Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ทำความเข้าใจ PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

Posted By Plook Blog | 31 พ.ค. 65
5,756 Views

  Favorite

การมี พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญมากในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าล้ำสมัย เพราะหากมีการเก็บข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือเราไม่ยินยอม จะมีความผิดทางกฎหมายทันที

 

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ส่งผลดีต่อผู้บริโภคเป็นอย่างมาก เพราะ พ.ร.บ. นี้จะช่วยคุ้มครองข้อมูลของเราให้เป็นไปในทิศทางที่เจ้าของข้อมูลต้องการเท่านั้น หน่วยงานหรือองค์กรใดที่นำข้อมูลเราไปใช้โดยที่เราไม่ยินยอมจะมีความผิดทางกฎหมายทันที ดังนั้น หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ จึงเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยในข้อมูลของผู้บริโภคมากขึ้นนั่นเอง

สำหรับการถ่ายภาพติดบุคคล หากภาพถ่ายนั้นถูกนำไปทำให้เกิดความเสียหาย อยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมายว่าด้วยการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอยู่แล้ว สามารถฟ้องร้องเอาผิดได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องมี PDPA

 

ภาพ : Shutterstock

 

PDPA คืออะไร ?

PDPA (Personal Data Protection Act) หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองส่วนบุคคล คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่ระบุให้องค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่เก็บข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเอกชน หรือหน่วยงานภาครัฐ ต้องไม่นำเอาข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ในกิจกรรมอื่น ๆ ที่บุคคลนั้นไม่ยินยอม

 

ข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ภายใต้การคุ้มครองของ PDPA มีอะไรบ้าง ?

ข้อมูลส่วนบุคคล คือ ข้อมูลที่ทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม หมายรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป และข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว ดังนี้ไปนี้

ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป

1. ชื่อ-นามสกุล

2. เบอร์โทรศัพท์ อีเมลส่วนตัว ที่อยู่

3. เลขบัตรประชาชน เลขหนังสือเดินทาง เลขใบอนุญาตขับขี่

4. ทะเบียนรถยนต์ ทะเบียนบ้าน โฉนดที่ดิน ทะเบียนสมรส

5. วุฒิการศึกษา ข้อมูลทางการศึกษาต่าง ๆ

6. ข้อมูลการเงิย ข้อมูลการแพทย์

7. วันเดือนปีเกิด ส่วนสูง น้ำหนัก สัญชาติ

8. Digital Footprint ที่สามารถระบุตัวตนได้ เช่น username, password, ip address เป็นต้น

 

ภาพ : Shutterstock

 

ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว

1. เชื่อชาติ เผ่าพันธุ์

2. ความคิดเห็นในแพลทฟอร์มต่าง ๆ

3. พฤติกรรมทางเพศ

4. ข้อมูลด้านสุขภาพ เช่น การฉีดวัคซีน โรคประจำตัว

5. ข้อมูลสหภาพแรงงาน

6. ข้อมูลพันธุกรรม

7. ประวัติอาชญากรรม

9. ข้อมูลชีวภาพ เช่น ลายนิ้วมือ แบบจำลองใบหน้า เป็นต้น

*สำหรับ ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว หากมีการรั่วไหลออกไป จะมีการลงโทษที่รุนแรงกว่าข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป เพราะข้อมูลส่วนนี้จะส่งผลเสียต่อบุคคลเจ้าของข้อมูลมากที่สุด

 

ภาพ : Shutterstock

 

PDPA ให้สิทธิเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไรบ้าง

ภายใต้ พ.ร.บ. นี้เจ้าของข้อมูล (Data Subject) หรือผู้บริโภคมีสิทธิควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองได้ ดังต่อไปนี้

1. สิทธิในการถอนความยินยอม ในกรณีที่ได้ให้ความยินยอมไว้

2. สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบรายละเอียด (Privacy Notice)

3. สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล

4. สิทธิขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล 

5. สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

6. สิทธิขอให้ลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้

7. สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล

8. สิทธิขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล

 

ภาพ : Shutterstock

 

บทลงโทษหากฝ่าฝืน PDPA

1. โทษทางอาญา จำคุกไม่เกิน 1 ปี และหรือ ปรับสูงสุด 1 ล้านบาท

2. โทษทางแพ่ง จ่ายค่าสินไหมไม่เกิน 2 เท่าของค่าสินไหมที่แท้จริง

3. โทษทางปกครองปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท

 

ถึงแม้จะมี พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ออกมา เพื่อควบคุมให้หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยข้อมูลของเรามากยิ่งขึ้น แต่ผู้บริโภคอย่างเราก็ไม่ควรวางใจ เพราะข้อมูลทุกอย่างที่ปรากฎบนโลกอินเทอร์เน็ตถือเป็น Digital Footprint ที่เราจำเป็นต้องควบคุมให้เหมาะสมอยู่ดี

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Blog
  • 5 Followers
  • Follow