdata/Forums2/http/www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y5748887/Y5748887.html#sthash.XDkMuKdP.dpuf