ศิลปะการประพันธ์ในวรรณคดีไทย
ทีมงานทรูปลูกปัญญา | 2013-10-17 21:50:24
ศิลปะการประพันธ์ในวรรณคดีไทย
๑ อุปมา Simile
- การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง โดยมีคำเชื่อมคือ เหมือน คล้าย ละม้าย เช่น เทียม แม้น ครุวณา เสมอ เพี้ยง
ตัวอย่างเช่น ครูสวยเหมือนนางฟ้า
๒ อุปลักษณ์ Metaphor
- การเปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง โดยมีคำเชื่อมเช่น เป็น คือ
ตัวอย่างเช่น ครูเป็นแม่พิมของชาติ
๓ ปฏิพากย์ ปรพากย์ Paradox
- การใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้ามหรือการเปรียบเทียบเชิงขัดแย้ง
ตัวอย่างเช่น มะลิซ้อนดูดำไปหมดสิ้น
๔ อติพจน์ อธิพจน์ Hyperbole
- การใช้โวหารที่กล่าวเกินจริงเพื่อเน้นความรู้สึกมากขึ้น โวหารชนิดนี้นิยมใช่มากในการพูด
ตัวอย่างเช่น คอแห้งเป็นผง
๕ อวพจน์
-การใช้โวหารที่กล่าวเกินจริงเพื่อเน้นความรู้สึกน้อยลง
ตัวอย่างเช่น เรื่องขี้ผง
๖ บุคคลวัต บุคลาธิษฐาน Personification
- การกล่าวถึงสิ่งไม่มีชีวิตไม่มีความคิด ไม่มีวิญญาณ หรือสิ่งที่มีชีวิตแต่ไม่ใช่มนุษย์มาแสดงกริยาอาการแบบมนุษย์
ตัวอย่างเช่น ทะเลไม่เคยหลับใหล
๗ สัญลักษณ์ Symbol
- การเรียกชื่อสิ่งหนึ่งโดยใช้คำอื่นมาแทนส่วนใหญ่คำที่นำมาแทนจะเป็นคำที่เกิดจากการเปรียบเทียบและตีความที่ใช้มานานและรู้จักกันทั่วไป
ิตัวอย่างเช่น สีดำแทนความตาย
๘ นามนัย Metonymy
- การใช้คำหรือวลีซึ่งบ่งบองลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งแทนอีกสิ่งหนึ่งคล้ายๆสัญลักษณ์แต่นามนัยนำลักษณะบางส่วนของสิ่งหนึ่งมากล่าวให้หมายถึงทั้งส่วน
ตัวอย่างเช่น เมืองโอ่ง = ราชบุรี
๙ สัทพจน์
- การเลียนเสียงธรรมชาติ
ตัวอย่างเช่น เสียงฝนหยดติ๋งๆ
๑๐ นาฏการ
- การแสดงความเคลื่อนไหวอย่างชัดเจน
ตัวอย่างเช่น เรือไชยไวว่องวิ่งรวดเร็วจริงยิ่งย่างลม
***********คำอัพภาส**************
การกร่อนเสียงพยางค์หน้าคำซ้ำเป็นเสียง อะ
เช่น เรื่อยเรื่อย=ระเรื่อย