หลักกรรม
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 185.6K views



                                                                      หลักกรรม
• หลักกรรมเป็นหลักธรรมคำสอนที่สำคัญประการหนึ่งของพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงสอนและเน้นเรื่องกรรมดังพระบาลีที่ว่า กลฺยาณการี  กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ  แปลว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
• กรรม หมายถึง การกระทำทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ ที่ประกอบด้วยเจตนาดีก็ตาม เจตนาชั่วก็ตาม  กรรมเป็นคำกลาง ๆ แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ

• กุศลกรรม หรือ กรรมดี  คือ การกระทำที่ประกอบด้วย 
•  ความไม่โลภ
• ความไม่โกรธ
• ความไม่หลงงมงาย
•  อกุศลกรรม หรือ กรรมชั่ว
• คือ การกระทำที่ประกอบด้วย
•  ความโลภ
•  ความโกรธ
• ความหลงงมงาย
•  ฉะนั้น คำว่า กฎแห่งกรรม จึงหมายถึง ความเป็นไปตามหลักเหตุและผลของการกระทำ สามารถอธิบายได้ง่าย ๆ ว่า ผู้ใดกระทำสิ่งใดไว้ย่อมจะได้รับผลแห่งการกระทำนั้น ถ้าทำดีย่อมได้รับผลดีตอบแทนแต่ถ้าทำชั่วย่อมได้รับผลชั่วตอบแทนเช่นกัน


                                                                       ไตรสิกขา
• ไตรสิกขา หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สิกขา ๓ หมายถึง ข้อที่จะต้องศึกษา ๓ ประการ ได้แก่  ศีล  สมาธิ ปัญญา
• ๑. ศีล  คือ ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติ ในที่นี้ได้แก่ ศีล ๕ นักเรียนจะต้องปฏิบัติตามศีล ๕ อย่างครบถ้วน เพื่อจะเป็นรากฐานสำหรับสมาธิและปัญญา
• ๒. สมาธิ  คือ ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมจิต เพื่อให้เกิดสมาธิ และเป็นรากฐานสำหรับการเจริญปัญญา จิตที่มีสมาธิจะทำให้มีความสุข ความสงบ มีความมั่นคง ว่องไวต่อการทำงาน และมีความจำดี
• ๓. ปัญญา คือ ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้ง คือ รู้อริยสัจ ๔ อันเป็นธรรมอันประเสริฐ 

 



ขอขอบคุณเนื้อหาจาก พระมหาปรีชา ปภสสโร