วิทยาศาสตร์ ประถมศึกษาตอนปลาย ลมบก ลมทะเล และลมมรสุม โดยครูแมค
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 92.5K views



ลมบก ลมทะเล และลมมรสุม

- การเกิดลม

การเคลื่อนที่ของอากาศระหว่าง 2 บริเวณ คือ อากาศอุณหภูมิสูง มีความหนาแน่นน้อย ลอยตัวสูงขึ้น จึงมีอากาศอุณหภูมิต่ำเคลื่อนที่เข้ามาแทนที่ การเคลื่อนที่ของอากาศจากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณ คือ การเกิดลม

          ลมเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความดันอากาศสูงไปยังบริเวณที่มีความดันอากาศต่ำ
          ลมเคลื่อนที่จากบริเวณที่อากาศมีอุณหภูมิต่ำไปยังบริเวณที่อากาศมีอุณหภูมิสูง

 

- การเกิดลมทะเล

ในช่วงเวลากลางวัน แผ่นดินและผิวทะเลรับพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ แต่ผิวดินรับความร้อนได้เร็วกว่า ดังนั้น อากาศบริเวณผิวดินจึงลอยตัวสูงขึ้น อุณหภูมิอากาศเหนือผิวทะเลต่ำกว่าอุณหภูมิอากาศเหนือแผ่นดิน อากาศจากผิวทะเลจึงเคลื่อนเข้าแทนที่ ทำให้เกิดลมพัดจากทะเลเข้าสู่ฝั่ง เรียกว่า ลมทะเล

 

- การเกิดลมบก

ในช่วงเวลากลางคืน แผ่นดินและผิวทะเลคายพลังงานความร้อนที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ในช่วงเวลากลางวัน อุณหภูมิอากาศเหนือผิวทะเลสูงกว่าอุณหภูมิอากาศเหนือแผ่นดิน เพราะพื้นดินคายความร้อนเร็วกว่า อากาศที่ผิวลอยตัวสูงขึ้น ทำให้อากาศจากผิวดินเคลื่อนเข้าแทนที่ เกิดลมพัดจากฝั่งออกสู่ทะเล เรียกว่า ลมบก

 

- ลมมรสุม

ลมมรสุม คือ ลมที่เกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้างกับพื้นที่หนึ่งเป็นระยะเวลายาวนาน แตกต่างไปในแต่ละช่วงของปี เช่น เกิดขึ้นครอบคลุมพื้นที่ของประเทศไทยทั้งหมดในช่วงฤดูต่าง ๆ ได้แก่

ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดความหนาวเย็นจากประเทศจีนผ่านเข้าสู่ประเทศไทย ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงฤดูหนาวของทุกปี ภาคใต้ได้รับผลจากลมมรสุมนี้น้อยที่สุด

​ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเมฆฝน ความชื้น จากมหาสมุทรอินเดียผ่านเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้เกิดในตกหนัก โดยเฉพาะภาคใต้ได้รับผลกระทบมากที่สุด