การกำหนดวันหนึ่งให้มี ๒๔ชั่วโมง ชาวอียิปต์เป็นผู้ริเริ่มเหตุผลที่สร้างระบบชั่วโมงขึ้นเกี่ยวกับทางศาสนาชั่วโมงในภาษาอียิปต์ "wnwt" มีความหมายว่า "หน้าที่ของพระ"
ผู้เฝ้าดูดาวเป็นผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่พระเขาสังเกตดาวเฉพาะดาวหรือกลุ่มดาวเฉพาะกลุ่มซึ่งเห็นโผล่ขึ้นจากขอบฟ้าเขาแบ่งกลางคืนออกเป็น ๑๒ชั่วโมง แต่ละชั่วโมงมีความหมายถึงการขึ้นของแต่ละดวงหรือกลุ่มดาวที่เหมาะสม
ชั่วโมงในเวลากลางวันเขาแบ่งตามการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ซึ่งชาวอียิปต์โบราณถือว่าดวงอาทิตย์เป็นจอมเทพรา (Ra) ผู้เสวยราชย์อยู่ในมหาอาณาจักรฟากฟ้า
พระอียิปต์ใช้นาฬิกาเงาแดดติดตามการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์เครื่องมือชนิดหนึ่งที่เขาใช้คล้ายไม้บรรทัดรูปตัวที (T) เมื่อถือเครื่องมือนี้ชี้ไปทางตะวันออก (ในเวลาเช้า) หรือทางตะวันตก (ในเวลาบ่าย) เงาของท่อนขวางตกลงอยู่ที่ด้ามเขาขีดหมายชั่วโมงที่ผ่านไปลำดับชั่วโมงตั้งแต่ ๑ ถึง ๑๐ เขานับชั่วโมงรุ่งอรุณแยกออกเป็นหนึ่งชั่วโมงสำหรับตอนรุ่งเช้า และ อีกชั่วโมง สำหรับตอนโพล้เพล้ ชั่วโมงที่นับแยกนี้รวมกับชั่วโมงตอนกลางวัน ๑๐ ชั่วโมง และชั่วโมงกลางคืน ๑๒ ชั่วโมง ทั้งหมดเป็น ๒๔ ชั่วโมง ตามระบบนี้ชั่วโมงนานไม่เท่ากันตลอดทั้งปีชั่วโมงกลางวันซึ่งนาน ๑ ใน ๑๐ ของเวลาจากดวงอาทิตย์ขึ้นถึงดวงอาทิตย์ตกในฤดูร้อนก็นานกว่าในฤดูหนาวชั่วโมงกลางคืนและชั่วโมงโพล้เพล้นานสับสน และ แตกต่างกันมากขึ้นในเมื่อดาวหรือกลุ่มดาวขึ้นเปลี่ยนแปลงจากฤดูกาลหนึ่งไปอีกฤดูกาลหนึ่ง และ จากปีหนึ่งไปอีกปีหนึ่งในที่สุดเขาตัดสินใจใช้ระบบให้กลางวันมี ๑๒ ชั่วโมง และ กลางคืน ๑๒ ชั่วโมง ยกเลิกชั่วโมงรุ่งอรุณและชั่วโมงโพล้เพล้ชั่วโมงในฤดูกาลต่าง ๆ ก็ยังคงไม่เท่ากันตลอดไปแต่เปลี่ยนแปลงความนานของชั่วโมงให้เป็นระเบียบขึ้น
เมื่อประมาณ ๓,๐๐๐ ปี ก่อนคริสต์ศักราชชาวอียิปต์กำลังคิดที่จะทำปฏิทินกลางเดือนกรกฎาคมเป็นเวลาน้ำท่วมล้นลำน้ำไนล์ในอียิปต์เขาได้เห็นดาวสุกใสสว่างมากดวงหนึ่งโผล่ขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกก่อนที่ดวงอาทิตย์ขึ้นเราเรียกชื่อดาวดวงนั้นว่า โซทิส (Sothis) เขาสังเกตเห็นดาวดวงนี้ได้ชัดเจนดีเพราะดวงดาวนี้เวลากลางวันอยู่เหนือขอบฟ้าก่อนเวลาน้ำท่วมหลายสัปดาห์เขากำหนดเอาเวลาที่ดาวดวงนี้ขึ้นจากขอบฟ้าเป็นเวลาตั้งต้นของปีหมายไว้ว่าเป็นเวลาเริ่มฤดูน้ำท่วมล้นลำน้ำไนล์ปัจจุบันนี้เราเรียกดวงดวงนี้ในชื่อว่า ซิริอุส (Sirius) หรือดาวสุนัขนอน หรือดาวโจร อยู่ในกลุ่มดาวสุนัขใหญ่ (Canis Major)
เวลาเที่ยงแล้วเขายกเครื่องวัดเวลารูปอักษรที (T) นั้นไปตั้งใหม่กลับให้ท่อนสั้นอยู่ทางตะวันตก และ คงขนานกับแนวทิศเหนือ และ ใช้ท่อนยาวขีดเครื่องหมายเงาของท่อนสั้นบอกเวลาตอนบ่ายหนึ่งชั่วโมงจากเที่ยงขีดเครื่องหมายอยู่ใกล้ท่อนสั้นมากที่สุดถัดออกไปเป็นสองชั่วโมงจากเที่ยง และ สาม สี่ ห้า หกชั่วโมง จากเที่ยงตามลำดับขีดเครื่องหมายอยู่ห่างจากท่อนสั้นมากขึ้นตามลำดับทำนองเดียวกับนาฬิกาแดดของไทยที่เรียกว่า ชั้นฉาย |