รามเกียรติ์
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 166.2K views



รามเกียรติ์

ที่มาของเรื่องรามเกียรติ์

แต่งเป็นกลอนบทละครแต่ตอนเริ่มต้นเป็นร่ายดั้นพรรณนาความรุ่งเรืองของบ้านเมืองและจบลงด้วยโคลงสี่สุภาพ เนื้อเรื่องแบ่งเป็น 3 ตอน คือ

ตอนที่1 เป็นตอนกำเนิดตัวละครต่างๆ เช่น ท้าวอโนมาดัน ท้าวสหบดีพรหม พระราม พระลักษมณ์ ทศกัณฐ์ หนุมาน เป็นต้น การสร้างกรุงศรีอยุธยา และกรุงลงกา

ตอนที่ 2 เป็นตอนเกิดสงครามเริ่มแต่  พระรามออกผนวชและเดินป่าพร้อมด้วยนางสีดาและพระลักษมณ์นางสำมนักขาน้องทศกัณฐ์ออกเที่ยวป่าพบพระรามก็หลงรัก พระรามปฏิเสธนางจึงทำร้ายนางสีดาทศกัณฐ์จึงลักพาตัวนางสีดามาไว้ในอุทยานกรุงลงกา พระรามออกติดตามได้หนุมาน สุครีพ องคต และชมพูพาน เป็นกำลัง ยกกองทัพข้ามสมุทรไปยังกรุงลงกาทำสงครามกับทศกัณฐ์   ทศกัณฐ์ใช้บรรดาพระญาติวงศ์ ออกสงครามถูกพระรามฆ่าตายในที่สุดทศกัณฐ์ล้มด้วยศรของพระราม

ตอนที่ 3 พระรามครองเมือง เมื่อพระรามสังหารทศกัณฐ์แล้วให้พิเภกขึ้นครองกรุงลงกา และพระรามกลับครองเมืองอโยธยา นางกำนัลขอให้นางสีดาเขียนรูปทศกัณฐ์ ให้ดูพระรามจึงกริ้วรับสั่งให้นำนางสีดาไปประหาร  แต่พระลักษมณ์ไม่ได้ประหาร นางสีดาไปอยู่กับพระฤาษี และ ประสูติพระมงกุฎพระฤๅษีชุบพระลบให้เป็นเพื่อนสองกุมารประลองศรที่พระฤาษีชุบศรให้เสียงดังกึกก้อง พระรามปล่อยม้าอุปการ พระมงกุฎจับม้าอุปการ และรบกับพระราม ภายหลังจึงทราบว่าเป็นพ่อลูกกัน พระรามจะรับนางสีดากลับเมือง แต่นางสีดาไม่ยอมหนีไปอยู่เมืองบาดาลพระรามออกเดินดงอีกครั้งหนึ่ง   พระอิศวรจึงไกล่เกลี่ยให้พระรามกับนางสีดาคืนดีกัน

บทละครเรื่องรามเกียรติ์ได้วาดเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังไว้ที่ศาลารายรอบพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว) นิยมนำมาแสดงเป็นโขน สำนวนโวหาร มีความไพเราะทุกตอน แม้ว่ากวีหลายคนจะช่วยกันแต่งแต่สำนวนก็เสมอกัน   จนไม่สามารถกล่าวได้ว่าใครแต่งตอนใดกระบวนการพรรณนาแจ่มแจ้งชัดเจน บางตอนมีสัมผัสเล่นอักษรเหมือนกลอนกลบท นับว่าเป็นกลอนบทละครชั้นดี

คุณค่าของหนังสือ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ของรัชกาลที่ 1 ได้รับการยกย่องว่าเป็นฉบับที่เหมาะแก่การอ่านเพื่อความเพลิดเพลินในแง่ของวรรณคดีมากกว่าการใช้เล่นละคร เพราะเรื่องยาวมีบทพรรณนาและสอดแทรกชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยสมัยนั้น เช่น เวลามีงานนักขัตฤกษ์จะมีมหรสพฉลองเป็นต้นและยังได้สอดแทรกคติและคุณธรรมแก่ผู้อ่านเช่นความซื่อสัตย์ของนางสีดาที่มีต่อสามี ความกล้าหาญของพระรามและหนุมาน ความอกตัญญูของทรพี ความไม่มีศีลสัตย์ของทศกัณฐ์ เป็นต้นล้วนเป็นคติสอนใจให้แก่ผู้อ่านทั้งสิ้น

