เข้าพรรษา เข้าหาธรรม ลองมองโลกแบบบวก ๆ ดูบ้าง
ทีมงานทรูปลูกปัญญา | 2014-07-08 15:01:51
ใครที่กำลังสับสนว้าวุ่นใจ ต้องการหาทางออกให้กับปัญหาต่างๆ ในช่วงเข้าพรรษานี้ ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะปรับเปลี่ยนชีวิต คิดบวก ลองเปิดใจให้ธรรมะมาช่วยเยียวยา
ปัญหาที่ว่าแก้ยาก เหมือนโลกจะถล่มทลาย หากเรามองโลกในมุมใหม่ด้วยธรรมะ ปัญหาเหล่านั้นก็สามารถคลี่คลายได้อย่างง่ายดาย ลองมาฟังปัญหาว้าวุ่นใจต่างๆ ที่ไขข้อข้องใจโดยเหล่าพระอาจารย์ผู้ทรงธรรม ที่จะมาช่วยเปิดมุมมองใหม่ๆ แล้วเราจะพบว่า ปัญหาทุกอย่างอยู่ที่มุมมองของเราเองทั้งนั้น มองมุมบวก ทุกอย่างก็เป็นบวก ลองดูสิ
ท่าน ว.วชิรเมธี : การบ้าดารานั้นเป็นธรรมดาของมนุษย์ที่จะมีกิเลส แต่ต้องแสวงหาทางสายกลางให้พบ เราทุกคนนั้นล้วนแล้วแต่มีฮีโร่ในดวงใจ มีดาราที่ชื่นชอบในดวงใจ ถ้าเราชื่นชอบดาราคนไหน ก็จงเลือกเอาเฉพาะด้านที่ดีงามนั้นมาเป็นตัวอย่างในชีวิตเรา ไม่ใช่ว่าเขาทำอะไร เราก็ทำตามไปเสียทุกอย่าง ถ้าเช่นนั้นก็ถือว่าเป็นการทำไม่ถูกต้อง พระอาจารย์ขอให้หลักง่ายๆว่า “หากเธอชื่นชอบในตัวของผู้ใด ก็จงซึมซับในความดีงามของเขา”
http://www.trueplookpanya.com/true/ethic_detail.php?cms_id=8749
ท่าน ว.วชิรเมธี : มนุษย์เรานั้น ทำบุญ ทำบาปมาไม่เท่ากัน คนบางคนเกิดมาพร้อมทุกอย่าง แต่เราก็ไม่ควรไปอิจฉาเขา เพราะคำว่าพร้อมทุกอย่างนั้น เป็นสิ่งที่เราเห็นเท่านั้น บางสิ่งบางอย่างที่เรามองไม่เห็น เขาอาจจะตกต่ำย่ำแย่กว่าเราก็ได้ ดังนั้น เราก็ไม่ควรจะมานั่งดูถูกตัวเอง ธรรมดาของธรรมชาตินั้น มักจะจัดสรรให้ทุกคนมีดีในตัวเสมอ เราควรจะค้นหาดีในตัวเองให้พบ เราเกิดมาอาจจะไม่หล่อ ไม่สวย ไม่รวย ไม่เก่ง แต่เราอาจจะเป็นคนจิตใจดีงามล้ำเลิศก็เป็นได้ ดังนั้น ไม่ควรพยายามจะเป็นอย่างเขา แต่พยายามที่จะเป็นอย่างเรานั่นแหละ ให้ดีที่สุด แล้ววันหนึ่งเราจะประสบความสำเร็จ
http://www.trueplookpanya.com/true/ethic_detail.php?cms_id=10051
ท่าน ว.วชิรเมธี : สำหรับคนที่ถูกแฟนบอกเลิกแล้วพยายามจะลืมแต่ลืมไม่ได้ พระอาจารย์ขอแนะนำว่าเราต้องรู้เท่าทันสัจธรรมของชีวิต ที่บอกว่าไม่มีใครได้ทุกอย่างอย่างใจหวัง และไม่มีใครได้ดังหวังทุกอย่างไป อันนี้เป็นธรรมดาของชีวิต ประหนึ่งเมื่อเราผิดหวัง เราก็ควรจะเตือนตัวเองว่าชีวิตมันก็เป็นอย่างนี้ ไม่มีใครเกิดมาสมบูรณ์แบบไปเสียทุกอย่าง ประการที่สองให้หาอะไรทำ อย่าไปอยู่เฉยๆ เพราะถ้าอยู่เฉยๆก็จะเอาแต่คิดถึงเขาอยู่ตลอดเวลา และประการที่สามคือจัดสภาพแวดล้อมใหม่ อย่าให้ไปอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิมๆ มิเช่นนั้นก็จะคิดถึงเขาอยู่ตลอดไป ทำสามประการนี้ได้เมื่อไหร่ พระอาจารย์เชื่อว่าชีวิตก็จะดีขึ้น
