Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ที่มาของความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับต่างประเทศ

Posted By Plookpedia | 29 มิ.ย. 60
1,226 Views

  Favorite

ที่มาของความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับต่างประเทศ

      ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งประเทศไทยตั้งอยู่นั้นเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญทั้งจากสภาพที่ตั้งและทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์นั่น คือ ที่ตั้งอยู่ระหว่างอาณาจักรใหญ่และเป็นต้นกำเนิดอารยธรรมสำคัญของโลก ๒ อารยธรรม คือ อินเดียและจีน ส่วนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติทำให้ดินแดนบางส่วนในภูมภาคนี้ได้รับการขนานนามว่า "สุวรรณภูมิ" หรือดินแดนที่มีค่ามหาศาลเปรียบเหมือนทองเป็นถิ่นกำเนิดของเครื่องเทศและพริกไทยซึ่งทำให้ชาติยุโรปพากันแสวงหาเส้นทางเดินเรือมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เมื่อการค้าขยายตัวหลังการจากปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  นอกจากจะเป็นตลาดการค้าที่สำคัญแล้วยังเป็นเส้นทางผ่านจากอินเดียไปยังจีนความสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยต่าง ๆ และในลักษณะต่าง ๆ ทำให้ภูมิภาคนี้รวมทั้งประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับต่างประเทศตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน  วัฒนธรรมจากต่างแดนทั้งใกล้และไกลได้เข้ามาผสมผสานและมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน  ในช่วงแรกวัฒนธรรมอินเดียและจีนจะมีความสำคัญอย่างมากและหลายประการยังคงมีความสำคัญจนกระทั่งปัจจุบัน  ต่อมาวัฒนธรรมจากยุโรปเข้ามามีอิทธิพลและล่าสุดวัฒนธรรมของโลกอุตสาหกรรมโดยเฉพาะวัฒนธรรมอเมริกันจะมีความสำคัญมากที่สุด  อย่างไรก็ตามคนไทยมีความยืดหยุ่นและมีความสามารถในการปรับตัวสูงวัฒนธรรมต่างชาติ จึงไม่สามารถครอบงำหรือมีอิทธิพลต่อไทยจนวัฒนธรรมไทยหมดความสำคัญ  แต่หากมีความเจริญรุ่งเรืองตลอดมาในตอนแรกนี้จะกล่าวถึงความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับอินเดียและจีนต่อจากนั้นจะกล่าวถึงความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับชาติตะวันตก ส่วนความสัมพันธ์กับต่างประเทศยุคอุตสาหกรรมใหม่จะกล่าวถึงหลังสุด

 

แผนที่ที่ชาวโปรตุเกส
แผนที่ที่ชาวโปรตุเกสเขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๙ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow