www.trueplookpanya.com
คลังความรู้
แนะแนว
ข่าวรับตรง
ธรรมะ




ธรรมะ > บทความธรรมะ

การสวดมนต์รักษาโรคภัย...โรคภัยหายด้วยการสวดมนต์
ทีมงานทรูปลูกปัญญา | 2012-10-18 08:58:37

การสวดมนต์รักษาโรคภัย...โรคภัยหายด้วยการสวดมนต์

คุณ ๆคงพอที่จะทราบกันอยู่แล้วใช้ไหมค่ะ ว่าการสวดมนต์นั้นสามารถที่จะรักษาโีีรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ได้ด้วย แต่เราลองมาดูด้วยกันดีกว่าค่ะว่า"โรคภัยหายด้วยการสวดมนต์"นั้นเราจะต้องปฏิบัติเช่นไรกันบ้าง

จริง ๆ แล้วการสวดมนต์เพื่อการบำบัด
หรือรักษาโรคภัยนั้น จะมีวิธีการปฏิบัติหลากหลายวิธีมากแต่เราสามารถที่จะแยกให้คุณได้เห็นในหลักใหญ่อยู่ 3 แบบด้วยกันดังที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังต่อไปนี้

ประการที่
1 คือการสวดมนต์ด้วยตัวเองคำว่าการสวดมนต์ด้วยตัวเองนั่นคือการที่เราท่องบทสวดมนต์ต่าง ๆ ด้วยปากของเราเอง ซึ่งจริง ๆแล้วเป็นการเหนี่ยวนำที่ดีที่สุด การที่เราคิดหรือใคร ๆ ก็ได้คิืดที่จะสวดมนต์นั้นนั่นย่อมที่จะหมายถึงว่า เขาเหล่านั้นกำลังที่จะมีความปรารถนาดีต่อตัวเองแล้วและการที่เราจะสวดมนต์ด้วยตัวเองให้ได้ผลที่ดีที่สุดแล้วเราควรที่จะต้องปฏิบัติตัวดังนี้

  • ให้เราสวดมนต์ด้วยการออกเสียงและควรที่จะเสียงดังพอที่ตัวเองจะได้ยินได้ชัดเจน
  • ในเวลาที่เราสวดมนต์นั้น เราควรที่จะหลับตาลง เพื่อกระทำให้จิตสงบและไม่วอกแวก
  • หลังจากที่เรารับประทานอาหารเข้าไปนั้น เราไม่ควรที่จะทำการสวดมนต์ในทันทีเราควรที่จะเลือกเวลาในการที่จะสวดมนต์ โดยที่สังเกตุจากตัวเราว่าเริ่มผ่อนคลายหรือไม่เครียดจนเกินไป
  • ก่อนการสวดมนต์ทุกครั้งเราควรที่จะหาสถานที่ที่มีความสงบไม่มีเสียงดังเอะอะจนเกินไป ทางที่ดีเราควรหาที่ ๆ เงียบสงบไม่มีคนพลุกพลานมากเกินไป
  • สุดท้ายเราควรที่จะหาบทสวดมนต์บทสั้น ๆ ที่อาจจะใช้เวลาในการสวดประมาณ 10 - 15 นาทีขึ้นไป


ประการที่ 2 การฟังเสียงการสวดมนต์จากผู้อื่นคือหลักการนี้ก็คือการที่เราอาจจะฟังจากเทป หรือฟังเสียงบุคคลอื่น ๆ สวดมนต์ก็ได้แต่เราสามารถที่จะรับรู้ได้ว่าผู้ที่สวดมนต์นั้นมีสมาธิหรือไม่โดยการฟังเสียงว่านุ่ม หรือแข็งกระด้างถ้านุ่มแสดงว่าผู้สวดมนต์คนนั้นมีสมาธิกับการสวดมนต์ในบทนั้น ๆ จริงแต่ทางกลับกันถ้าผู้สวดมนต์ที่เราจะฟังไม่มีสมาธิในการสวดมนต์ก็อาจจะเกิดได้ว่าผู้ที่สวดมนต์นั้นไม่มีความเมตตา เสียงที่สวดจะมีน้ำหนักขึ้น ๆ ลงๆ ก็ได้ จึงเป็นผลที่ไม่สามารถที่จะเยียวยาอาการป่วยของผู้่ฟังได้เลยอาจจะทำให้ผู้ฟังมีความรู้ว่าแย่เพิ่มขึ้นก็เป็นได้

