บทเรียนออนไลน์ วิชาภาษาไทย เรื่อง การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
ทีมงานทรูปลูกปัญญา | 2016-09-10 21:59:40
ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
ระดับของภาษา
ภาษาแต่ละระดับจะให้ความสำคัญกับการเรียบเรียง กลวิธีในการนำเสนอ และถ้อยคำที่ใช้ในระดับที่ลดหลั่นกันไป ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับกาลเทศะ โอกาส สถานที่ บุคคล สื่อที่ใช้และเรื่องที่สนทนา
ระดับภาษา |
โอกาส/สถานที่ |
ลักษณะภาษาที่ใช้ |
พิธีการ |
งานพิธีต่าง ๆ กล่าวเปิดงาน กล่าวสุนทรพจน์ กล่าวปราศรัย กล่าวเปิดการประชุม |
สละสลวย ถูกต้องตามแบบแผน มีพิธีรีตองในการนำเสนอ |
ทางการ |
การบรรยาย การอภิปราย เขียนข้อความเสนอต่อสาธารณชน |
สุภาพ กระชับ ชัดเจน อาจมีศัพท์ วิชาการปนอยู่ด้วย |
กึ่งทางการ |
การประชุมกลุ่ม การอภิปรายกลุ่ม การบรรยายในชั้นเรียน ข่าว สื่อมวลชน |
ภาษาที่โต้ตอบเพื่อแลกเปลี่ยนความ คิดเห็น ลดความเป็นทางการลง |
สนทนา |
การพูดคุยเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน การเขียนจดหมายหาเพื่อน |
ภาษาสนทนาของคนกลุ่มเล็ก ๆ ที่มี ความคุ้นเคยกัน |
กันเอง |
การพูดกับคนในครอบครัว เพื่อนสนิท ญาติพี่น้อง |
ภาษาพูดที่มีความเป็นกันเอง อาจมี คำคะนองหรือภาษาถิ่นปนอยู่ด้วย |
คำราชาศัพท์
ความหมายและความสำคัญของคำราชาศัพท์
คำราชาศัพท์ ใช้สำหรับสื่อสารในโอกาสต่าง ๆ โดยแบ่งบุคคล เป็น ๕ ระดับ คือ พระเจ้าแผ่นดิน พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง พระสงฆ์ และสุภาพชน การเลือกใช้คำให้เหมาะสมกับบุคคลแสดงออกถึงความยกย่องและความเคารพ ซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมอันดีงามของไทยที่ถูกสะท้อนผ่านคำราชาศัพท์
ที่มาของคำราชาศัพท์
จากคำไทยเดิม |
จากคำที่มาจากภาษาอื่น |
พระ + เครือญาติ ร่างกาย เครื่องใช้ เช่น พระเจ้าลูกเธอ พระเต้า พระที่นั่ง ทรง + คำสามัญ = กริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงถาม ทรงยืน ทรงช้าง ทรงขลุ่ย * ทรง ไม่สามารถนำหน้าได้ทุกคำ เช่น ไหว้ ต้องใช้ ทรงคม อ้วน ต้องใช้ ทรวงพ่วงพี
|
พระ + ร่างกาย เครื่องใช้ เช่น พระหัตถ์ พระเนตร พระจุฑามณี พระ พระราช สมเด็จพระราช สมเด็จพระบรม-ราช + เครือญาติ (ตามลำดับความสูงศักดิ์) เช่น พระชนนี พระราชชนนี สมเด็จพระราชชนนี สมเด็จพระบรมราชชนนี พระ พระราช พระบรมราช + คำนาม = คำเรียกกริยา เช่น พระดำรัส พระราชดำริ พระบรมราชโองการ ทรง + คำกริยา = กริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงดำเนิน ทรงพระดำเนิน |
หลักเกณฑ์ทั่วไปในการกราบบังคมทูลพระเจ้าแผ่นดิน
เรื่องที่กราบบังคมทูล |
คำกราบบังคมทูล |
แนะนำตนเอง |
ขอเดชะฝ่าละออกธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้า... (ออกชื่อ)...ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส กราบบังคมทูล พระกรุณาทราบ ฝ่าละอองธุลีพระบาท พระราชอาญาไม่พ้นเกล้า พ้นกระหม่อม ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ |
เรื่องธรรมดาทั่วไป |
ข้าพระพุทธเจ้า.............พระพุทธเจ้าข้า |
ความสบาย/รอดอันตราย |
ขอเดชะพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม |
ความผิดพลาด |
พระราชอาญาไม่พ้นเกล้าพ้นกระหม่อม |
ขอความกรุณา |
พระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม |
ความอนุเคราะห์ที่ได้รับ |
พระเดชพระคุณเป็นล้นเกล้าล้นกระหม่อม |
ของหยาบ |
ไม่ควรจะกราบบังคมทูลพระกรุณา |
ให้พระองค์ทรงเลือก |
การจะควรมิควรประการใดสุดแล้วแต่จำทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม |
ความเห็นของตน |
เห็นด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม |
สิ่งที่ทราบมา |
ทราบเกล้ากราบกระหม่อมว่า |
การทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งถวาย |
สนองพระมหากรุณาธิคุณ |
คำราชาศัพท์ที่ใช้สำหรับพระมหากษัตริย์
๑) นามราชาศัพท์
บรม/ปรม (พระบรมมหาราช พระบรมราช พระบรม) + นามสามัญ ใช้กับสิ่งสำคัญมากของพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น เช่น พระปรมาภิไธย พระบรมราโชวาท
พระราช + นามสามัญ และ พระ + นามสามัญ ใช้กับพระเจ้าแผ่นดิน/เจ้านายในตำแหน่งที่ลดหลั่นกันลงมา ถ้าคำนามนั้นเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่ต้องใช้ พระ นำหน้า เช่น เสื้อทรง เรือพระที่นั่ง รถที่นั่ง แต่หากไม่มีคำนามราชาศัพท์อยู่ก่อน ต้องสร้างราชาศัพท์จากคำนามเดิม โดยใช้ พระราช/พระ + คำนามบาลีสันสฤต หรือ คำนามภาษาอื่น ๆ + ราชาศัพท์คำใดคำหนึ่ง เช่น พระโทรทัศน์ แก้วน้ำเสวย
นามสามัญ + หลวง/ต้น หลวง ใช้กับคน สัตว์ ของทั่วไป ต้น ใช้กับสัตว์และของชั้นดี
ลักษณะนาม พระองค์ ใช้กับพระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ องค์ ใช้กับพระราชวงศ์ นามร่างกาย ของเสวย เครื่องใช้กษัตริย์
๒) กริยาราชาศัพท์
ทรง + กริยาทั่วไป นามทั่วไป นามราชาศัพท์ เช่น ทรงสั่งสอน ทรงดนตรี ทรงพระประชวร แต่ถ้า มี เป็น นำหน้าราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่ต้องใช้ ทรง เช่น เป็นพระราชโอรส มีพระราชดำรัส
เสด็จ + กริยาทั่วไป นามราชาศัพท์ เช่น เสด็จไป เสด็จออก เสด็จพระราชสมภพ
กริยาราชาศัพท์บางคำบัญญัติขึ้นโดยเฉพาะ เช่น กริ้ว ประชวร บรรทม นอกจากนี้บางคำยังประสมใช้ตามประเภทบุคคล เช่น สวรรคต สิ้นพระชนม์ มรณภาพ ถึงแก่อสัญกรรม ถึงแก่อนิจกรรม ล้วนหมายถึง ตาย ใช้กับบุคคลระดับชั้นต่าง ๆ
๓) สรรพนามราชาศัพท์
สรรพนามสำหรับบุคคลทั่วไป
ผู้ฟังหรือผู้กล่าวถึง |
สรรพนามบุรุษที่ ๑ |
สรรพนามบุรุษที่ ๒ |
สรรพนามบุรุษที่ ๓ |
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ |
ข้าพระพุทธเจ้า |
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท |
พระองค์
|
สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระราชชนนี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สมเด็จพระบรมราชกุมารี |
ข้าพระพุทธเจ้า |
ใต้ฝ่าละอองพระบาท |
พระองค์
|
สมเด็จเจ้าฟ้า พระบรมวงศ์ชั้นพระองค์เจ้า |
ข้าพระพุทธเจ้า |
ใต้ฝ่าพระบาท |
พระองค์
|
พระเจ้าวรวงศ์เธอ(มิได้ทรงกรม) พระอนุวงศ์ชั้นพระวรวงศ์เธอ (ทรงกรม) |
(ชาย) เกล้ากระหม่อม (หญิง) เกล้ากระหม่อมฉัน |
ฝ่าพระบาท |
ท่าน |