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระแก้ว)



ตัวละครสำคัญ
พระราม คือ พระนารายณ์อวตาร (แบ่งภาค) ลงมาเป็นพระราชโอรสของท้าวทศรถกับนางเกาสุริยา แห่งกรุงอยุธยาเพื่อจะปราบปรามทศกัณฐ ์พระรามมพระอนุชาต่างพระมารดา3 พระองค์ คือ พระพรต พระลักษณ์ และ พระสัตรุด พระมเหสีของพระรามคือ นางสีดา พระรามมีกายสีเขียว สามารถปรากฎร่างเป็นพระนารายณ์มีสี่กรได้อาวุธประจำพระองค์ คือ ศร ซึ่งเป็นอาวุธวิเศษที่ได้ประทานมาจากพระอิศวร



พระลักษณ์ คือ พญาอนันตนาคราช ที่ประทับของพระนารายณ์มาเกิดมีกายสีทองพระลักษมณ์ เป็นพระโอรสของท้าวทศรถและนางสมุทรเทวี มีพระอนุชาร่วมพระมารดา คือ พระสัตรุด พระลักษมณ์มีความจงรักภักดีต่อพระรามมาก เมื่อพระรามต้องออกเดินป่าถึง 14 ปี พระลักษมณ์ก็ ได้ติดตามไปด้วยและยังช่วยออกรบกับกองทัพของกรุงลงกาอย่างกล้าหาญหลายครั้งหลายหน



นางสีดา คือ พระลักษมี มเหสีของพระนารายณ์อวตารลงมาเพื่อเป็นคู่ครองของพระรามตามบัญชาของพระอิศวร  นางสีดาเป็นพระธิดาของทศกัณฐ์กับนางมณโฑแต่เมื่อประสูติแล้ว พิเภกได้ทำนายว่า นางเป็นกาลกิณีแก่พระบิดาและบ้านเมือง ทศกัณฐ์จึงสั่งให้นำนางใส่ผอบลอยน้ำไป พระฤๅษีชนกพบเข้า จึงเก็บไปเลี้ยงเป็นลูกโดยฝังดินฝากแม่พระธรณีไว้ เวลาผ่านไปถึง 16 ปีพระฤๅษีชนกเบื่อหน่ายการบำเพ็ญพรตคิดกลับไปครองกรุงมิถิลาเช่นเดิม จึงลาเพศพรหมจรรย์ไปขุดนางขึ้นมาแล้วตั้งชื่อให้ว่า "สีดา" (แปลว่ารอยไถ) จากนั้นพานางเข้าเมืองมิถิลา จัดพิธียกศรคู่บ้านคู่เมืองเพื่อเสี่ยงทายหาคู่ครองให้นางสีดาพระรามยกศรได้จึงได้อภิเษกสมรสกับนางสีดา



ทศกัณฑ์ ก็คือยักษ์นนทุกกลับชาติมาเกิดเพื่อรบกับพระนารายณ์ซึ่งอวตารมาเป็นพระราม ทศกัณฐ์ เป็นกษัตริย์แห่งกรุงลงกา ร่างกายเป็นยักษ์ มี 10 หน้า 20 มือ มีสีกายเป็นสีเขียว ไม่มีใครฆ่าให้ตายได้ เพราะถอดดวงใจใส่กล่องฝากไว้กับพระฤๅษีโคบุตรผู้เป็นอาจารย์ ทศกัณฐ์มีนิสัยเจ้าชู้ มีชายาและนางสนมมากมายแต่ถึงกระนั้นเมื่อรู้ว่านางสีดาเป็นหญิงสาวที่มีความงดงามมาก แม้นางจะมีพระสวามีอยู่แล้วก็ยังลักพาตัวไปจึงเป็นสาเหตุให้ต้องทำศึกกับพระราม จนญาติมิตรล้มตายไปเป็นจำนวนมาก และในที่สุดตนเองก็ถูกพระรามฆ่าตาย



