โคลงสี่สุภาพมีวิธีการอ่านดังนี้
1. อ่านทอดเสียงให้ตรงตามจังหวะของแต่ละวรรค วรรคหน้าแต่ละบาทมี 2 จังหวะ จังหวะละ 2 คำ และ 3 คำวรรคหลังบาทที่ 1 และบาทที่ 3 มี 1 จังหวะ เป็นจังหวะ 2 คำ ถ้ามีคำสร้อยก็เพิ่มอีก 1 จังหวะ เป็นจังหวะ 2 คำ วรรคหลังบาทที่ 2 มี 1 จังหวะ เป็นจังหวะ 2 คำ วรรคหลังบาทที่ 4 มี 2 จังหวะ จังหวะละ 2 คำ
2. คำท้ายวรรคที่ใช้คำเสียงจัตวา ต้องเอื้อนเสียงให้สูงเป็นพิเศษ ตามปกติโคลงสี่สุภาพที่แต่งถูกต้องและไพเราะ ใช้คำเสียงจัตวาตรงคำท้ายของบาทที่ 1 หรือคำท้ายบท
3. เอื้อนวรรคหลังบาทที่ 2 ให้เสียงต่ำกว่าปกติ
4. ในกรณีที่มีคำคำมากพยางค์เกินแผนบังคับต้องรวบเสียงคำนั้นๆ ให้สั้นเข้า
สัมผัสบังคับ เรียกอีกอย่างว่า "สัมผัสนอก" หมายถึงสัมผัสที่กำหนดเป็นแบบแผนในคำประพันธ์ เป็นสัมผัสสระ คือมีเสียงสระและตัวสะกดมาตราเดียวกัน ดังนี้
บาทแรก คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสกับ คำสุดท้ายของวรรคแรก ในบาทที่ 2 และ 3
บาทที่ 2 คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสกับ คำสุดท้ายของวรรคแรก ในบาทที่ 4
ในจินดามณี ฉบับพระโหราธิบดี อธิบายสัมผัสบังคับของโคลงสี่สุภาพไว้ว่า
ให้ปลายบาทเอกนั้น | มาฟัด | |
ห้าที่บทสองวัจน์ | ชอบพร้อง | |
บทสามดุจเดียวทัด | ในที่ เบญจนา | |
ปลายแห่งบทสองต้อง | ที่ห้าบทหลัง |