http://www.trueplookpanya.com/true/ethic_detail.php?cms_id=10050
ท่าน ว.วชิรเมธี : หลักในการคบเพื่อนนั้นมีง่ายๆ นั่นก็คือ คบใครก็ตาม ชีวิตของเราดีงามล้ำเลิศ ประเสริฐยิ่งขึ้นทุกที อุปมาดังหนึ่งคนก่อกำแพง ยิ่งก่อก็ยิ่งสูงอยู่บนกำแพง ถ้ากรณีเช่นนี้ แสดงว่าคนๆนั้นเป็นคนดี คบได้ แต่คบใครก็ตาม ยิ่งคบ ชีวิตของเรายิ่งตกต่ำ ย่ำแย่ อุปมาดังหนึ่งคนที่ขุดบ่อน้ำ ยิ่งขุดก็ต่ำลงไปอยู่ในบ่อที่ตัวเองขุด ถ้าคบแล้วแย่ลง ต่ำลง ก็เลิกคบ สรุปได้ว่า "คบแล้วดีขึ้นจงคบ คบแล้วแย่ลงก็เลิกคบ"
http://www.trueplookpanya.com/true/ethic_detail.php?cms_id=10049
ท่าน ว.วชิรเมธี :คำตอบสำหรับพระอาจารย์ก็คือ มองโลกในแง่ดี เปลี่ยนเขาให้เป็นครูฝึกของเรา เตือนตัวเองว่าก็ดีเหมือนกัน เขากำลังฝึกเราให้บำเพ็ญขันติบารมี คือการรู้จักอดทนอดกลั้น ถึงเขาท้าทายเราอยู่เรื่อยๆ เราก็บอกก็ดีเหมือนกันฝึกให้เราได้เรียนรู้อยู่ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤต ถ้าเรามองเขาเป็นครูฝึกเรา วันหนึ่งเราอาจจะรู้สึกดีกับคนๆนั้นก็ได้ แต่ถ้าเรามองว่าเขาเป็นเจ้ากรรมนายเวรของเรา เราคงจะเกลียดเขาทุกวัน ซึ่งการมองลบเช่นนั้นไม่ช่วยอะไร
http://www.trueplookpanya.com/true/ethic_detail.php?cms_id=14728
ท่าน ว.วชิรเมธี : การโกหกที่จะถือว่าเป็นบาปโดยสมบูรณ์นั้น ต้องประกอบด้วย องค์ประกอบถึง 5 ประการ 1.เรื่องนั้นเป็นเรื่องเท็จ 2.เราตั้งใจจะกล่าวให้เป็นว่าเป็นเรื่องจริง 3.เราเปล่งวาจากล่าวออกมา 4.มีคนเชื่อตามที่เรากล่าววาจานั้น 5.มีผู้เสียหาย ถ้าครบทั้ง 5 ประการนี้ ถือว่าเราทำบาปด้วยการพูดเท็จสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็น แต่ถ้าเรากล่าวออกมาแล้วต้องการให้ผู้อื่นสบายใจ ไม่มีผู้เสียหาย เพราะเรากล่าวด้วยเจตนาดี ในกรณีเช่นนี้ก็เป็นบาป แต่บาปนั้นน้อยลงมาก เพราะเจตนาของเราไม่ต้องการจะทำร้ายใครให้เสียหายนั่นเอง
http://www.trueplookpanya.com/true/ethic_detail.php?cms_id=8744
ท่าน ว.วชิรเมธี : ใครก็ตามที่เคยทำความผิดมาในเวลาก่อน ปัจจุบันกลับนึกขึ้นมาได้ อยากจะแก้ตัว คำแนะนำก็คือไม่ต้องไปทำพิธีแก้กรรมใดๆทั้งสิ้น แต่เราควรจะเรียนรู้จากอดีตว่าเราผิดพลาดในเรื่องไหน เมื่อเราเรียนรู้และสรุปเป็นบทเรียนว่าเราจะไม่ทำผิดซ้ำและตั้งตนเป็นคนใหม่ ทำได้อย่างนี้ภาษาพระท่านเรียกว่าการแก้กรรม การแก้กรรมก็คือการแก้พฤติกรรมนั่นเอง พฤติกรรมใดทำชีวิตให้ตกต่ำ เลิกพฤติกรรมนั้นซะ นี่แหละคือการแก้กรรม
http://www.trueplookpanya.com/true/ethic_detail.php?cms_id=8750
พระมหาธีรนาถ อคฺคธีโร : ถ้ามันเป็นของมีลิขสิทธิ์ของเขา ที่เขาไม่อนุญาตให้นำมาเผยแพร่ อันไหนที่เราขโมยมา ซึ่งเป็นปัญญาของคนอื่นเขา แน่นอนทีเดียวเป็นการผิดศีลผิดธรรม แต่ถ้าเขาอนุญาตให้เราโหลดมาได้ ก็ไม่ผิดศีลผิดธรรมแต่ประการใด ก็เป็นประโยชน์ด้วยมากมาย
