การเกิด อายัน - ครีษมายัน - เหมายัน - วิษุวัต - ศารทวิษุวัต - วสันตวิษุวัต
อายัน (Solstice)
ในการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ยังมีปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "อายัน" เกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ ครีษมายัน (Summer Solstice) และ เหมายัน (Winter Solstice)
วิษุวัต (equinox)
เป็นคำศัพท์ทางดาราศาสตร์ หมายถึงช่วงในขณะที่ดวงอาทิตย์ อยู่ในตำแหน่งตรงได้ฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี ซึ่งจะเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง หรือในหนึ่งรอบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ แกนของโลกจะเอนกลับไปมาได้ฉากกับตำแหน่งดวงอาทิตย์
เหตุการณ์นี้เรียกอีกอย่างว่า "วันราตรีเสมอภาค" หมายถึง เวลาตอนกลางคืนเท่ากับเวลากลางวันพอดี
ได้แก่ วสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) และ ศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox)
การเกิด 4 ฤดูกาลและการโคจรของโลกในรอบ 1 ปี
1.วันวสันตวิษุวัต (Vernal Equinox) ตรงกับวันที่ 21 มี.ค.
เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับผิวโลกที่เส้นศุนย์สูตร
ซีกโลกเหนือ : เข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ
เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับผิวโลกที่เส้นศุนย์สูตร
ซีกโลกเหนือ : เข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ
ซีกโลกใต้ : เข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง
เวลาตอนกลางคืนเท่ากับเวลากลางวัน
เหตุการณ์นี้เรียกอีกอย่างว่า “วันราตรีเสมอภาค” ภาษาอังกฤษบางครั้งก็เรียกว่า Spring equinox หรือ March equinox ในประเทศจีน เรียกวันวสันตวิษุวัตว่า วันชุนเฟินหรือ วันชุงฮุง (春分) และมีประเพณีการตั้งไข่มากว่า 4,000 ปี
เวลาตอนกลางคืนเท่ากับเวลากลางวัน
เหตุการณ์นี้เรียกอีกอย่างว่า “วันราตรีเสมอภาค” ภาษาอังกฤษบางครั้งก็เรียกว่า Spring equinox หรือ March equinox ในประเทศจีน เรียกวันวสันตวิษุวัตว่า วันชุนเฟินหรือ วันชุงฮุง (春分) และมีประเพณีการตั้งไข่มากว่า 4,000 ปี
2.วันครีษมายัน (Summer Solstice) ตรงกับวันที่ 21 มิ.ย.หรือ 22 มิ.ย.ในปีอสุธิกมาส
เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับผิวโลกที่ละติจูด 23.5 องศาเหนือ
เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับผิวโลกที่ละติจูด 23.5 องศาเหนือ
ซีกโลกเหนือ : วันแรกในฤดูร้อน โดยมีช่วงเวลากลางวันยาวที่สุด กับกลางคืนสั้นที่สุดในรอบปี
ซีกโลกใต้ : วันแรกที่เข้าสู่ฤดูหนาว โดยมีกลางวันสั้นที่สุดและกลางคืนยาวที่สุด
ซีกโลกใต้ : วันแรกที่เข้าสู่ฤดูหนาว โดยมีกลางวันสั้นที่สุดและกลางคืนยาวที่สุด
3.วันศารทวิษุวัต (Autumnal Equinox) ตรงกับวันที่ 23 ก.ย.
เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับผิวโลกที่เส้นศูนย์สูตร
ซีกโลกเหนือ : วันแรกในฤดูใบไม้ร่วง
ซีกโลกใต้ : วันแรกที่เข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ
เวลาตอนกลางคืนเท่ากับเวลากลางวัน
เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับผิวโลกที่เส้นศูนย์สูตร
ซีกโลกเหนือ : วันแรกในฤดูใบไม้ร่วง
ซีกโลกใต้ : วันแรกที่เข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ
เวลาตอนกลางคืนเท่ากับเวลากลางวัน
4.วันเหมายัน (Winter Solstice) ตรงกับวันที่ 21 ธ.ค.หรือ 22 ธ.ค.ในปีอสุธิกมาส
โดยเป็นวันที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับผิวโลกที่ละติจูด 23.5 องศาใต้
โดยเป็นวันที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับผิวโลกที่ละติจูด 23.5 องศาใต้
ซีกโลกเหนือ : วันแรกในฤดูหนาว โดยมีช่วงเวลากลางวันยาวที่สุด กับกลางคืนสั้นที่สุดในรอบปี
ซีกโลกใต้ : วันแรกที่เข้าสู่ฤดูร้อน โดยมีกลางวันสั้นที่สุดและกลางคืนยาวที่สุด ชาวบ้านเรียกกันว่า ตะวันอ้อมข้าว นั่นเอง
ที่มาและภาพประกอบ เรียบเรียงจาก
-- https://teen.mthai.com/variety/60143.html
-- https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month=122010&date=23&group=94&gblog=77
-- https://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=24267