คำพ้อง
คำพ้อง คือ คำที่มีรูปหรือเสียงเหมือนกัน แต่ความหมายต่างกัน ดังนั้น เวลาอ่านหรือเขียนต้องอาศัยความรู้ในการพิจารณาเนื้อความ เพื่อให้อ่านและเขียนได้ถูกต้อง
คำพ้องแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
คำพ้องรูป คือ คำที่มีลักษณะดังนี้
1. เขียนเหมือนกัน
2. อ่านออกเสียงต่างกัน
3. ความหมายต่างกัน
ตัวอย่างคำพ้องรูป เช่น
แขม อ่านว่า แขม หมายถึง ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง
อ่านว่า ขะ-แม หมายถึง คนเขมร
พยาธิ อ่านว่า พะ-ยา-ทิ หมายถึง ความเจ็บไข้
อ่านว่า พะ-ยาด หมายถึง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชนิดหนึ่ง
เพลา อ่านว่า เพลา หมายถึง แกน ดุมล้อ เบาลุง
อ่านว่า เพ-ลา หมายถึง เวลา
ครุ อ่านว่า คะ-รุ หมายถึง ครู หนัก
อ่านว่า ครุ หมายถึง ภาชนะสานชนิดหนึ่ง ใช้ตักน้ำ
ปรามาส อ่านว่า ปะ-รา-มาด หมายถึง การจับต้อง การลูกคลำ
อ่านว่า ปรา-มาด หมายถึง ดูถูก
คำพ้องเสียง มีลักษณะดังนี้
1. อ่านออกเสียงเหมือนกัน
2. เขียนต่างกัน
3. ความหมายต่างกัน
ตัวอย่างคำพ้องเสียง เช่น
ข้าง อ่านว่า ข้าง หมายถึง ส่วน ฝ่าย ริม
ค่าง อ่านว่า ข้าง หมายถึง สัตว์ชนิดหนึ่งรูปร่างคล้ายชะนี
ย่า อ่านว่า ย่า หมายถึง แม่ของพ่อ
หญ้า อ่านว่า ย่า หมายถึง พืชชนิดหนึ่ง
การ อ่านว่า กาน หมายถึง งาน, สิ่งหรือเรื่องที่ทำ
กาล อ่านว่า กาน หมายถึง เวลา
กานต์ อ่านว่า กาน หมายถึง ที่รัก
พรรค อ่านว่า พัก หมายถึง พวก , หมู่
พักตร์ อ่านว่า พัก หมายถึง พัก
พัก อ่านว่า พัก หมายถึง หยุดชั่วคราว