สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถระ)
สำหรับ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.9) เป็นพระสงฆ์มหานิกาย ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม และเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เคยเป็นผู้รักษาการแทนสมเด็จพระสังฆราช ปัจจุบันเป็นประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นพระเถระที่มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์สูงสุดของมหาเถรสมาคม ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ เมื่อปี พ.ศ.2533 มีนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระพุฒาจารย์ ภาวนากิจวิธานปรีชา ญาโณทยวรางกูร วิบูลวิสุทธิจริยา อรัญญิกมหาปริณายก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"
คติธรรม คำสอน สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถระ)
"หลักธรรมะทั้งหมด เป็นธรรมะที่ครองใจทั้งนั้น เพราะว่าธรรมะเป็นเรื่องของนามธรรมจริงๆ แม้จะตรัสสอนเรื่อง รูปธรรม แต่ก็เป็นคำสอนที่จะนำไปครองใจ เอาไปเก็บไว้ในใจ ธรรมะทั้งหมดจึงเป็นธรรม ที่ครองใจ"
คำว่า "นามธรรม" คือไม่สามารถจับต้องได้โดยอาศัยประสาทสำผัสทั้ง 5 อันประกอบไปด้วย ตา หู จมูก ลิ้น และร่างกาย เช่น ความรู้สึกต่างๆ ทุกคนเชื่อว่ามีอยู่จริง แต่ไม่สามารถจับต้องได้ นั่นคือ สิ่งที่เป็นนามธรรม
ด้วยเหตุนี้เอง "จิตใจ" จึงจัดอยู่ในสิ่งที่เป็นนามธรรมด้วย เพราะไม่สามารถสำผัสได้ทางประสาทสำผัสหยาบทั้ง 5 ก็ต่อเมื่อมีผู้ใด ฝึกเจริญสมาธิภาวนาจนถึงจุดๆหนึ่ง ก็จะทราบว่าจิตใจและอารมณ์ต่างๆมีอยู่จริง
ความรัก โลภ โกรธ หลง ต่างๆอยู่ที่ไหน? ถ้าอยู่ที่ร่างกายที่เป็นรูปธรรม คงไม่ต้องห่วง เพราะว่าถ้าอยากลดสิ่งใด ก็ไปหาหมอ ให้หมอช่วยตัดออกให้หรือฉีดยารักษาให้ หรือสักวันหนึ่งก็หายไปเอง ในวันที่อายุขัยหมด ก็ต้องทิ้งร่างกาย กิเลสทั้งหมดก็ย่อมถูกทิ้งตาม
แต่เหตุการณ์หาเป็นเช่นนั้นไม่ เนื่องจากว่ากิเลสทั้งหลายเป็นรูปธรรม ไม่สามารถจับต้องได้ด้วยประสาทหยาบทั้ง 5 ก็เลยกลายเป็นว่าต้องใช้เครื่องมือที่เป็นรูปธรรมจัดการเช่นกัน นั่นก็คือจิตใจนั่นเอง
ด้วยเหตุนี้ธรรมะทั้งหมด จึงอยู่ที่จิตใจเป็นสำคัญ ผู้ใดครองธรรมะในใจไว้มาก ทำมาก ปฏิบัติมาก กิเลสก็จะค่อยๆล้มหายตายจากไปทีละนิด จนหมดไป
แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ตรัสสอนเรื่องของรูปธรรม คือร่างกายด้วย เพราะแม้ว่ากิเลสไม่ได้อยู่ในร่างกาย แต่ร่างกายก็เป็นสิ่งที่มนุษย์หลงผิด คิดว่าเป็นตัวเรา ของเรา เมื่อมีใครมาทำให้เกิดเสื่อมเสียทางร่างกาย กิเลสในใจก็ปรุงแต่งให้มีอารมณ์รัก โลภ และโกรธ ขึ้นมา ด้วยความ "หลง" เป็นหัวหน้าใหญ่
อีกทั้งรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอม รสอร่อย และสำผัสที่พึงพอใจ ก็เป็นผลมาจากการที่ร่างกายรับมาทั้งนั้น
พระพุทธองค์จึงต้องแสดงความจริงของร่างกายให้เห็น เพื่อให้คนได้เข้าใจว่าแท้จริงแล้วร่างกายมันไม่เป็นเรา ไม่เป็นของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา สิ่งที่สำผัสได้ทั้งหมดนั้น เป็นของปลอม เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ สุดท้ายก็สูญสลายหายไปตามกาลเวลา
เมื่อบุคคลใดพิจารณาตาม ก็จะพบว่ารูปธรรมไม่มีอยู่จริง ตามที่ได้กล่าวไป ในเมื่อไม่มีอยู่จริง จะยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของเราไปเพื่ออะไร เพราะเหมือนกับการไขว่คว้าอากาศ ไขว่คว้าความว่างเปล่า ไม่ได้อะไรเลย
เมื่อจิตใจพิจารณาจนเกิดปัญญา ก็เกิดอาการปล่อยวางในรูปธรรมทั้งหมด เหลือแต่ธรรมะที่ครองอยู่ภายในใจ