สุครีพ เป็นลิงมีกายสีแดง มีศักดิ์เป็นน้าของหนุมาน สุครีพเป็นลูกของพระอาทิตย์ กับนางกาลอัจนาเมื่อพระฤๅษีโคดมรู้ความจริงจากนางสวาหะว่าสุครีพไม่ใช่ลูกของตนแต่เป็นลูกชู้จึงสาปให้กลายเป็นลิงพร้อมกับพาลีผู้เป็นพี่ชาย ซึ่งเป็นลูกของพระอินทร์ แล้วไล่ให้เข้าป่าไป ต่อมาสุครีพได้เป็นทหารเอกของพระราม ได้รับความไว้วางพระทัยจากพระราม ให้เป็นผู้จัดกองทัพออกสู้รบกับกองทัพของกรุงลงกาอยู่เสมอ



นางสำมนักขา เป็นยักษ์ กายสีเขียว เป็นน้องร่วมมารดาคนสุดท้องของทศกัณฐ์ สามีชื่อชิวหา ต่อมาชิวหาถูกทศกัณฐ์ขว้างจักรตัดลิ้นขาดถึงแก่ความตาย นางสำมนักขาจึงเป็นม่าย มีความว้าเหว่ ออกท่องเที่ยวไปจนได้พบพระราม นางเห็นพระรามรูปงามก็นึกรักอยากได้เป็นคู่ครอง ถึงกับตบตีนางสีดาด้วยความหึงหวงจึงถูกพระลักษมณ์ตัดหู จมูก มือและเท้าแล้วไล่ไป นางสำมนักขากลับไปฟ้องพี่ชายคือ ทูษณ์ ขร และตรีเศียร ว่าถูกพระรามข่มเหงแต่ยักษ์ทั้ง 3 ตน ก็ถูกพระรามสังหาร นางสำมนักขาจึงไปหาทศกัณฐ์ ชมโฉมนางสีดาให้ฟัง จนทศกัณฐ์นึกอยากได้เป็นชายา จนกระทั่งไปลักพานางสีดามา



องคต เป็นลิง มีกายสีเขียว เป็นบุตรของพาลีกับนางมณโฑ กล่าวคือ เมื่อพาลีแย่งนางมณโฑมาจากทศกัณฐ์แล้ว นางต้องเป็นภรรยาของพาลีจนกระทั่งตั้งครรภ์ ทศกัณฐ์ไปฟ้องฤๅษีอังคัตผู้เป็นอาจารย์ของพาลีให้มาว่ากล่าวพาลี จนพาลียอมคืนนางมณโฑให้แต่ขอลูกไว้ ฤๅษีอังคัตจึงทำพาลพีธีเอาลูกออกจากท้องนางมณโฑไปใส่ในท้องแพะ เมื่อครบกำหนดคลอดพระฤๅษีก็ทำพิธีให้ออกจากท้องแพะให้ชื่อว่า องคต ทศกัณฐ์ยังผูกใจเจ็บ จึงแปลงกายเป็นปูยักษ์คอยอยู่ก้นแม่น้ำ เพื่อจะฆ่าองคตขณะทำพิธีลงสรง แต่ถูกพาลีจับได้ แล้วเอามาผูกไว้ให้ลูกลากเล่นอยู่เจ็ดวันจึงปล่อยไป



หนุมาน เป็นลิงเผือก (กายสีขาว) มีลักษณะพิเศษ คือ มีเขี้ยวแก้วอยู่ กลางเพดานปาก มีกุณฑลขนเพชร สามารถแผลงฤทธิ์ให้มีสี่หน้าแปดมือ และหาวเป็นดาวเป็นเดือนได้ใช้ตรีเพชร (สามง่าม) เป็นอาวุธประจำตัว(จะใช้เมื่อรบกับยักษ์ตัวสำคัญ ๆ) มีความเก่งกล้ามาก สามารถแปลงกายหายตัวได้ ทั้งยังอยู่ยงคงกระพัน แม้ถูกอาวุธของศัตรูจนตาย เมื่อมีลมพัดมาก็จะฟื้นขึ้นได้อีก