ประการที่
3 การสวดมนต์ให้ผู้อื่นสิ่งนี้เป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนได้ปฏิบัติจริง ๆเพราะอย่างบ้างครั้งเรามีญาติที่อยู่ไกลเราก็จะทำการสวดมนต์เพื่อเจริญจิตภาวนาให้คน ๆ นั้นหายป่วยได้เพราะในเมื่อเรามีจิตใจหรือมีความปรารถนาดีที่ต้องการจะัให้คนๆนั้นหายจากอาการเจ็บป่วยสิ่งดีๆที่เราปฏิบัติออกไปก็จะปรากฎให้เห็นได้เช่นกัน

แต่จริง ๆ
แล้วการสวดมนต์นั้นเราสามารถที่จะรับรู้ได้ว่าเรากระทำด้วยจิตใจที่สงบหรือมีความปรารถนาที่จะทำในสิ่งนั้นๆ หรือไม่เพราะฉะนั้นถ้าปฏิบัติด้วยความบรุสิทธิ์ใจเราก็สามารถรักษาโรคภัยให้หายได้อย่างกับที่บอกไว้ว่า"โรคภัยหายด้วยการสวดมนต์"
**บทสวดรักษาโรค**

โพชฌงคปริตร พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย  มหาวรรค

โพชฌงคปริตร  เป็นปริตรที่โบราณาจารย์นำเอาโพชฌงคสูตร ทั้ง   สูตร  คือ  (๑)  มหากัสปโพชฌงคสูตร  (๒)มหาโมคคัลลาน โพชฌงคสูตร  (๓) มหาจุนทโพชฌงคสูตร  มาประพันธ์เป็นคาถา       เรียกว่า  โพชฌงคปริตร โดยน้อมเป็นสัจกิริยาเพื่อให้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เกิดเป็นความสุขสวัสดี

เนื้อหาโพชฌงคสูตรทั้ง  นั้นกล่าวถึงหลักธรรมที่ทำให้ตรัสรู้ประการ คือ  สติ  ความระลึกได้  ธัมมวิจยะ  การเลือกเฟ้นธรรม  วิริยะ ความเพียรปีติ  ความอิ่มใจ ๕  ปัสสัทธิ  ความสงบ    สมาธิ ความตั้งใจมั่น ๗  อุเบกขา ความวางเฉย
โบราณาจารย์ได้นำเอาโพชฌงคสูตรทั้ง    นี้  มาประพันธ์เป็น คาถาสำหรับเจริญภาวนา  โดยน้อมเป็นสัจกิริยาเพื่อให้พระปริตรเป็นธรรม    โอสถบังเกิดพุทธานุภาพขจัดโรคภัยไข้เจ็บให้อันตรธานหายไป เกิดเป็นความสุขสวัสดี

ภายหลังได้เกิดความนิยมว่า  เมื่อเจ็บป่วยไม่สบายก็จะสวด  โพชฌงคปริตร ซึ่งเป็นทั้งโอสถเป็นทั้งมนต์ เมื่อมีผู้หลักใหญ่ในบ้าน  เจ็บป่วยเป็นไข้หนักก็จะนิมนต์พระสงฆ์มาสวดโพชฌงคปริตรให้ฟัง หรือไม่ลูกหลานก็จะสวดโพชฌงคปริตรให้ฟัง  แม้ในงานทำบุญอายุ     พระสงฆ์ก็จะสวดพระปริตรบทนี้ เพื่อเป็นการคุ้มครองป้องกันไม่ให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บและให้มีอายุยืน ผู้ไม่ต้องการเจ็บป่วย  และปรารถนาความเป็นผู้มี อายุยืน โดยปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ จึงควรเจริญโพชฌงคปริตรตามแบบอย่างพุทธสาวก

