สำเนียงคันไซ รู้ไว้ ไม่งง
ปกติเราเริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นจากสำเนียงคันโตซึ่งเป็นสำเนียงมาตรฐาน แต่นอกห้องเรียนบางทีก็ต้องเจอกับภาษาท้องถิ่นด้วยเหมือนกัน และภาษาถิ่นขึ้นชื่อที่ทำให้คนเรียนญี่ปุ่นหรือแม้แต่เจ้าของภาษาเองยังอึ้ง มึน งง ได้ก็คือ สำเนียงคันไซ เพราะฉะนั้นมาดูกันว่าคันไซพูดอย่างนี้คือคำไหนของคันโต
สำเนียงคันไซ |
สำเนียงคันโต |
ความหมาย |
おはようさん |
おはよう |
อรุณสวัสดิ์ |
こんちは |
こんにちは |
สวัสดี (ใช้ช่วงกลางวัน) |
おぱんです |
こんばんは |
สวัสดี (ใช้ช่วงเย็น) |
まいど |
おはよう こんにちは こんばんは |
สวัสดี |
さいなら |
さようなら |
ลาก่อน |
おとん |
父 |
พ่อ |
おかん |
母 (haha) |
แม่ |
おにい |
兄 |
พี่ชาย |
おねえ |
姉 |
พี่สาว |
あて うち |
私 |
ฉัน |
あかん (akan) หมายถึง ไม่เอา ไม่ดี สิ้นหวัง เทียบได้กับ ダメ(dame) หรือ いけない (ikenai) เช่น
もう、あかん。(mou, akan) ไม่เอาแล้ว ไม่ไหวแล้ว
いける(ikru) หมายถึง สบายดี โอเค ไม่เป็นไร เทียบได้กับ 大丈夫(daijoubu) หรือจะหมายถึง ตัดสินใจ ตกลง เทียบได้กับ 決まってる。(kimatteru) เช่น
おい、いけるか。(oi, ikeruka) “เฮ้ เป็นอะไรหรือเปล่า?”
その服いけてるで。(sono fuku iketerude) “ตกลงชุดนั้นแหละ”
ええ(ee) หมายถึง ดี เทียบได้กับ いい(ii) หรือ 良い(yoi) เช่น
ええ気持ち(ee kimochi) “รู้สึกดีจัง”
えらい(erai) หมายถึง เจ๋ง สุดยอด หรือใช้ในความหมายทางลบว่า แย่ ยาก ลำบาก เทียบได้กับ 大変 (taihen) すごい(sugoi) เช่น
えらいこっちゃあ。(erai kocchaa) “เฮ้ยเจ๋งอะ”
なんぼ(nanbo) หมายถึง เท่าไร เทียบได้กับ いくら(ikura) เช่น
ちょっとこれなんぼ。(chotto kore nanbo) อันนี้ราคาเท่าไร?
おおきに (ookini) หมายถึง ขอบคุณ เทียบได้กับ ありがとう。(arigatou) คนโอซาก้าจะจบประโยคด้วย ookini เสมอ จึงทำให้การพูดดูนุ่มนวลและผู้ฟังก็รู้สึกดี
おます(omasu) หมายถึง มี อยู่ หรือใช้ต่อท้ายประโยคเพื่อแสดงความสุภาพ เหมือนกับ ございますเช่น
明けまして、おめでとうでおます。(akemashite omedetoude omasu) “สุขสันต์วันปีใหม่”
そこに座布団がおます。(sokoni zabuton ga omasu) “เบาะรองนั่งอยู่ตรงนั้นไง”
おもろい (omoroi) หมายถึง น่าสนใจ สนุก เทียบได้กับ おもしろい(omoshiroi) และเมื่ออยู่ในรูปปฏิเสธที่บอกว่าไม่สนุก ไม่น่าสนใจจะใช้ว่า おもろない(omoronai) หรือ おもんない(omonnai)
ほんま(honma) หมายถึง จริง จริง ๆ เทียบได้กับ本当 (hontou) เช่น
ほんまおもろいわー (honma omoroiwaa) “น่าสนใจจริง ๆ”
ほんまかいな(honma kaina) “จริงเหรอ?”
~しまひょ(~shimahyo) เป็นรูปชักชวน เทียบได้กับ ~しましょう(~shimashou) เช่น
何しまひょ。(nani shimahyo) “มาทำอะไรกันมั้ย”
なんべん (nanben) หมายถึง กี่ครั้ง กี่รอบ เทียบได้กับ 何度 (nando) 何回 (nankai) เช่น
ここ、なんべんも来たことある。(koko nanben mo kitakotoaru) “เคยมาที่นี่หลายครั้งแล้ว”
なんべんも หมายถึง หลายครั้ง หลายรอบ เช่นเดียวกับ何度も 何回も
ねき(neki) หมายถึง ข้าง ๆ ใกล้ ๆ เทียบได้กับ そば(soba) 近く(chikaku) เช่น
うちのねきに寄ってきなさい。(uchi no neki ni yottekinasai) “เข้ามาใกล้ ๆ ฉันสิ”
わっけた(wakketa) หมายถึง ลืม เทียบได้กับ 忘れた (wasureta) เช่น
うちのこと、わっけたん?(uchi no koto wakketan) “ลืมฉันไปแล้วเหรอ?”
お元気やったん。(ogenki yattan) หมายถึง สบายดีมั้ย เทียบได้กับ お元気でしたか。(ogenkideshitaka)
เที่ยวโอซาก้าคราวหน้า อย่าลืมเฮฮาด้วยสำเนียงคันไซกันนะ
じゃ、またね。