พิเภก คือ เทพบุตรเวสสุญาณ จุติลงมาเกิดเพื่อช่วยพระรามปราบทศกัณฐ์พิเภกเป็นยักษ์มีกายสีเขียว เป็นน้องของทศกัณฐ์ มีความรู้ทางโหราศาสตร์อย่างยอดเยี่ยม สามารถทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ เมื่อทศกัณฐ์ลักพานางสีดามา พิเภกได้ทูลตักเตือน และแนะนำให้ส่งนางสีดาคืนไป ทำให้ทศกัณฐ์โกรธมากจนขับไล่พิเภกไปจากเมือง พิเภกจึงไปสวามิภักดิ์กับพระรามให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์จนกระทั่งพระรามชนะสงคราม หลังจากเสร็จศึกแล้วพระรามได้สถาปนาให้พิเภกเป็นกษัตริย์ครองกรุงลงการ มีพระนามว่าท้าวทศคีรีวงศ์



มารีศ มารีศ เป็นยักษ์กายสีขาว เป็นบุตรของนางกากนาสูรมีศักดิ์เป็นน้าของทศกัณฐ์เมื่อทศกัณฐ์ได้ฟังคำยอโฉมนางสีดาจากนางสำมนักขา ก็ให้หลงใหลอยากได้นางเป็นชายา จึงบังคับมารีศให้แปลงเป็นกวางทองเดินไปให้นางสีดาเห็น นางสีดาอยากได้กวางทองจึงอ้อนวอนให้พระรามออกไปจับมาให้ พระรามใช้ศรยิงมารีศล้มลง มารีศแกล้งดัดเสียงเป็นพระรามร้องเหมือนได้รับบาดเจ็บ นางสีดาได้ยินคิดว่าเป็นพระรามมีอันตรายขอให้พระลักษมณ์ตามไปช่วย แล้วมารีศก็ขาดใจตาย



นางมณโฑ เป็นมเหสีของทศกัณฐ์ มีชาติกำเนิดเดิมเป็นกบ อาศัยอยู่ ใกล้อาศรมของพระฤๅษี 4 ตน พระฤๅษีมักจะให้ทานน้ำนมนางกบอยู่เสมอวันหนึ่งนางกบเห็นนางนาคมาคายพิษใส่อ่างน้ำนมเพื่อฆ่าพระฤๅษีทั้ง 4 นางจึงสละชีวิตกระโดดลงไปกินนมในอ่างจนตายพระฤๅษีได้ชุบชีวิตนางให้ฟื้นขึ้นเพื่อถามเรื่องราวเมื่อทราบความจริงแล้ว จึงชุบนางกบให้เป็นมนุษย์ มีความสวยงามมาก ตั้งชื่อให้ว่า "มณโฑ" (แปลว่ากบ) แล้วนำนางไปถวายพระอุมาบนสวรรค์ ต่อมาพระอิศวรประทานนางมณโฑให้แก่ทศกัณฐ์ เป็นรางวัลตอบแทนที่ยกเขาไกรลาสให้ตั้งตรงเหมือนเดิมได้ แต่ถูกพาลีชิงนางไประหว่างทางนางต้องเป็นภรรยาของพาลีจนตั้งครรภ์ พระฤๅษีอังคัตจึงสั่งให้คืนนางให้แก่ทศกัณฐ์ โดยผ่าท้องนำทารกไปฝากไว้ในท้องแพะ ต่อมาจึงเกิดมาเป็นองคต




บทละคร
เมื่อครั้งเสียกรุงแก่พม่า บทละครเรื่องรามเกียรติ์สูญหายไป พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กวีในรัชสมัย ของพระองค์ช่วยกันแต่งขึ้น เรื่องรามเกียรติ์มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับการทำสงคราม ระหว่างพระรามกับทศกัณฑ์