โพชฌงคปริตร

โพชฌังโค  สะติสังขาโต                ธัมมานัง  วิจะโย  ตะถา
วิริยัมปีติปัสสัทธิ                          โพชฌังคา  จะ  ตะถาปะเร
สะมาธุเปกขะโพชฌังคา                 สัตเต  เต  สัพพะทัสสินา
มุนินา  สัมมะทักขาตา                   ภาวิตา  พะหุลีกะตา
สังวัตตันติ  อะภิญญายะ                 นิพพานายะ  จะ  โพธิยา
เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                  โสตถิ  เต  โหตุ  สัพพะทาฯ
เอกัสะมิง  สะมะเย  นาโถ              โมคคัลลานัญจะ  กัสสะปัง
คิลาเน  ทุกขิเต  ทิสะวา                โพชฌังเค  สัตตะ  เทสะยิ
เต  จะ  ตัง  อะภินันทิตะวา             โรคา  มุจจิงสุ  ตังขะเณ
เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                  โสตถิ  เต  โหตุ  สัพพะทาฯ
เอกะทา  ธัมมะราชาปิ                  เคลัญเญนาภิปีฬิโต
จุนทัตเถเรนะ  ตัญเญวะ                ภะณาเปตะวานะ  สาทะรัง
สัมโมทิตะวา  จะ  อาพาธา            ตัมหา  วุฏฐาสิ  ฐานะโส
เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                 โสตถิ  เต  โหตุ  สัพพะทาฯ
ปะหีนา  เต  จะ  อาพาธา               ติณณันนัมปิ  มะเหสินัง
มัคคาหะตะกิเลสาวะ                     ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                  โสตถิ  เต  โหตุ  สัพพะทาฯ
 
คำแปล

        โพชฌงค์    ประการคือ  ๑.สติ  ความระลึกได้  ๒.ธัมมวิจยะ การเลือกเฟ้นพิจารณาธรรม  ๓.วิริยะ  ความเพียร  ๔.ปีติ  ความอิ่มใจ   ๕.ปัสสัทธิ  ความสงบ  ๖.สมาธิ  ความตั้งใจมั่น  ๗.อุเบกขา  ความวางเฉย เหล่านี้เป็นธรรมที่พระมุนีเจ้า  ผู้ทรงเห็นธรรมทั้งปวงตรัสไว้ชอบแล้ว  บุคคล อบรมฝึกฝนให้มากแล้ว  ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง  เพื่อตรัสรู้ และเพื่อพระนิพพาน  ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้  ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน ทุกเมื่อ

สมัยหนึ่ง  พระโลกนาถเจ้าทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะ และพระกัสสปะเป็นไข้ได้ความลำบาก  จึงทรงแสดงโพชฌงค์    ประการให้ท่านทั้งสองฟัง ท่านทั้งสองต่างชื่นชมยินดีพระธรรมเทศนานั้น  แล้ว กลับหายจากโรคทันที ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้  ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

ครั้งหนึ่ง  องค์พระธรรมราชาเองทรงประชวรไข้ รับสั่งให้พระจุนทะเถระกล่าวโพชฌงค์    ประการนั้นถวายโดยเคารพ ทรงบันเทิงพระหฤทัย  หายจากพระประชวรนั้นแท้จริง  ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ แท้จริงแล้ว อาพาธเหล่านั้นของท่านผู้ทรงคุณอันยิ่งใหญ่ทั้ง    อันตรธานไปไม่กลับเป็นอีก เหมือนอริยมรรคกำจัดกิเลสลงราบแล้วไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา  ด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อฯ