พระอนุวงศ์ชั้นพระวรวงศ์เธอ (มิได้ทรงกรม) พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า |
(ชาย) กระหม่อม (หญิง) หม่อมฉัน |
ฝ่าพระบาท |
ท่าน |
สรรพนามสำหรับพระสงฆ์
ผู้ฟังหรือผู้กล่าวถึง |
สรรพนามบุรุษที่ ๑ |
สรรพนามบุรุษที่ ๒ |
สรรพนามบุรุษที่ ๓ |
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว |
อาตมภาพ |
สมเด็จบรมบพิตร |
พระองค์ |
พระราชวงศ์ชั้นสูง |
อาตมภาพ |
พระราชสมภารเจ้า |
พระองค์ |
พระราชวงศ์ชั้นรอง |
อาตมภาพ |
มหาบพิตร |
ท่าน |
๔) วิเศษณ์ราชาศัพท์ วิเศษณ์ขานรับ
ผู้พูด |
ราชาศัพท์ |
ผู้ฟัง |
ชาย
หญิง |
พระพุทธเจ้าข้า พระพุทธเจ้าข้าขอรับ พระพุธเจ้าข้าขอรับใส่เกล้าใส่กระหม่อม เพคะใส่เกล้าใส่กระหม่อม |
พระเจ้าแผ่นดิน |
ชาย หญิง |
พระพุทธเจ้าข้า พระพุทธเจ้าข้าขอรับ เพคะกระหม่อม |
พระราชวงศ์ชั้นสูง |
ชาย หญิง |
กระหม่อม ขอรับกระหม่อม เพคะ |
พระราชวงศ์ชั้นอนุวงศ์ |
พระสงฆ์ |
ถวายพระพร ขอถวายพระพร เจริญพร |
พระเจ้าแผ่นดิน พระราชวงศ์ สุภาพชน |
ข้อสังเกตอื่น ๆ เกี่ยวกับการใช้คำราชาศัพท์
ใช้ให้ถูกตามสำนวนไทย เช่น ถวายการต้อนรับ ควรใช้ รับเสด็จ ใช้ให้เหมาะสมระหว่างคำที่ใช้กับกษัตริย์ (ราชอาคันตุกะ ทรงขอบพระทัย) และสามัญชน (อาคันตุกะ ทรงขอบใจ) คำ ถวาย+นามธรรม ทูลเกล้าฯ ถวาย+ของเล็ก น้อมเกล้าฯ ถวาย+ของใหญ่
คำราชาศัพท์ที่ใช้สำหรับพระสงฆ์
๑) คำนาม ใช้เช่นเดียวกับคนทั่วไป มีคำเฉพาะ เช่น ผ้าไตร ผ้าอังสะ ตาลปัตร
๒) คำสรรพนาม
สรรพนามบุรุษที่ ๑ |
ผู้พูด |
ผู้ฟัง |
อาตมา |
พระสงฆ์ |
บุคคลธรรมดาทั่วไปหรือผู้ที่มีตำแหน่งสูง |
อาตมภาพ |
พระสงฆ์ |
พระราชวงศ์ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป |
เกล้ากระผม |
พระสงฆ์ |
พระสงฆ์ที่ดำรงสมณศักดิ์สูงกว่า |
ผม กระผม |
พระสงฆ์ |
พระสงฆ์ด้วยกัน |
ผม กระผม/ดิฉัน |
บุคคลทั่วไป |
พระสงฆ์ที่นับถือ |
สรรพนามบุรุษที่ ๒ |
ผู้พูด |
ผู้ฟัง |
สมเด็จบรมบพิตร |
พระสงฆ์ |
พระเจ้าแผ่นดิน |
บพิตร |
พระสงฆ์ |
พระราชวงศ์ชั้นรอง |
คุณ โยม |
พระสงฆ์ |
บุคคลทั่วไป บิดา มารดา ญาติผู้ใหญ่หรือผู้อาวุโส |
พระคุณเจ้า |
บุคคลทั่วไป |
พระสงฆ์ที่ทรงสมณศักดิ์ |
พระคุณท่าน |
บุคคลทั่วไป |
พระราชาคณะชั้นรองลงมา |
ท่าน คุณ |
บุคคลทั่วไป |
พระสงฆ์ทั่วไป |
คำขานรับ |
ผู้พูด |
ผู้ฟัง |
ขอถวายพระพร |
พระสงฆ์ |
พระราชวงศ์ |
เจริญพร |
พระสงฆ์ |
บุคคลทั่วไป |
ครับ ขอรับ |
พระสงฆ์ |
พระสงฆ์ |
ขอรับ/ค่ะ |
บุคคลทั่วไป |
พระสงฆ์ |
๓) คำกริยา เช่น ขอถวายพระพร เจริญพร นิมนต์
คำราชาศัพท์ที่ใช้สำหรับบุคคลทั่วไป
คำราชาศัพท์ที่ใช้กับบุคคลทั่วไป คือ คำสุภาพ เพื่อแสดงถึงความให้เกียรติ จึงต้องใช้ให้เหมาะสมตามกาลเทศะ ด้วยคำที่รื่นหู ไม่ห้วน ไม่ชวนให้คิดถึงสิ่งไม่ดี และไม่เป็นคำผวนที่มีความหมายหยาบคาย
สรุป
พื้นฐานของการใช้ภาษาให้ถูกต้องตามระดับภาษา ต้องรู้และเข้าใจการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร เช่นระดับของภาษา ที่มาของคำราชาศัพท์ การใช้คำราชาศัพท์สำหรับพระราชา พระสงฆ์ และบุคคลทั่วไป
คำสำคัญ ระดับภาษา คำราชาศัพท์
แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th