พระนารายณ์ได้อวตารลงมาเป็นพระราม โอรสของท้าวทศรถมีพระอนุชาคือ พระลักษมณ์ พระพรต และพระสัตรุต ท้าวทศรถจะทำพิธีราชาภิเษกให้พระราม ครองกรุงอโยธยาแต่นางไกยเกศี มเหสีองค์หนึ่งของท้าวทศรถได้ทูลทวงสัญญา ที่ท้าวทศรถเคยให้ไว้เมื่อครั้งที่นางเคยใช้แขนสอดต่างเพลารถที่ขาด ช่วยให้ท้าวทศรถรบชนะปทูตทันต์ โดยขอให้พระพรตซึ่งเป็นโอรสของนางครองเมืองก่อน และให้พระรามออกผนวชเดินป่า 14 ปี นางสีดามเหสี และพระลักษมณ์ขอตามเสด็จด้วย ระหว่างเดินป่านางสำมนักขามาพบพระรามและหลงรัก แต่ถูกพระรามปฏิเสธจึงไปเล่าถึงความงามของนางสีดาให้ทศกัณฐ์ฟัง ทศกัณฐ์ให้มารีศแปลงกายเป็นกวางทองมาลวงนางสีดาและพระราม เมื่อพระรามตามกวางไปในป่าทศกัณฐ์ก็เข้าลักนางสีดาไปไว้ที่กรุงลงกา พระรามตามหานางสีดาได้หนุมาน สุครีพ องคตเป็นทหารเอก มีพวกลิงจากเมืองขีดขินและเมืองท้าวมหาชมพูเป็นกองทัพ โดยหนุมานใช้หินถมทะเลเป็นถนนข้ามไปกรุงลงกาพระรามให้องคตถือพระราชสาส์นถึงทศกัณฐ์ เพื่อขอนางสีดากลับคืน แต่ทศกัณฐ์ไม่ยอม สั่งให้จับองคต องคตได้ฆ่าเสนายักษ์ตายไป4 ตน ทำให้ทศกัณฐ์โกรธมาก

ทศกัณฐ์ได้ทำพิธียกฉัตร ซึ่งเป็นของท้าวจตุรพักตร์ มีอานุภาพสามารถบดบังแสงอาทิตย์ได้ เมื่อทำพิธียกฉัตรทำให้ทัพของพระรามมองไม่เห็นกรุงลงกา แต่ทางกรุงลงกาสามารถมองเห็นทัพของพระรามพระรามเห็นว่าท้องฟ้ามืดเป็นที่อัศจรรย์ก็ให้พิเภกซึ่งเป็นอนุชาของทศกัณฐ์และถูกทศกัณฐ์ขับไล่ออกจากกรุงลงกาเนื่องจากกริ้วที่พิเภกเคยขอให้ทศกัณฐ์คืนนางสีดาแก่พระราม พิเภกจึงมาอยู่กับพระรามเป็นผู้ทำนายเหตุการณ์บอกกลยุทธ์สงครามแก่พระรามได้ทูลพระรามให้ใช้ทหารไปหักฉัตรที่กรุงลงกา ครั้งนี้สุครีพเป็นผู้อาสาไปหักฉัตร โดยใช้เวทมนต์กำบังกายเข้าไปกรุงลงกาจนถึงที่ประทับของทศกัณฐ์ เกิดการต่อสู้กันแต่ทศกัณฐ์ใช้มือเพียงข้างเดียวจับอาวุธต่อสู้ เนื่องจากมือทั้งสิบเก้าอุ้มมเหสีและนางสนมจึงเสียทีแก่สุครีพ สุครีพหักฉัตรได้สำเร็จ กองทัพของพระรามจึงสว่างดังเดิม สุครีพได้นำมงกุฎของทศกัณฐ์มาถวายพระรามด้วย 






 
 
 

คำศัพท์

กงฉัตร หมายถึง ส่วนรอบของกงจักร
กระบี่ หมายถึง ลิง ในที่นี้หมายถึง สุครีพ
กรุงมาร หมายถึง กรุงลงกา
กำนัล หมายถึง พนักงานรับ
กิจจา หมายถึง เรื่องราว
กุดั่น หมายถึง เครื่องประดับเพชรพลอย หรือกระจก
กุมภัณฑ์ หมายถึง ยักษ์ ในที่นี้หมายถึง ทศกัณฐ์
เก็จ หมายถึง แก้วประดับ
เกรงฤทธิไกร หมายถึง เกรงอำนาจ
แกว่งพระขรรค์ หมายถึง อาวุธ
โกลา หมายถึง วุ่นวาย
ขจรเดช หมายถึง ชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก
ขุนมาร หมายถึง ยักษ์ ในที่นี้หมายถึง ทศกัณฐ์
คำแหงวายุบุตร หมายถึง หนุมาน
เครื่องมัจฉะมังสา หมายถึง ข้าวปลาอาหาร มีปลาและเนื้อ
เครือมาศ หมายถึง ทอด้วยไหมผสมเงิน
จรลี หมายถึง เดินเยื้องกราย
จักรวาล หมายถึง บริเวณโดยรอบของโลก
ฉลององค์ หมายถึง เสื้อ