สิ่งที่เป็นลิขสิทธ์ทางปัญญาทางความคิดของคนอื่น ถ้าเขาให้เพียงดูเฉยๆเราก็ดู ถ้าเขาให้โหลดเราก็โหลด ฉะนั้นถ้าเราโหลดมาเพราะเขาอนุญาต ก็ไม่ผิดศีลผิดธรรมแต่ประการใด
http://www.trueplookpanya.com/true/ethic_detail.php?cms_id=14838
พระมหาธีรนาถ อคฺคธีโร : การที่แกล้งเพื่อนเล่นธรรมดา ไม่ถือว่าเป็นการผิดศีลผิดธรรมแต่ประการใด ความคุ้นเคย ความสนุกสนาน ความเพลิดเพลิน อยู่ในขอบเขตนี้ ไม่ถือว่าเป็นบาป เป็นเวร เป็นกรรม ไม่ถือว่าผิดศีลผิดธรรมด้วย เป็นกิริยาธรรมดา แต่ว่าการทำต้องรู้จักกาลเทศะ อย่างเช่นการมาเล่นกันในขณะฟังเทศน์ฟังธรรม หรือในขณะที่ผู้ใหญ่ประชุมอยู่ ก็เป็นกิริยามารยาทไม่ดี แต่ไม่ถือว่าเป็นการผิดศีลแต่ประการใด ฉะนั้นให้ถูกกาลเทศะก็ไม่ผิดศีลผิดธรรมแต่ประการใด แต่เป็นเรื่องกิริยามารยาท ทำให้เหมาะสมจะเป็นการดี
http://www.trueplookpanya.com/true/ethic_detail.php?cms_id=14837
พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ : เราจะเปลี่ยนพฤติกรรม เปลี่ยนนิสัย จะต้องเห็นโทษ จะต้องเบื่อหน่าย ที่เป็นคนใจร้อน ถ้าเรายังยินดี เพลิดเพลินในอารมณ์ ก็เป็นไปได้ยาก แต่โดยสังเขป ต้องปฏิบัติทางด้านพฤติกรรม ต้องไม่ใจร้อน มีอาการทางจิตใจอย่างไร อย่าเพิ่งแสดงออก ทางกาย ทางวาจา อดทน ข้อที่สองต้องฝึกจิต เสริมสร้างคุณธรรมที่เป็นปฏิบัติ ที่เป็นตรงกันข้ามกับกิเลสที่เป็นปัญหา เช่นความสงบจากสมาธิ ความอดทน ความใจเย็น ยอมรับสภาพของสิ่งต่างๆ ที่เราแก้ไม่ได้เป็นต้น ที่สามคือใช้ปัญญาเห็นชัดถึงโทษ ทุกข์ที่เกิดขึ้นจากการไม่ควบคุมอารมณ์ รู้ไม่เท่าทันอารมณ์ นึกถึงครูบาอาจารย์ นึกถึงผู้ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่ใจเย็นแล้วให้เป็นกำลังใจ และพยายามสร้างฉันทะ ความพอใจ ในการพัฒนาตัวเองจากการเป็นคนใจร้อน สู่ความเป็นคนใจเย็น
http://www.trueplookpanya.com/true/ethic_detail.php?cms_id=14820
พระอาจารย์ชยสาโร ภิกขุ : ความง่วงเหงาหาวนอนเกิดขึ้นด้วยมีปัจจัยหลายอย่าง อาจจะเกิดเพราะขาดการพักผ่อนก็ได้ แต่ส่วนมากจะเกิดจากความเบื่อจากการไม่ชัดเจนในเป้าหมายของการนั่งหรือวิธีการนั่งหรือเพราะชีวิตประจำวัน เราชินกับความคิดมากพอคิดน้อยลงมันก็อยากหลับ ฉะนั้นการปฏิบัติคือการเรียนรู้เรื่องนิสัยใจคอหรือการแก้นิสัยต่างๆ ฉะนั้นความง่วงเหงาหาวนอนก็ถือว่าเป็นอาจารย์ เป็นสิ่งที่เราต้องรู้เท่าทัน รู้จักปล่อยวาง ก็เป็นเรื่องธรรมดาของนักปฏิบัติ แต่เป็นสิ่งที่เราต้องปฏิบัติให้พ้นได้
http://www.trueplookpanya.com/true/ethic_detail.php?cms_id=14810
มาลอง “มองต่าง อย่างมีธรรม” ได้เพิ่มเติมที่